พาณิชย์ เตรียมชงนายกฯ สัปดาห์หน้า ตั้งคณะทำงานแก้ปัญหาสินค้านำเข้าราคาถูก

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ที่มีราคาถูก และไม่ได้มาตรฐาน ว่า กระทรวงพาณิชย์ อยู่ระหว่างการจัดทำแนวทางและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาในภาพรวมรวมทั้งเตรียมจัดตั้งคณะทำงานระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนมาตรการแก้ปัญหา ที่มีผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ในสัปดาห์หน้า เพื่อให้เกิดการบูรณาการแก้ปัญหาร่วมกัน และแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่การแก้ปัญหาต้องคำนึงถึงการค้าที่เป็นธรรม สอดคลองกับพันธกรณีและความตกลงระหว่างประเทศด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 16 ส.ค.67 กรมได้จัดการประชุมร่วมกับภาคเอกชน 30 กลุ่มธุรกิจ เช่น พลาสติกเครื่องนุ่งห่ม ของขวัญของชำร่วย เครื่องเขียนและเครื่องใช้สำนักงาน เครื่องปรับอากาศ เหล็ก เครื่องจักรกลและโลหะการ เซรามิก แกรนิตและหินอ่อน เครื่องสำอาง อาหารเสริม เฟอร์นิเจอร์ เป็นตน เพื่อรับฟังสถานการณ์การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และการแข่งขันทางการค้าระหว่างสินค้าเอสเอ็มอีไทยกับสินค้านำเข้า

รวมทั้งรับฟังข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ปัญหาการแข่งขันของสินค้าไทยและต่างประเทศ ทั้งในด้านคุณภาพ และราคา โดยกรมจะรวบรวมทุกความเห็น นำเสนอในระดับนโยบาย เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาร่วมกัน

“ผู้ประกอบการได้ให้ข้อมูลปัญหา และผลกระทบจากสินค้านำเข้า ที่มีต่อผู้ผลิตสินค้า ภาคบริการ การลงทุน และผู้บริโภค จากปัญหามาตรฐานสินค้าคุณภาพต่ำและราคาถูก การลักลอบนำเข้าสินค้าทางชายแดน การสำแดงพิกัดสินค้าที่เป็นเท็จ รวมถึงการเข้ามาตั้งธุรกิจบริการและภาคการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศและผู้บริโภคไทย”

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการได้เสนอให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพิ่มความเข้มงวดใตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของสินค้านำเข้า การสร้างความเข้มแข็งให้ประกอบการไทยด้านการผลิตและศักยภาพการประกอบธุรกิจ เพื่อให้สินค้าและธุรกิจไทยรักษาส่วนแบ่งตลาดได้ และการปรับปรุงกฎหมาย รวมถึงความตกลงระหว่างประเทศที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าไทย

ส่วนกลุ่มสินค้าที่จำเป็นต้องนำเข้ามาใช้เพื่อผลิตสินค้าสำเร็จรูปในประเทศ เช่น สินค้าทุน วัตถุดิบ ฯลฯ หากหน่วยงานภาครัฐจะใช้มาตรการใดๆ ขอให้พิจารณากระทบ ที่จะเกิดขึ้นกับผู้นำเข้า ผู้ใช้ และผู้บริโภคด้วย  เพราะสินค้าดังกล่าวมีความจำเป็นต้องนำเข้ามาใช้

นายรณรงค์ กล่าวว่า สำหรับการใช้มาตรการเยียวยาทางการค้า  ทั้งมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) มาตรการตอบโต้การอุดหนุน (ซีวีดี) และมาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (เซฟการ์ด) ที่ภาคเอกชนเรียกร้องให้กรมใช้นั้น  ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการเข้าใจกระบวนการไต่สวน รวมทั้งผลกระทบจากการใช้มาตรการ โดยหากผู้ประกอบการได้รับผลกระทบจากสินคานำเข้า ที่มีราคาไม่เป็นธรรม หรือสินค้านำเข้าทะลักเข้าไทยจำนวนมาก สามารถยื่นคำขอใช้มาตรการดังกล่าวได้ ซึ่งต้องมีเอกสารหลักฐานที่เพียงพอและน่าเชื่อถือ และจะเปิดไต่สวนเพื่อใช้มาตรการได้ อย่างไรก็ตาม กรมจะจัดการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย วิธีการยื่นคำขอและไต่สวนด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 23 ส.ค.นี้ กรมจะเชิญภาคเอกชนที่เกี่ยวช้องเพิ่มเติมมาหารือในลักษณะเดียวกันนี้อีก เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย สมาคมก่อสร้าง สภาวิศกร สภาสถาปนิก สมาคมท่องเที่ยว สภาการศึกษา สภามหาวิทยาลัย ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ฯลฯ รวม 12 หน่วยงาน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...