จับตาเงื่อนไข TU กู้เงิน ITC ’ซีอีโอ‘แจงเพิ่มผลตอบแทน-เรียกเงินคืนได้ตลอด

กรณีบมจ.ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น หรือ ITC แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ เมื่อ 6 ส.ค. 2567 อนุมัติการเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกันประเภทให้ความช่วยเหลือการเงิน และกำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2567 โดยบริษัทจะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน โดยการเข้าทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่าง ITC ในฐานะผู้ให้กู้ และ บมจ.ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป หรือ TU ในฐานะผู้กู้ ซึ่งเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกันกับบริษัท วงเงินไม่เกิน 11,000 ล้านบาท โดยมีสัญญาเงินกู้ยืมระยะเวลาไม่เกิน 6 ปี

นางสาวธรีทิพย์ วงษ์แสงไพบูลย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บล.กสิกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีที่ TU ต้องการกู้เงินจากบริษัทลูก ITC มูลค่า 1.1 หมื่นล้านบาท ยังไม่มีความกังวลในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากแผนใช้เงิน ITC มีการเลื่อนออกไป ตามภาพรวมอุตสากรรมที่ชะลอตัว ทำให้ ITC ยังคงมีเงินสดในมือที่ได้จากการระดมทุน (IPO) ตั้งแต่ปี 2565 เหลืออยู่ค่อนข้างมาก

อย่างไรก็ตาม การที่ TU ขอกู้เงินจาก ITC นั้น ยังมีประเด็นที่ต้องติดตาม ทั้งเงื่อนไขการกู้เงิน และการดำเนินการหาก ITC มีความต้องการใช้เงินทุนเพิ่มเติมในอนาคต รวมถึง ITC ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นก่อน ถึงจะสามารถให้เงินกู้กับ TU ได้

ส่วนในกรณีนี้ ITC ซื่งเป็นบริษัทลูก มีฐานะทางการเงินที่ดีกว่า TU นั้น เนื่องมาจาก ITC ไม่มีหนี้ ขณะที่ TU มีภาระหนี้สินอยู่ราว 6.6 หมื่นล้านบาท ดังนั้น เชื่อว่าการกู้ยืมจากบริษัทลูกไปชำระหนี้บางส่วน จะช่วยทำให้ TU มีต้นทุนทางการเงินลดลงได้บางส่วน

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซีย ไซรัส เปิดเผยว่า จากประเด็นดังกล่าวแนวทางของ TU ต้องการกู้เงินจากบริษัทลูก ITC แบบ “ลูกยืมแม่ แม่ยืมลูก” สามารถทำได้ เพราะที่ผ่านมามีให้เห็นหลายบริษัทได้ ไม่ผิดกฎการระดมทุน (IPO) ดังนั้น มองเป็นบวกต่อ TU ในแง่ได้ดอกเบี้ยที่ถูกลง จากปัจจุบันต้นทุนของเงินทุนจากการกู้ยืม (cost of debt) ที่ 3.77% ส่วนเงินกู้จาก ITC ดอกเบี้ยอยู่ที่ 2.6-3.1% และ TU ต้องการสร้างผลตอบแทน ส่วนเพิ่มให้ ITC จากเงินสดส่วนเกิน (excess cash) ที่มีอยู่ค่อนข้างมาก 

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทาง ITC ได้ปรึกษาทางตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว สามารถทำได้ แต่ในมุมของผู้ถือหุ้น ITC อาจรู้สึกมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบในประเด็นอัตราดอกเบี้ยต่ำไป เนื่องจากทาง ITC ตอบประเด็นนี้ว่าดอกเบี้ยที่จะได้สูงกว่าที่บริษัทได้รับอยู่ตอนนี้เฉลี่ยที่ 2.39% จากการฝากเงินกับสถาบันการเงินและถือพันธบัตรรัฐบาล  

ขณะเดียวกัน ผู้ถือหุ้น ITC อาจคิดว่าเงินที่ให้กู้ส่วนหนึ่ง มาจากเงิน IPO หรือไม่ ซึ่งการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น และมาปล่อยให้บริษัทแม่ก็อาจรู้สึกไม่ดี ในแง่หลักธรรมาภิบาล (CG) ในประเด็นดังกล่าวทาง ITC เคยตอบมาว่า เงินส่วนนี้ไม่ได้มาจาก IPO แต่มาจากการดำเนินงาน (operation) ไม่สามารถเอาเงิน IPO มาใช้ผิดวัตถุประสงค์ไม่ได้ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นของ ITC ก่อน โดยทางITC จะมีจัดทำรายงาน IFA report เสนอต่อ ก.ล.ต. เพื่อให้ความเห็นที่จะมีออกมา ก่อนนำเสนอ ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นต่อไป

“ซีอีโอไทยยูเนี่ยน ได้แจงในที่ประชุมเช้าวานนี้(8 ส.ค.) ว่าการกู้ยืมนี้ เป็นการบริหารจัดการเงินในกลุ่ม ITC ได้ผลตอบแทนมากมากขึ้น และ TU จะมีต้นทุนเงินลงทุนซึ่ง ITC สามารถเรียกเงินคืนได้ทุกเมื่อและทันที” 

บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า สำหรับประเด็นการกู้ยืมเงินจากบริษัทลูก ITC วงเงินไม่เกิน 1.1 หมื่นล้านบาท จะ เกิดขึ้นต่อเมื่อ ITC ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 30 ก.ย. 2567 ก่อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในกิจการทั่วไป และ/หรือเพื่อการชำระคืนเงินกู้ เบื้องต้น ประเมินหากมีการกู้ยืมเงินข้างต้น จะทำให้ Net Gearing ขยับขึ้นมาในกรอบ 0.82- 1 เท่า (สิ้น 2Q67 ที่ 0.82 เท่า) โดยระดับที่ไม่เกิน 1 เท่า (ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ใน การใช้เงินกู้) ถือเป็นระดับที่ไม่น่ากังวล และต่ำกว่า Debt Covenant 2 เท่า 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...