ว่าด้วยเรื่อง เศรษฐกิจนอกระบบไทย มันใหญ่มาก เกินคาดคิด (จบ)

ซึ่งถือเป็นภาคเศรษฐกิจที่ไม่ถูกเรียกเก็บภาษีจากรัฐ และไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนภาคเศรษฐกิจที่อยู่ในระบบ เช่น หาบเร่ แผงลอย ซื้อขายของเก่า ฯลฯ

ปัญหาที่ตามมาจากเศรษฐกิจนอกระบบ คือ รัฐเก็บภาษีได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมกับธุรกิจที่อยู่ในระบบ เสียภาษีถูกต้อง และในกรณีเป็นธุรกิจผิดกฎหมายก็อาจนำไปสู่ปัญหาการฟอกเงินและอาชญากรรมได้

จากเอกสาร “กรอบแนวคิดและบทบาทของเศรษฐกิจนอกระบบ” (ผาสุก พงษ์ไพจิตร, สังศิต พิริยะรังสรรค์ และนวลน้อย ตรีรัตน์) ระบุไว้ว่า โดยทั่วไป เศรษฐกิจนอกระบบมักจะหมายถึง ธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือทั้งหมดใน 5 กลุ่ม สำคัญๆ ได้แก่  1.ธุรกิจผิดกฎหมายหรือธุรกิจสีเทา 2.การหลีกเลี่ยงภาษีในรูปแบบต่างๆ 3.การคอร์รัปชั่นทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน 4.เศรษฐกิจจากธุรกิจอาชีพอิสระ

ปัญหาที่เกิดจากการมีเศรษฐกิจนอกระบบ ​

ไทยมีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่ ทำให้มีปัญหาหลายด้าน ทั้งรายได้ต่อหัวอยู่ในระดับต่ำ มีปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำสูง การกำกับดูแลและธรรมาภิบาลต่ำ มีผลิตภาพอยู่ในระดับต่ำ มีความยืดหยุ่นและภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด-19 อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจนอกระบบที่เล็กกว่า

- มีฐานภาษีที่แคบ จากประชากรทั้งหมด 66 ล้านคน มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียง 10-11 ล้านคน และมีผู้ที่มีภาระภาษีต้องจ่ายแค่ราว 4 ล้านคนเท่านั้น ทำให้ภาครัฐมีฐานรายได้ที่แคบ และไม่เพียงพอต่อการรองรับรายจ่ายสวัสดิการที่จะเพิ่มขึ้น

- การจัดเก็บภาษีของภาครัฐอ่อนแอ เพราะไม่สามารถเก็บจากคนที่ไม่รายงานรายได้จากเศรษฐกิจนอกระบบได้ ทำให้รัฐไม่สามารถหารายได้ได้มากพอไปใช้ดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ เช่น สวัสดิการดูแลผู้สูงอายุ

- แรงงานเกินกว่าครึ่งหนึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ ข้อมูลล่าสุดชี้ว่า มีแรงงานนอกระบบอยู่ราว 20 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 51% ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด

- มีธุรกิจนอกระบบจำนวนมาก ปัจจุบันมีจํานวน SME อยู่ราว 3.2 ล้านราย แต่เป็นนิติบุคคลเพียง 8.4 แสนราย หรือคิดเป็น 26% หมายความว่า มี SME จำนวนมากถึงเกือบ 2.4 ล้านราย หรือ 74% ที่ไม่มีข้อมูลงบการเงินในระบบฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทำให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่นอกระบบ

- ขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนถูกกฎหมาย และอาจไม่ได้รับสวัสดิการทางสังคมและสุขภาพเหมือนเศรษฐกิจในระบบ

- กรณีธุรกิจผิดกฎหมาย อาจสร้างปัญหาการฟอกเงินตามมา เพื่อทำให้เงินที่ไม่ถูกกฎหมายกลายเป็นเงินถูกกฎหมาย

ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนหวังว่า รัฐบาลใหม่ที่กำลังจะฟอร์มขึ้นในเร็ววันนี้ จะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนมุ่งสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังอยู่นอกระบบเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น เพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบเศรษฐกิจ แรงงาน และธุรกิจต่าง ๆ สามารถได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีในยามวิกฤต โดยภาครัฐมีบทบาทสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้แรงงานและธุรกิจเข้ามาอยู่ในระบบ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...