พลัง Web 3.0 ตอบโจทย์การใช้งาน Blockchain

นั่นคือ เป็นระบบที่มีการกระจายอำนาจ หากเปรียบเทียบกับ Web 1.0 ซึ่งเป็นยุคที่ผู้ใช้เป็นเพียงผู้รับสารฝ่ายเดียว 

Web 2.0 หรือยุคปัจจุบันที่แม้ผู้ใช้จะสามารถเป็นผู้ให้ข้อมูลได้ด้วย แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของบริษัทผู้ให้บริการ (เช่น การใช้ Facebook ที่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ของ Meta

สำหรับ Web 3.0 นั้น ข้อมูลจะอยู่ในมือของเหล่าผู้ใช้ทั้งหมด ไม่ใช่ของผู้ควบคุมใด จึงมีความปลอดภัยและเป็นอิสระมากขึ้น

ภายใต้แนวคิดการกระจายศูนย์นี้ ที่เราได้ยินบ่อยเพราะเกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาใช้ หนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีการพูดถึงไม่น้อยก็คือตลาดทุน เราได้ยินถึงการทำ Tokenisation หรือการแปลงสินทรัพย์ให้อยู่ในรูปแบบของโทเคน

ซึ่งจะมีบทบาทที่ทำให้ตลาดทุนมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และเข้าถึงได้ดี (Accessibility) ประกอบกันเป็นตลาดที่พัฒนาไปอย่างเท่าเทียมมากขึ้น แต่จากสถิติในปัจจุบัน เราก็ยังเห็นว่ายังไม่ได้ใช้งานอย่างแพร่หลาย การระดมทุนผ่านโทเคนในไทยก็ยังมีเพียงแค่ 3 กรณีเท่านั้น

นอกจากประเด็นของการกำกับดูแลที่มีความท้าทาย เพราะต้องสร้างสมดุลระหว่างการกำกับดูแลและการพัฒนาตลาดให้สร้างกำไร หรือในประเด็นที่ว่าการระดมทุนผ่านวิธีนี้ยังมีต้นทุนที่สูงและไม่ได้น่าดึงดูดไปกว่าการระดมทุนแบบดั้งเดิม

อันมีส่วนมาจากความไม่ชัดเจนของนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐแล้วนั้น ยังมีอีกประเด็นที่มองข้ามไม่ได้ นั่นคือ ความท้าทายในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ ที่ยังมีความใหม่และยังพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง

กล่าวได้ว่าในอดีต หนึ่งในสาเหตุที่ยังไม่มีการใช้งานระบบกระจายศูนย์นี้อย่างแพร่หลายก็เพราะตัวเทคโนโลยีอาจจะยังไม่ได้พัฒนาที่มากพอที่จะตอบโจทย์ ทำให้ประสิทธิภาพยังไม่ดีเท่าระบบรวมศูนย์ (Centralised) ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันและในอนาคตอันใกล้นี้ มีเทคโนโลยีใหม่มากมายที่กำลังพัฒนาอยู่ ซึ่งมีความน่าสนใจและจะเข้ามาแก้ปัญหาที่เคยเป็นอุปสรรคในการใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนได้อย่างมาก ซึ่งน่าตื่นเต้นและจุดประกายความหวังว่าเราจะได้เห็นการใช้งานที่มากขึ้น

ตัวอย่างเด่นๆ ที่ต้องกล่าวถึงอย่างขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยีที่เรียกว่า Oracle ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาความเชื่อมโยงของข้อมูลในเชนกับในชีวิตจริง ผ่านการนำราคาสินทรัพย์ในโลกจริงเข้ามาได้อย่างแม่นยำและทันท่วงที ทำให้การแลกเปลี่ยนสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หรือเมื่อเราพบปัญหาการเชื่อมต่อของข้อมูลระหว่างหลายเชน ในปัจจุบันก็มีการพัฒนาโปรโตคอลความสามารถในการทำงานร่วมกัน (Interoperability Protocol) ที่ทำให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนสามารถทำข้ามเชนได้ เพิ่มสภาพคล่องของสินทรัพย์แต่ละชนิด

และเพื่อตอบโจทย์ปัญหาเรื่องความปลอดภัย เมื่อหน่วยงานกำกับดูแลต้องการมีส่วนเข้ามาควบคุมระบบบ้างผ่านการระบุตัวตนผู้กระทำผิด หรือกระบวนการรู้จักลูกค้า อย่าง Know Your Customer (KYC)

แต่การนี้อาจขัดกับแนวคิดความไว้วางใจและการไม่เปิดเผยตัวตน (Trustless Society) ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดเด่นของระบบกระจายศูนย์นี้ เทคโนโลยี Zero-Knowledge Proof (ZKProof) ก็กำลังถูกพัฒนาให้เข้ามาเป็นเครื่องมือรักษาความเป็นส่วนตัวบนเชนแทน

ศักยภาพของ Web 3.0 แนวคิดการกระจายศูนย์ และเทคโนโลยีเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ปรากฏในมิติการเงินโดยตรง อย่าง Decentralised Finance (DeFi) ซึ่งเป็นระบบการเงินที่ทำธุรกรรมทั้งหมดบนเชนผ่าน Smart Contract ไม่ต้องพึ่งพาคนกลาง

มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ และมักอยู่ในรูปแบบ Decentralised Autonomous Organisations (DAOs) ที่ผู้ใช้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเท่านั้น แต่ยังสามารถพบสอดแทรกในหลายอุตสาหกรรมอีกด้วย 

ไม่ว่าจะเป็น Metaverse ซึ่งไม่ใช่แค่เกมหรือ VR/AR แต่เป็นโลกที่มีสินทรัพย์ เช่น ที่ดิน ไอเทม ที่จะมีมูลค่าจากปริมาณผู้ใช้งานและสามารถเก็งกำไรได้ อุตสาหกรรมศิลปะและบันเทิงก็สามารถใช้ประโยชน์ จากการขาย NFT ที่เป็นงานศิลปะดิจิทัล เพลง วิดีโอ หรือบัตรเข้าร่วมงาน โดยผู้ซื้อสามารถขายต่อได้ และศิลปินก็ได้รับค่าลิขสิทธิ์จากการซื้อขายแต่ละครั้ง

โดยรวมแล้ว การเข้ามาของเทคโนโลยี Web 3.0 สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมากมาย ไม่เพียงในตลาดทุน เพราะเป็นการเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการแก้ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรมด้วย 

ต้องบอกเลยว่าคงไม่นานเกินรอ ที่ Web 3.0 จะถูกพัฒนาเต็มที่จนกลายมาเป็นอนาคตจริงของเรา ผู้เล่นต่างชาติและกลุ่ม Generation ใหม่ๆ ก็ให้ความสนใจและนิยมใช้งานกันบ้างแล้ว ซึ่งคงจะเป็นการดีถ้าหากตลาดไทยตามทัน และจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีสัญชาติไทยของเราเองได้ด้วย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...