‘Bolt’ ขยายเพิ่มอีก 6 จังหวัด อยากให้คนไทยใช้รถส่วนตัวน้อยลง

บริการแอปฯ เรียกรถ คือหนึ่งในธุรกิจที่ร้อนแรงทะลุปรอทมากที่สุด มีผู้เล่นหน้าใหม่ทยอยเข้าสู่ตลาดเรื่อยๆ แม้จะมีเจ้าถิ่นอยู่แล้วก็ตาม แต่เพราะพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เดลิเวอรี่เป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการพร้อมทุ่มตลาดไม่อั้น

สำหรับ “โบลท์” (Bolt) เปิดให้บริการในไทยแบบเงียบๆ มาตั้งแต่ปี 2563 และประกาศลงทุนอย่างเป็นทางการไปเมื่อต้นปี 2565

หากเทียบกับแอปฯ เรียกรถเจ้าอื่นๆ “โบลท์” ยังครองสัดส่วนตลาดน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญ แต่เพราะความได้เปรียบเรื่องการทำราคา (Pricing) เข้าถึงผู้บริโภคได้หลากหลาย ธุรกิจจึงเติบโตอย่างรวดเร็ว จำนวนผู้ใช้งานปี 2566 โตขึ้นจากปี 2565 กว่า 800% ส่วนรายได้ปี 2566 พบว่า โกยไปแล้ว 540 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ “โบลท์” ให้บริการอยู่ราวๆ 8 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล ภูเก็ต เชียงใหม่ เชียงราย ขอนแก่น นครราชสีมา และอุดรธานี และตอนนี้ได้มีการขยายพื้นที่ให้บริการเพิ่มเติมอีก 6 จังหวัด ครอบคลุมทั้งเมืองหลักและเมืองรอง ตั้งแต่พิษณุโลก บุรีรัมย์ มหาสารคาม นครศรีธรรมราช กระบี่ และสุราษฎร์ธานี เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับการใช้บริการขนส่งสาธารณะ

รวมถึงเป้าหมายสำคัญที่ “โบลท์” ระบุว่า ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้รถยนต์ส่วนตัวเป็นบริการขนส่งสาธารณะแทน

ด้าน “ณัฐดนย์ สุขศิริฐานันท์” ผู้จัดการประจำประเทศไทยของโบลท์ ให้ข้อมูลว่า ขนส่งมวลชนนับเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีส่วนที่จัดการได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เป้าหมายของโบลท์ คือทำให้ขนส่งสาธารณะในเมืองเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็ว และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยบริษัทต้องการพัฒนาบริการเพื่อทดแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว ผ่านการขยายพื้นที่ให้บริการและเพิ่มตัวเลือกการเดินทางร่วมกันให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น รวมถึงอยากสร้างแรงจูงใจในการใช้รถยนต์ส่วนตัวให้น้อยลงด้วย

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา “โบลท์” เคยถูกตั้งคำถามว่าด้วยประเด็นด้านความปลอดภัยและพฤติกรรมของคนขับ ซึ่งปัจจุบันแอปฯ เรียกรถสัญชาติยุโรปแห่งนี้ได้มีการปรับโฉมระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อให้ผู้โดยสารมั่นใจมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปุ่มช่วยเหลือฉุกเฉิน สามารถติดต่อกับตำรวจได้ทันที, การแชร์ข้อมูลการเดินทางแบบเรียลไทม์

มีระบบตรวจสอบเมื่อรถหยุดเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน, โทรศัพท์ผ่านแอปพลิเคชันโดยไม่เปิดข้อมูลเบอร์โทรศัพท์, ระบบ “Unmatch” ป้องกันการจับคู่ซ้ำ, ระบบตรวจสอบภาพถ่ายใบหน้าคนขับ เพื่อลดการแอบอ้าง และระบบบันทึกเสียงระหว่างการเดินทาง โดยจะเข้าถึงฟีเจอร์นี้ได้เฉพาะเคสที่มีการแจ้งเรื่องความปลอดภัยมายังฝ่ายบริการลูกค้า เป็นต้น

นอกจากบริการที่ครอบคลุมพื้นที่อื่นๆ เพิ่มเติมมากขึ้นแล้ว “โบลท์” ยังแตกไลน์ “Bolt Business” บริการเพื่อการเดินทางเชิงธุรกิจ มีความพิเศษเรื่องระบบการจัดการและควบคุมการเดินทาง ตอบโจทย์องค์กรมากขึ้นนั่นเอง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...