ส่งออกเมิน“อาร์เซ็ป”ใช้สิทธิไม่ถึง2% สวนทางเอฟทีเออาเซียน-จีนเฉียด100%

ทำให้การค้าของไทยมีแต้มต่อที่ช่วยให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ แต่การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าผ่านข้อตกลงที่ไทยมีอยู่มีสัดส่วนที่ไม่สูงเท่าที่ควร

ข้อมูลจากกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงรายงานสถานการณ์การใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรี(เอฟทีเอ)ในปี 2567 (เดือนม.ค.-พ.ค. )ภาวะการส่งออกภายใต้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากความตกลงเอฟทีเอกับประเทศคู่ภาคีจำนวน 12 เอฟทีเอ จาก 14 เอฟทีเอ ได้แก่ อาเซียน (AFTA) ,อาเซียน-จีน (ACFTA) ,ไทย-อินเดีย (TIFTA) ,อาเซียน-อินเดีย (AIFTA), ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ,อาเซียน-ออสเตรเลียนิวซีแลนด์ (AANZFTA), ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ,อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP), อาเซียน-เกาหลี (AKFTA) ไทย-เปรู (TPCEP),ไทย-ชิลี (TCFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) 

อย่างไรก็ตาม การใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอ ต้องยกเว้น ไทย นิวซีแลนด์(TNZCEP) ที่ใช้ระบบการรับรองตนเองของผู้ส่งออก (Self-Declaration) และอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA) เนื่องจากฮ่องกงเป็น Free Port อัตราภาษีนำเข้าของฮ่องกงเป็น 0% ทุกรายการ ทำให้ในทางปฏิบัติผู้ส่งออกจึงไม่ประสงค์จะขอใช้ สิทธิประโยชน์ทางภาษี 

     "ภาพรวมการส่งออกภายใต้เอฟทีเอ ช่วง 5 เดือนแรกปี 2567 มีการส่งออก โดยขอใช้สิทธิเอฟทีเอมูลค่า 34,008.53 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 1.65% คิดเป็น สัดส่วนการขอใช้สิทธิฯ 83.70% ของการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ ที่มีมูลค่า 40,632.10 ล้านดอลลาร์"

ทั้งนี้ หากแยกเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์เพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น  7 กรอบความตกลง ได้แก่ อาเซียน (AFTA), อาเซียน-อินเดีย (AIFTA) ,ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) ,อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์(AANZFTA) ทั้งการส่งออกไปออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ,อาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) , ไทย-เปรู (TPCEP) และ ไทย-ชิลี (TCFTA) 

ส่วนความตกลงการค้าเสรีที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียน-จีน(ACFTA) ไทย-อินเดีย (TIFTA) ไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) อาเซียน-เกาหลี(AKFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)  หรือ อาร์เซ็ป

ขณะเดียวกันด้านสัดส่วนการขอใช้สิทธิประโยชน์ข้อตกลงการค้าแบบรายประเทศ สูง 5 อันดับแรก ได้แก่ เปรู ชิลี ออสเตรเลีย จีน และเกาหลีใต้ 

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาข้อตกลงการค้าแบบพหุภาคี ได้แก่ อาร์เซ็ป เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งเเต่วันที่ 1 ม.ค. 2565 โดยมีผลบังคับใช้ครบสำหรับภาคีทั้ง 15 ประเทศ เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2566 โดยข้อตกลงการค้าฉบับนี้ มีสถิติสัดส่วนการขอใช้สิทธิ ในปี 2566 เพียง 1.7%ของมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ  ส่วนม.ค. -พ.ค. 2567 พบว่ามีสัดส่วนเพียง 1.57%

      “อาร์เซ็ป มีมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ได้รับสิทธิฯสูงมาก ที่ 83,919 ล้านดอลลาร์ ในปี 2566 ส่วน 5 เดือนแรกปี 2567 มูลค่า 29,380 ล้านดอลลาร์ แต่พบว่ามีมูลค่ากรใช้สิทธิเพียง 1,425 ล้านดอลลาร์  เมื่อปี 2566 และ 5 เดือนแรกปีนี้ เพียง 460 ล้านดอลลาร์ หรือสัดส่วนเพียง 1.57%เท่านั้น ”

