อบรมโครงการ Econmass Upskill 2024 "AI Masterclass For Media" 

สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ร่วมกับ บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จัดอบรมหัวข้อ "AI Masterclass For Media" ให้กับสมาชิกสมาคมฯ โดย นายศุภกิจ ยงวิทิตสถิต Chief Technology บริษัท ฟิวชั่นโซลูชั่น จำกัด พร้อมด้วย นายฉัตรชัย เอมยงค์ (Senior Data and AI technologist) และนายเสกสรร ดุษฎีวิโรจน์ (Sale Director) ฟิวชั่นโซลูชั่นฯ 

ทั้งนี้ เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจในการใช้ Generative AI พัฒนางานข่าวในยุคที่ดิจิทัลดิสรัปชัน พร้อมสาธิตการใช้งาน Microsoft365Copilot และความสามารถการใช้งาน รวมถึงเคล็ดลับในการเขียน Prompt ระดับเทพ เพื่อการใช้งานจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ พร้อมต่อยอดการใช้งานเพื่อการประกอบอาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของ AI 

พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นางสาวจารุวรรณ วรรักษ์ธนานันท์ Communications Manager บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เข้าร่วมงาน โดยมีนางสาวดวงพร อุดมทิพย์ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรมฐกิจ กล่าวต้อนรับ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ชั้น 9 อาคาร B ตึกช้าง

สำหรับ Generative AI ถือเป็นเทคโนโลยีที่มาแรงแห่งยุค ด้วยความสามารถอันหลากหลายที่จะเข้ามาพลิกโฉมรูปแบบธุรกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก ซึ่งปัจจัยสำคัญในการใช้ขุมพลังจากผู้ช่วย AI ให้เกิดประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ดีและแม่นยำที่สุด ขึ้นอยู่กับ “Prompt” หรือ “การป้อนคำสั่ง” เพื่อกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ AI ทำ  

โดยองค์ประกอบของ prompt ที่ดีนั้นจะต้องมีความ “ชัดเจน - เฉพาะเจาะจง – มีบริบท” ซึ่งในฐานะที่ไมโครซอฟท์ เป็นผู้พัฒนาผู้ช่วย AI ยอดนิยมอย่าง “Copilot” จึงอยากจะขอแชร์เทคนิค 3 ข้อที่ควรรู้ในการเขียน prompt ดังนี้

1. ป้อนคำสั่งที่เฉพาะเจาะจง: บอกความต้องการและบริบทให้ชัดเจน เพื่อให้ได้คำตอบที่แม่นยำ เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น แทนที่จะใส่ prompt แค่ว่า “ขอแผนการเรียนวิชาศิลปะ” ให้ระบุรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงเข้าไปด้วย เช่น “ขอแผนการเรียนวิชาศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้น ม.1 เน้นการเล่าเรื่องผ่านภาพ Collage พร้อมกับวัตถุประสงค์, สื่อการสอน, และตัวอย่างทางประวัติศาสตร์”

2. ปรับตามกลุ่มเป้าหมาย: ระบุข้อมูลเกี่ยวกับผู้ฟังหรือผู้อ่านให้มากที่สุด เช่น อายุ อาชีพ และความสนใจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

3. ระบุรูปแบบและความยาว: ระบุให้ชัดเจนว่าต้องการรูปแบบข้อมูลตอบกลับเป็นแบบใด เช่น ให้ลิสต์เป็นหัวข้อ ขอสรุปสั้นๆ หรือขอรายละเอียดความยาว 2 ย่อหน้า เป็นต้น รวมถึงกำหนดว่าต้องการผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบตาราง แผนภูมิ หรือโครงเรื่อง เพื่อให้เหมาะกับความต้องการที่จะนำไปใช้งานและรูปแบบที่จะนำเสนอ Prompt ที่น่าสนใจ

สำหรับใช้ในการทำงานไมโครซอฟท์ได้สำรวจการใช้งาน Copilot ในที่ทำงาน และพบว่ามีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายอาชีพที่นำเทคโนโลยี AI ไปใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน และการช่วยคิดงานเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่างข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ หรือการออกแบบรายละเอียดในกิจกรรมเวิร์กช็อป สะท้อนให้เห็นว่า AI เป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของคนทำงาน โดยไมโครซอฟท์ได้รวบรวม Prompt ที่จะช่วยให้แต่ละอาชีพสามารถนำไปปรับใช้ได้ง่ายๆ ดังนี้ 

อาชีพทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยสถานการณ์ใช้ Copilot เพื่อสรุปข้อมูลที่ซับซ้อนและยุ่งเหยิงให้เป็นรายงานที่มีความกระชับ กรณีการใช้งาน ทีมนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้รวบรวมไอเดียเบื้องต้นจากการประชุมหลายๆ ครั้งเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ และนำบันทึกประชุมเหล่านั้นมาป้อนข้อมูลให้กับ Copilot พร้อมขอให้ร่างข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า Copilot สามารถช่วยให้สามารถเรียบเรียงความคิด ขึ้นโครงร่าง และสรุปโครงการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

Prompt: "สร้างร่างข้อกำหนดผลิตภัณฑ์จากบันทึกการประชุม A และ B โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายและคุณลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฮมใหม่ของเรา"

อาชีพวิศวกร สถานการณ์: การทำงานร่วมกับ Copilot เพื่อจัดกิจกรรมในเวิร์กช็อปสำหรับวิศวกรที่เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ กรณีการใช้งาน ในระหว่างเวิร์กช็อปเรื่องการจัดการโปรแกรมซอฟต์แวร์ ผู้เรียนขอให้ผู้จัดเวิร์กช็อปคิดกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้พวกเขามีความเชี่ยวชาญมากขึ้น เขาจึงลองใช้ Copilot ให้ช่วยแนะนำแบบฝึกหัดได้อย่างรวดเร็ว

Prompt: "สร้างแบบฝึกหัด 3 ข้อ สำหรับโปรแกรมซอฟต์แวร์ XYZ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนในระดับสูง มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อ ABC โดยมีคำแนะนำและผลลัพธ์ที่คาดหวังอย่างชัดเจน"

อาชีพ: พนักงานบัญชี / การเงิน สถานการณ์การใช้ Copilot เป็นผู้ช่วยในการค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่องที่ไม่คุ้นเคย กรณีการใช้งาน พนักงานบัญชีสนทนากับ Copilot เพื่อหาข้อมูลและประวัติเกี่ยวกับหน่วยธุรกิจที่เขาไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน เขาถามเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรและความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆ Prompt: "ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรและความรับผิดชอบของทีมวิจัยและพัฒนา รวมถึงข้อมูลผู้บริหารและโครงการในปัจจุบัน"

อาชีพนักกฎหมาย สถานการณ์ใช้ Copilot เพื่อติดตามการแก้ไขเอกสาร เพื่อให้แน่ใจว่ามีความสอดคล้องกันและถูกต้อง กรณีการใช้งาน ใช้ Copilot เพื่อเปรียบเทียบระหว่างเวอร์ชันต่างๆ ของเอกสารฉบับเดียวกันในเชิงคุณภาพ

Prompt: “ทำการเปรียบเทียบเชิงคุณภาพระหว่างเอกสารเวอร์ชัน V1 และ V2 โดยเน้นการเปลี่ยนคำ การเพิ่มเติม การลบ และผลกระทบที่มีต่อความหมายของเอกสาร”

อาชีพนักการตลาด/ประชาสัมพันธ์ สถานการณ์ใช้ Copilot ช่วยในการระดมความคิด (Brainstorm) กรณีการใช้งาน ทำแผนการตลาด โดยใช้ Copilot ช่วยนำเสนอไอเดียตั้งต้นในการคิดแคมเปญ ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือการส่งเสริมการขาย ช่วยให้ได้ไอเดียที่สร้างสรรค์มากมายภายในเวลาอันรวดเร็ว

Prompt: “แนะนำชื่อสินค้าในกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับลูกสุนัข จำนวน 20 ชื่อ โดยสะท้อนถึงเรื่องส่วนผสมออร์แกนิก คุณภาพพรีเมียม และคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมบอกข้อดีและข้อเสียของแต่ละชื่อ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...