ตลท. ชี้หุ้นไทยส่งสัญญาณบวกให้ปันผล 3.50% เหนือค่าเฉลี่ยเอเชีย

นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผย สรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์เดือนส.ค. 2567 ว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 SET Index ปิดที่ 1,359.07 จุด ปรับเพิ่มขึ้น 2.9% จากเดือนก่อนหน้าสอดคล้องกับดัชนีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆ ในภูมิภาค

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีกว่า SET Index เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2566 ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และ กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร และเดือนส.ค. 2567 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันใน SET และ mai ปรับมาอยู่ที่ 46,028 ล้านบาท ลดลง 21.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า แต่ปรับเพิ่มขั้น 21.1% จากเดือนที่แล้ว ทำให้ 8 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ 44,404 ล้านบาท ลดลง 22.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน  ขณะที่ไม่มีบริษัทเข้าจดทะเบียนใหม่ซื้อขายใน SET และ mai
 

อย่างไรก็ตาม Forward P/E ของตลาดหลักทรัพย์ไทย ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 14.9 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.9 เท่า และ Historical P/E อยู่ที่ระดับ 16.4 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ระดับ 15.1 เท่า

ส่วนอัตราเงินปันผลตอบแทน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 3.50% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหลักทรัพย์ในเอเชียซึ่งอยู่ที่ 3.16%

นายศรพล ตุลยะเสถียร เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ปัจจัยภายนอกที่เอื้อต่อการเติบโตของ SET Index จากการที่หุ้นสหรัฐอเมริกามีโอกาสปรับฐานหลังจากปรับเพิ่มขึ้นมากในช่วงก่อนหน้าโดยเงินทุนมีโอกาสเคลื่อนย้ายไปยังหุ้นและพันธบัตรใน Emerging Market  ที่มีพื้นฐานดี หลังจากตลาดคาดว่ามีแนวโน้มที่ FED จะลดดอกเบี้ยครั้งแรกในการประชุมในเดือนกันยายนนี้ 

ส่วนของปัจจัยในประเทศยังมีปัจจัยบวกที่ส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน อาทิ การเมืองไทยที่มีความชัดเจนมากขึ้นหลังมีการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่รายงานออกมาเข้มแข็งกว่าที่นักวิเคราะห์คาด รวมถึงผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนไทยในไตรมาส 2/2567 ที่แข็งแกร่ง 

อีกทั้ง บริษัทจดทะเบียนไทยหันมาใช้การซื้อหุ้นคืนเป็นเครื่องมือในการบริหารสภาพคล่องของบริษัทอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการซื้อหุ้นคืนยังช่วยส่งสัญญาณให้ผู้ลงทุนทราบว่าผู้บริหารมีความมั่นใจว่าราคาหุ้นในปัจจุบันถูกประเมินต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทและกระตุ้นความต้องการซื้อหุ้นในตลาด โดยตลอด 8 เดือนปี 2567 มีการซื้อหุ้นคืนรวม 1.3 หมื่นล้านบาท

โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีสภาพคล่องไหลเข้าตลาดหุ้นไทยเพิ่มในช่วงที่เหลือของปี หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทยในกองทุน Thai ESG และความชัดเจนในการออกขายกองทุนวายุภักษ์ 1 ที่มีการรับประกันผลตอบแทนขั้นต่ำ ซึ่งจะดึงดูดความสนใจผู้ลงทุนและสามารถช่วยส่งเสริมความเชื่อมั่นโดยรวมในตลาดทุน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...