 ประเทศปลายทางการใช้สิทธิอาร์เซ็ปสูงสุด ได้แก่ เกาหลีใต้ 559 ล้านดอลลาร์ เวียดนาม 308 ล้านดอลลาร์ ญี่ปุ่น 287 ล้านดอลลาร์ จีน 242 ล้านดอลลาร์  ออสเตรเลีย 20.9 ล้านดอลลาร์ มาเลเซีย 5.41 ล้านดอลลาร์ 

ส่วนสินค้า ลำดับต้นๆที่มีการส่งออกภายใต้ตลาดอาร์เซ็ปสูงสุดได้แก่ เครื่องดื่มชูกำลัง สัดส่วน 35% ปลาทูน่าปรุงแต่งหรือที่ทำไม้ไม่ให้เสีย 12% เลนส์ ปริซึม กระจกเงา และวัตถุเชิงทัศนศาสตร์อื่นๆ 6% หัวเทียน 5%  เป็นต้นๆ 

"อาร์เซ็ปเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่มีมูลค่าการส่งออกภายในสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากข้อตกลงสูงสุดในปี 2566 ที่ 83,919 ล้านดอลลาร์  หรือ ช่วง 5 เดือนแรกปี2567 มีมูลค่า 29,380 ล้านดอลลาร์ แต่การใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้านี้มีเพียงไม่ถึง 2%  ขณะที่ข้อตกลงการค้าอาเซียน หรือ AFTA มีมูลค่า 39,435 ล้านดอลลาร์ มีการใช้สิทธิประโยชน์ที่ 29,871 ล้านดอลลาร์  ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่สูงมาก เช่นเดียวกับเอฟทีเอ อาเซียนจีน ที่มีมูลค่าสิทธิประโยชน์ที่ 25,281 ล้านดอลลาร์ และมีการใช้จริงที่ 23,495 ล้านดอลลาร์ หรือ 92.94%"

ในปี 2567 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยมีมูลค่าการค้ากับจีน 45,752.22 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 4.20% โดยเป็นการส่งออก 14,578.68 ล้านดอลลาร์ และนำเข้า 31,173.54 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 16,594.86 ล้านดอลลาร์

สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญไปจีน ได้แก่ ทุเรียนสดยางสังเคราะห์ผสม ยางธรรมชาติ ไม้อื่น ๆ ที่เลื่อยหรือถากตามยาว ยางธรรมชาติ TSNR สตาร์ชท าจากมันส าปะหลัง 

 สินค้านำเข้าสำคัญจากจีน ได้แก่สมาร์ทโฟน ของอื่น ๆ ทำด้วย เหล็กหรือเหล็กกล้า ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แล็ปท็อป/โน้ตบุ๊ก วงจรพิมพ์

ในปี 2567 (ม.ค.-พ.ค.) ไทยมีมูลค่าการขอใช้สิทธิเอฟทีเออาเซียนจีน  9,805.82 ล้านดอลลาร์ ลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มีมูลค่า 10,409.99 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นสัดส่วนการขอใช้สิทธิฯ 92.93%  ของมูลค่าการส่งออก

สินค้าที่ได้รับ สิทธิฯ สินค้า 10 อันดับแรกที่มีมูลค่าการขอใช้สิทธิ ได้แก่ ทุเรียนสด ยางสังเคราะห์ผสมยางธรรมชาติ สตาร์ชทำจากมันส าปะหลัง นำ้ตาลอื่น ๆ ที่บริสุทธิ์ในทางเคมี ฝรั่ง มะม่วง และมังคุด โพลิเมอร์ของ เอทิลีน มันสำปะหลัง เศษและของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นอะลูมิเนียม ผลไม้สดอื่น ๆ (ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ฯลฯ) ชิ้นเนื้อของสัตว์ปีกเลี้ยงแช่แข็ง

ข้อมูลอื่น ๆ ในเดือนม.ค.-พ.ค.2567 ไทยส่งออกโดยขอใช้สิทธิฯ ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียน-จีน จำแนกเป็นสินค้าเกษตร 5,390.25 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น54.97% และอุตสาหกรรม 4,415.57 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น45.03%

ข้อตกลงเพื่อการค้าเสรีมีสิทธิประโยชน์เบื้องต้นคือการลดภาษีที่ทำให้สินค้าไทยได้แต้มต่อที่ดีกว่าสินค้าจากแหล่งอื่นแต่ก็ยังมีอีกหลายเหตุผลที่ทำให้การใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอทั้งหลายไม่จูงใจมากพอที่จะทำให้ภาคธุรกิจมาใช้สิทธิจากข้อตกลงทางการค้าเหล่านี้ 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...