'สภาพัฒน์' แถลงจีดีพีไตรมาส 2/67 ขยายตัวได้ 2.3% ทั้งปีคาดขยายตัว 2.3 – 2.8%

วันนี้ (19 ส.ค.67) นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาส 2/2567 และแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 ว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 2.3% ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา และเมื่อปรับฤดูกาลแล้วเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 0.8% 

โดยเศรษฐกิจไทยได้รับอานิสงส์จากการบริโภคเอกชนที่ขยายตัว 4% การบริโภคภาครัฐบาลขยายตัวได้ 0.3% การส่งออกที่ขยายตัวได้ในไตรมาสนี้ขยายตัวได้ 1.9% และบริการ 19.8% แต่การลงทุนรวมยังหดตัวอยู่ 6.2% ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลง 6.8% ตามการลดลงของการลงทุนในหมวดเครื่องมือ 8.1% สอดคล้องกับการลดลงของการลงทุนในหมวดยานพาหนะ 22.5% และการชะลอตัวของปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ส่วนการลงทุนหมวดก่อสร้างลดลง 2.2% ตามการลดลงของการก่อสร้างที่อยู่อาศัย และการก่อสร้างอาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ ขณะที่การก่อสร้างโรงงานขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนภาครัฐ ลดลง4.3% เทียบกับการลดลง 27.7%


ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนของรัฐบาลลดลงร้อยละ 12.8 ขณะที่การลงทุนของรัฐวิสาหกิจขยายตัว10.1% สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ 24% (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 5.7 ในไตรมาสก่อนหน้า และ 19% ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมครึ่งแรกของปี 2567 การลงทุนรวมลดลง 5.1% โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลง0.9% และการลงทุนภาครัฐลดลง 16.7%

ขณะที่จีดีพีภาคเกษตรของไทยในไตรมาสที่ผ่านมาลดลง1.1% เป็นผลมาจากการผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลงหลายชนิด 

ขณะที่จีดีพีนอกภาคเกษตรขยายตัวได้ 2.6% จากกลุ่มอุตสาหกรรมที่ขยายตัว 1.8% และกลุ่มบริการที่ขยายตัวได้ 1.8% 

อย่างไรก็ตามการเบิกจ่ายการลงทุนภาครัฐยังเป็นไปไม่ตามเป้าหมาย แต่จะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังที่จะเบิกจ่ายได้มากขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา และปีงบประมาณ 68 จะมีการเบิกจ่ายงบประมาณได้ตามเวลาที่วางไว้ ซึ่งต้องทำให้มีการเบิกจ่ายได้มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้ สศช.คาดว่า จีดีพีไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ 2.3 - 2.8% (ค่ากลาง 2.5%)

 

สำหรับประเด็นที่สภาพัฒน์ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เหลือของปีนี้เช่น 

1.เรื่องของหนี้สิน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาคการเงิน และภาคการเงินต้องจับตาสถานการณ์การที่หนี้สินครัวเรือน และหนี้ของภาคธุรกิจโดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่สูงขึ้น ซึ่งในส่วนนี้ต้องมีมาตรการที่มุ่งเป้ามากขึ้น 

2.การปรับทิศทางของอัตราดอกเบี้ยของประเทศเศรษฐกิจหลัก รวมถึงอัตราว่างงานที่สูง 

3.การขนส่งที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 

4.การเลือกตั้งสหรัฐที่จะมีมาตรการในการกีดกันการค้ามากขึ้น

5.การเฝ้าระวังสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานที่นำเข้า โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการเฝ้าระวังสินค้าที่คุณภาพต่ำ มีการตรวจสอบคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งต้องมีการออกมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมที่ให้สินค้านั้นมีคุณภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเร่งรัดตรวจสอบสินค้านำเข้าผิดกฎหมาย และเลี่ยงภาษีมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือภาคผู้ผลิตเอสเอ็มอีด้วย  

"เศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญความท้าทายสำคัญในเรื่องของเศรษฐกิจ เนื่องจากการลงทุนของภาคเอกชนยังต่ำ และไม่ได้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ และการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศมีขนาดที่ลดลง ซึ่งต้องสร้างแรงจูงใจในการลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะในภาคส่วนของแรงงาน ที่จะต้องตอบโจทย์อุตสาหกรรมใหม่ๆและอุตสาหกรรมเป้าหมายมากขึ้น"

 

 


พิสูจน์อักษร....สุรีย์   ศิลาวงษ์  

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...