เอกชน ผวาเงินบาทแข็ง ชี้อัตรา 35-36 บาทต่อดอลลาร์เหมาะสม

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า สรท.มีความกังวลต่อค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแข็งค่ามาอยู่ที่ 34.5 บาทต่อดอลลาร์ ถือว่า แข็งค่าเร็วและแรงเกิน จากที่เดือนก.ค. เคลื่อนไหวอยู่ที่ 36-36.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยแข็งค่าขึ้นมาถึง 2 บาท ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ในช่วงครึ่งปีแรกปี 67การส่งออกของไทยขยายตัวได้ถึง 2 % ได้รับอานิงสงค์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ท่ามกลางปัจจัยรุมเร้าจากภายนอกประเทศ มีเพียง"เงินบาท"ที่อ่อนค่าเป็นจุดแข็งให้การส่งออกไทยเติบโตได้ถึง 2 % 

การที่ค่าเงินบาทแข็งค่าแบบนี้ไปเรื่อยก็น่าเป็นห่วงการส่งออกในครึ่งปีหลังเพราะปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่ไทยทำได้ดีในช่วงครึ่งปีแรกที่ยอดส่งออกสินค้าเกษตรทำได้ถึง 20 % ของการส่งออก หรือคิดเป็นสัดส่วน 3 % ของตัวเลขการส่งออกของไทย หากค่าเงินบาทในช่วงครึ่งปีหลังแข็งค่าแบบนี้ก็เป็นจุดที่อ่อนไหวสำหรับการส่งออกไทย เพราะสินค้าเกษตรก็จะไม่ใช่สินค้า”พระเอก”ที่จะประคับประคองการส่งออกของไทยในช่วงถัดจากนี้ไป โดยจะเห็นผลกระทบชัดเจนได้ในไตรมาส 4 เพราะในไตรมาส 3 ผ่านพ้นไปแล้ว

ไตรมาส 4 น่าเป็นห่วงเพราะจุดแข็งจุดเดียวของไทยคือ เงินบาทอ่อน ซึ่งจากนี้คงไม่ใช่อีกแล้ว โดยค่าเงินบาทที่เหมาะสมไม่แข็งค่าเกินไปหรือไม่อ่อนค่าเกินไป ควรจะต้องรักษาระดับให้อยู่ประมาณ 35-36 บาทต่อดอลลาร์ ก่อนหน้านี้ ค่าเงินบาทแข็งเร็วลงไปถึง 32 บาทต่อดอลลาร์ก็ทำให้ผู้ส่งออกสะบักสะบอมมาแล้ว”    

นายชัยชาญ กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทควรเคลื่อนไหวไปตามคู่แข่ง และอย่าให้เคลื่อนไหวเร็ว สถานการณ์ในปัจจุบันแบบนี้ถือว่าเคลื่อนไหวเร็วมาก เพราะการส่งออกเมื่อส่งออกสินค้าก็ต้องมีการคำนวณราคาขาย เพราะกว่าจะได้เงินกลับมาจะมีระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องแบกรับความเสี่ยงในส่วนนี้ ดังนั้นผู้ส่งออกจะต้องระมัดระวัง หากสถานการณ์เป็นแบบนี้ผู้ส่งออกจะต้องทำประกันความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยนเงิน       

 

ส่วนที่จะให้รัฐบาลเข้ามาดูแลเรื่องค่าเงินบาทนั้นก็ต้องเข้าใจว่า ประเทศไทยมีการบริหารจัดการเงินบาท โดยธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จะไม่มีการเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทจะปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด เพราะไทยเคยมีบทเรียนอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตามก็ขอให้ธปท. มาตรการอย่างเข้มข้นเพื่อ รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาทในระดับที่เอื้อต่อการส่งออกหรือไม่แข็งค่าไปกว่าประเทศคู่ค้าและคู่แข่งอย่างมีนัยสำคัญ การให้ความรู้ในทางปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการเกี่ยวกับมาตรการและเครื่องมือทางการเงิน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินบาท

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...