กลยุทธ์สำหรับธุรกิจไทยในการรับมือกับทุนใหญ่จากต่างประเทศ

ทำให้นึกถึงกลยุทธ์ที่ธุรกิจสามารถเลือกใช้ในการรับมือกับ Disruption ต่างๆ ซึ่งถูกนำมาปรับให้เป็นกลยุทธ์ในการรับมือกับคู่แข่งขันใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่า ต้นทุนถูกกว่า มีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ฯลฯ

ซึ่งมีกลยุทธ์ในการรับมืออยู่ทั้งหมด 7 ประการ และกลยุทธ์แต่ละประการก็จะมีแนวทางที่ผู้ประกอบการไทยสามารถที่จะเลือกใช้ได้

กลยุทธ์ที่ 1 สกัดกั้น หรือ Block เป็นการป้องกันส่วนแบ่งการตลาดเดิมที่มีอยู่ และทำให้คู่แข่งยากที่จะเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดได้ โดย

ก) ใช้ประโยชน์จากความเป็นไทย ใช้ความรู้เกี่ยวกับตลาดในประเทศไทย เพื่อให้สามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับคนไทย เพื่อคนไทย และสำหรับคนไทย

ข) สร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพ การปรับเปลี่ยนได้ตามที่ลูกค้าต้องการ การสร้างแบรนด์ และต้องให้มั่นใจว่าลูกค้ามองเห็นในความแตกต่างดังกล่าว

ค) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ผ่านบริการที่มีความเป็นไทย ทำให้ลูกค้าเกิดความภักดี

กลยุทธ์ที่ 2 เก็บเกี่ยว หรือ Harvest เป็นการเร่งเก็บเกี่ยวกำไรและผลตอบแทนในระยะสั้น เนื่องจากความไม่แน่นอนในระยะยาว ทำได้โดย 

ก) ลดต้นทุน โดยการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น และมุ่งเน้นในธุรกิจหรือกิจกรรมที่จะทำให้เกิดกำไรสูงสุด

ข) สร้างความร่วมมือกับธุรกิจอื่นในประเทศ เพื่อแบ่งปันทรัพยากรและต้นทุนกับธุรกิจอื่นและสร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการไทย 

กลยุทธ์ที่ 3 ลงทุน หรือ Invest เป็นการลงทุนเพื่อการเติบโต เหมาะสำหรับธุรกิจที่พร้อมจะสู้กับทุนจากต่างประเทศ โดย 

ก) เน้นนวัตกรรม เน้นนวัตกรรมทั้งสินค้าและบริการให้ได้ก่อนคู่แข่ง เพื่อเกาะกุมความได้เปรียบจากการความเชี่ยวชาญในประเทศและลูกค้า

ข) สร้างแบรนด์ ให้ความสำคัญกับการตลาดและสร้างแบรนด์

ค) มุ่งเน้นด้านความยั่งยืน ใช้หลักในเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) เป็นกลไกในการสร้างความแตกต่าง

กลยุทธ์ที่ 4 เปลี่ยนเกม หรือ Disrupt เป็นการหาแนวทางและสร้างรูปแบบทางการแข่งขันใหม่ๆ โดย 

ก) สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ เป็นการพัฒนาแนวทางใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ 

ข) ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี เป็นการใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น AI ในการสร้างความแตกต่างหรือรูปแบบธุรกิจใหม่ 

กลยุทธ์ที่ 5 ถอย หรือ Retreat เป็นการถอยจากธุรกิจที่ไม่มีกำไร และมุ่งเน้นในธุรกิจที่มีกำไร หรือ มีจุดแข็ง โดย 

ก) การมุ่งเน้นที่ธุรกิจหลัก โดยมุ่งเน้นในธุรกิจที่มีโอกาสทำกำไรสูงสุด หรือ ธุรกิจที่คู่แข่งยากจะเข้ามาได้มากที่สุด 

ข) ถอยในภูมิภาคที่การแข่งขันรุนแรงหรือไม่เชี่ยวชาญ

กลยุทธ์ที่ 6 เริ่มธุรกิจใหม่ หรือ Redefine เป็นการสร้างหรือเข้าไปในธุรกิจใหม่ ที่อาศัยความเชี่ยวชาญจากธุรกิจเดิม โดย 

ก) พัฒนาสินค้า บริการ หรือ โมเดลธุรกิจ สำหรับธุรกิจใหม่ ที่จะมีความจำเพาะหรือมุ่งเน้นลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้น 

ข) การจับตลาดใหม่ โดยเน้นที่กลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้รับการตอบสนองจากธุรกิจเดิมหรือจากคู่แข่ง หรือ ตลาดที่จำเพาะที่ธุรกิจขนาดใหญ่อาจจะละเลย 

กลยุทธ์ที่ 7 เลิกธุรกิจ หรือ Exit อาจจะขาย ปิด หรือ ควบรวมธุรกิจ โดยอาจจะขายให้กับคู่แข่งเดิมที่มีขนาดใหญ่ หรือ ควบรวมกับผู้ประกอบการรายอื่นๆ เพื่อให้เกิดผู้ประกอบการทีมีความเข้มแข็งมากขึ้น 

ทั้ง 7 กลยุทธ์ข้างต้นเป็นกรอบแนวทางสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเลือกและผสมผสานในสิ่งที่จะทำ เพื่อเผชิญกับคู่แข่งใหม่ที่มีความเข้มแข็งกว่า และอาจจะเป็นทางออกสำหรับหลายๆ ธุรกิจที่จะสามารถเลือกใช้ในยุคปัจจุบัน.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

รวมพลังดันไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในงาน GC Sustainable Living Symposium 2024  

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จัดงาน GC Sustainable Living Symposium 2024: GEN ...

GC ดีเดย์! ขายเชื้อเพลิง SAF ม.ค.68 กำลังผลิตเบื้องต้น 5 แสนลิตรต่อวัน

นายณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ ...

มติสภานโยบายการอุดมศึกษาฯ พัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง

เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 ณ ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสภ...

อุปกรณ์ล่าไก่! รู้จัก 'realme 13 Series' มือถือสำหรับแฟนเกม PUBG MOBILE

ปังไม่หยุด! ล่าสุด realme เปิดตัว realme 13 Series สมาร์ตโฟนรุ่นล่าสุดจากตระกูล Number Series ในประเ...