กุญแจสำเร็จสู่ผู้นำโรงไฟฟ้า 'นิวเคลียร์' ในแบบฉบับ 'นิทัศน์‘ CEO ราช กรุ๊ป

เมื่อเทรนด์โลกเปลี่ยน จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ "ราช กรุ๊ป" หนึ่งในผู้ผลิตไฟฟ้าและขายไฟฟ้าให้กับประเทศไทย และอีกหลายประเทศทั่วโลก ต้องปรับแผนกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าที่มาจากพลังงานสะอาดมากขึ้น  

ทั้งนี้ เพื่อลงทุนในโครงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ทั้ง 4 ประเทศ คือ ไทย สปป.ลาว ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย พร้อมจับมือพันธมิตรนำร่องโครงการพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่ แบตเตอรี่ (BESS) กรีนไฮโดรเจน เทคโนโลยีนิวเคลียร์ขนาดเล็ก SMR  พร้อมอัดเม็ดเงินลงทุนหมื่นล้านลุยเพิ่มพอร์ตพลังงานทดแทน 30% ในปี 2573

นายนิทัศน์ วรพนพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นโยบายต่อจากนี้คือต้องเทรนด์ในเรื่องของเทคโนโลยีให้กับพนักงานในองค์กรให้มีความรู้ความสามารถเข้าถึงเทรนด์อนาคต ดังนั้น การขับเคลื่อนเป้าหมายการเติบโตนับจากนี้บริษัทจะมุ่งเน้นใน 3 เรื่องสำคัญ คือ 

1. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าที่เป็นแหล่งรายได้หลักและกระจายอยู่ในหลายประเทศ โดยจะนำดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยในการติดตามการดำเนินงานและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าให้ดียิ่งขึ้น

2. บริหารโครงการในมือที่มีอยู่แล้วให้เสร็จตามเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบันมี 15 โครงการ กำลังผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น รวม 1,773 เมกะวัตต์ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและก่อสร้างในจำนวนนี้มี 4 โครงการ ได้แก่ 

  • โรงไฟฟ้าอาร์ อี เอ็น โคราช, โรงไฟฟ้านวนครส่วนขยาย 
  • โรงไฟฟ้าพลังน้ำซองเกียง 1 เวียดนาม  
  • โครงการกักเก็บพลังงานระบบแบตเตอรี่ LG2 ออสเตรเลีย กำลังผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น รวม 40 เมกะวัตต์ มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในครึ่งหลังของปีนี้

นอกจากนี้ ยังมี 3 โครงการที่จะดำเนินการให้สำเร็จในครึ่งแรกของปี 2567 นี้ ได้แก่ โรงไฟฟ้าหินกอง ชุดที่ 1 กำลังผลิตตามสัดส่วนถือหุ้น 392.7 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าไพตัน อินโดนีเซีย กำลังการผลิต 742 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้ากาลาบังก้า ฟิลิปปินส์ กำลังการผลิต 36.36 เมกะวัตต์

3. มุ่งเน้นลงทุนโครงการที่อยู่ในแนวทางการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศเป้าหมาย ได้แก่ ไทย สปป.ลาว ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย ซึ่งแต่ละประเทศได้กำหนดกรอบการพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไว้ชัดเจนแล้ว และครอบคลุมกำลังการผลิตพลังงานทดแทนและเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ 

อย่างไรก็ตาม บริษัทเริ่มศึกษาโมเดลการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ ระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage System: BESS) การผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสีเขียว การซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนโดยตรง (Direct Power Purchase Agreement: DPPA) และการผลิตไฟฟ้าจากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (Small Reactor Modular: SMR) ขนาดกำลังผลิตประมาณ 70-350 เมกะวัตต์ เพื่อใช้ในนิคมอุตสาหกรรม

"เราเป็นผู้เล่นที่จะเข้าไปใน SMR กุญแจสำคัญไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็นการยอมรับของคน จึงต้องให้ความรู้ ซึ่งราชกรุ๊ปจะหาพาร์ทเนอร์ทำ เพราะเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อย ดังนั้น อีกประเด็นสำคัญคือ ประเทศไทยจะต้องได้รับไลเซนคันทรีก่อน"

นอกจากนี้ ในปี 2567 นี้ บริษัทฯ ได้ทบทวนธุรกิจโดยจะมุ่งเน้นธุรกิจผลิตไฟฟ้าและพลังงาน โดยวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลกและประเทศ ส่วนรูปแบบจะเน้นประเภทกรีนฟิลด์และบราวน์ฟิลด์ โดยจะเข้าร่วมพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศเป้าหมาย

ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยและอินโดนีเซียมีโอกาสลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และก๊าซธรรมชาติ สปป. ลาว มีศักยภาพที่จะลงทุนด้านพลังงานน้ำเพื่อส่งจำหน่ายให้กับประเทศไทย ส่วนออสเตรเลียมีศักยภาพพัฒนาโครงการพลังงานลม แสงอาทิตย์ ระบบกักเก็บพลังงาน ที่ต่อยอดจากโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ

บริษัทได้เริ่มศึกษาโมเดลการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ารูปแบบใหม่ และเทคโนโลยีพลังงานอนาคตที่สามารถต่อยอดจากสินทรัพย์และศักยภาพความสามารถของบริษัทที่มีอยู่แล้ว ได้แก่ โครงการกรีนไฮโดรเจน ได้ร่วมกับ BIG พัฒนาการผลิตไฮโดรเจนจากพลังงานทดแทนจากโครงการของบริษัทที่มีอยู่ในประเทศไทย สปป.ลาว ออสเตรเลีย เพื่อจำหน่ายภาคอุตสาหกรรม ภาคขนส่ง และการผลิตไฟฟ้าในอนาคต

ครึ่งปีหลังของปี  2567 บริษัทฯ จะทุ่มหมื่นล้านบาทขยายธุรกิจ ลุยเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนให้ถึง 30% ในปี 2573 และ 40% ในปี 2578  โดยปัจจุบันราชกรุ๊ปมีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการลงทุนรวม 10,817.28 เมกะวัตต์ โดยเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรวม 7,842.61 เมกะวัตต์ (72.5%) และกำลังผลิตจากพลังงานทดแทนรวม 2,974.67 (27.5%)  

ทั้งนี้ มองเศรษฐกิจครึ่งปีหลังว่า มีแนวโน้มดีกว่าครึ่งปีที่ผ่านมา เมื่อดูจากกระแสของนักลงทุนหลังได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ หากเศรษฐกิจดีขึ้น การใช้ไฟฟ้าก็จะเพิ่มขึ้น จึงขอให้รัฐบาลเร่งแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (Power Development Plan: PDP 2024) โดยเฉพาะเทรนด์ความต้องการใช้พลังงานสะอาดเพื่อรองรับการลงทุนในอนาคต

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...