การเมืองแรงเศรษฐกิจ ‘ร่วง’

ยิ่งมีความไม่แน่นอนมากเท่าไร ความเชื่อมั่นนักลงทุนทั้งใน และต่างประเทศยิ่งลดลงตามไปด้วย ประเทศไทยยามนี้มีแต่ความเสี่ยงผุดขึ้นเต็มไปหมด พร้อมที่จะกระทบชิ่งไปถึงนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ต่อให้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี “รอด” จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญวันที่ 14 ส.ค.นี้ ก็ใช่ว่าจะพลิกฟื้นให้เศรษฐกิจกลับมาดี หรือทำให้ความมั่นใจฟื้นกลับคืนมาได้ในชั่วข้ามคืน เพราะวิกฤติเศรษฐกิจไทยครั้งนี้มันซึมลึกเกินกว่าคาดไปมาก

สัญญาณร้ายของเศรษฐกิจไทย ส่งออกมาเป็นระลอกต่อเนื่อง การชะลอลงทุนของธุรกิจรายใหญ่ การปิดโรงงานนับพันๆ แห่ง คนตกงานเริ่มส่งเสียงดัง ความขัดสนของสภาพคล่องเอสเอ็มอีซึ่งเป็นฐานใหญ่ของประเทศ การคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร หนี้เสียที่ไต่ระดับเพดานอย่างน่ากลัว ความสามารถในการจับจ่ายของประชาชนลดน้อยลง

ไม่นับความ “ล้าหลัง” ของรัฐบาลเศรษฐา ที่ก้าวไม่ทันโลก กฎหมายการค้า เทคโนโลยี ที่อ่อนแอ เปิดช่องให้ต่างชาติเข้ามาแย่งชิงพื้นที่การค้าขาย คนไทยต้องเสียเปรียบขาดดุลอย่างมหาศาล แต่รัฐบาลกลับทำอะไรไม่ได้เลย รวมไปถึงความสับสน มึนงงในแคมเปญ “ดิจิทัล วอลเล็ต” ที่จนถึงวันนี้ยังมีคำถามที่รัฐบาลต้องตอบให้ได้อีกมากมาย

ความไม่แน่นอนในทุกเรื่องของการบริหารประเทศภายใต้การนำของรัฐบาลเศรษฐา กำลังทำให้ประเทศไทยยิ่งอ่อนแอลงไปเรื่อยๆ ขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว หลายประเทศกำลังฟิต สะสมกำลังภายใน เพื่อสู้กับปัจจัยท้าทายภายนอก แต่ประเทศไทยแค่สู้กับปัจจัยลบภายในประเทศเองยังลำบาก ยิ่งสถานการณ์การเมืองในประเทศผันแปร ไร้เสถียรภาพ ยิ่งทำให้ไทยไม่อยู่ในสายตาของนักลงทุน เขามองเลยเราไปหมดแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังมีเสียงเตือนถึงรัฐบาลเศรษฐาในหลายๆ มิติ ถึงแนวทางแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ที่ควรฟังไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนที่ต้องเร่งผลักดันออกมาในช่วงโค้งสุดท้ายปีนี้ให้ได้ ที่สำคัญในระยะยาว ประเทศต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจครั้งใหญ่ อุดช่องโหว่ เสริมจุดแข็ง เปิดให้นักลงทุนต่างชาติมั่นใจนำเงินเข้ามาลงทุนในไทยระยะยาว ทั้งการลงทุนโดยตรง (FDI) และเงินลงทุนในตลาดหุ้น ตลาดบอนด์ 

ขณะที่ รัฐต้องหันมาเสริมความแข็งแกร่งเอสเอ็มอีไทย ผู้ประกอบการไทย ได้สร้างแบรนด์ของไทยให้เฉิดฉายสู้กับต่างชาติให้ได้ ถามว่าวันนี้มีแบรนด์ไทยไปลุยระดับโลกไหม ก็อาจจะมี แต่มันไม่มากพอ เราต้องแข็งแกร่งได้มากกว่านี้ ถึงจะสามารถปิดจุดอ่อน ดันจุดแข็งไปสู้กับคนอื่นเขาได้ ประเทศไทยควรสร้างจุดขายที่สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนในระยะยาว พร้อมกับการวางกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ที่เข้มข้น ทันสมัย เป็นสากล แต่ต้องไม่เข้มมากจนกลายเป็นอุปสรรคในระยะยาว...

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...