แบงก์เข้ม ’ธรรมาภิบาล’ ปล่อยกู้ ทบทวนพอร์ตลูกค้าเก่า ลดความเสี่ยง

ระยะหลังๆ ปัญหาเกี่ยวกับการขาด “ธรรมาภิบาล” ในการดำเนินธุรกิจ หรือผู้นำขาดธรรมาภิบาล เป็นเรื่องที่มีให้เห็นมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ที่มีเรื่อง “ธรรมภิบาล” มาเกี่ยวข้องต่อเนื่อง ทั้งกระแสของการขาดธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ การทุจริตภายในองค์กร การตกแต่งบัญชีเพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

เหล่านี้ล้วนบั่นทอนต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในวงกว้างทั้งในตลาดทุน ตลาดหุ้นไทยให้ลดลงต่อเนื่อง ผลกระทบเหล่านี้จะย้อนมากระทบต่อธุรกิจในท้ายที่สุด ที่อาจส่งผลกระทบให้ธุรกิจหยุดชะงัก จนมีปัญหาการขาดสภาพคล่องตามมาได้ จากปัญหาการขาดธรรมาภิบาล ที่กระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนในบริษัท หรือการปล่อยสินเชื่อในระยะข้างหน้าได้

จงรัก รัตนเพียร” ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า ในการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร กระบวนการพิจารณาเครดิตของธนาคาร ครอบคลุมปัจจัยด้านธรรมาภิบาลอยู่แล้ว และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการพิจารณา

อีกทั้ง เมื่อให้สินเชื่อไปแล้ว ธนาคารต้องมีกระบวนการติดตามสถานการณ์และการดูแลทั้งในบริบทด้านธรรมาภิบาลและปัจจัยอื่นๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อศักยภาพของบริษัทผู้ขอสินเชื่ออย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง

กฤษณ์ จันทโนทก” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ มองว่า กรณีที่มีการพูดถึงธรรมาภิบาลมากขึ้นในระยะหลังๆ นั้น มองว่า การปล่อยสินเชื่อของธนาคารที่ผ่านมา มีการดูด้านเครดิต และธรรมาภิบาล ที่เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญอยู่แล้วที่ธนาคารดูเป็นอันดับต้นๆ

และเมื่อปล่อยสินเชื่อไปแล้ว ธนาคารก็จะมีการติดตามว่า มีการปล่อยสินเชื่อไปถูกคนและปล่อยไปแล้ววก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ธนาคารก็มีสิทธิที่จะติดตาม และกังวลมากขึ้น

เรื่องธรรมภิบาล เป็นสิ่งที่ธนาคารพิจารณาและให้ความสำคัญอยู่แล้ว ในการปล่อยสินเชื่อ และธนาคารก็มีสิทธิกังวลหากบริษัทต่างๆมีความเสี่ยงหรือทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นเมื่อธนาคารปล่อยสินเชื่อไปแล้ว ธนาคารก็ต้องติดตาม ว่าเราปล่อยกู้ถูกคน และปล่อยไปแล้วก่อให้เกิดความเสี่ยงหรือไม่”

กฤษฎา แพทย์เจริญ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย (HSBC) กล่าวถึง กรณีที่ผู้บริหารหลายบริษัทขาดคุณสมบัติหรือธรรมภิบาลในการบริหารธุรกิจให้เห็นมากขึ้นนั้น เขามองว่าในส่วนของการปล่อยสินเชื่อของธนาคาร ปกติมีเกณฑ์หรือกติกาที่มีการเข้มงวดในการดูด้านธรรมภิบาลของผู้บริหารและบริษัทต่างๆอยู่แล้วก่อนปล่อยสินเชื่อ

ซึ่งยึดหลักตามมาตรฐานสากลที่ใช้ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ ดังนั้นการดูเรื่องดังกล่าวเชื่อว่าทุกธนาคารมีการพิจารณาอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นลูกค้าเดิม ที่ธนาคารเคยปล่อยสินเชื่อมาแล้วในอดีต ธนาคารก็มีเกณฑ์การพิจารณา และติดตามพัฒนาของบริษัทต่างๆอย่างต่อเนื่อง ว่าเป็นไปตามเป้าประสงค์ในการดำเนินธุรกิจ หรือดำเนินธุรกิจที่ปกติ และไม่ผิดหลักเกณฑ์ต่างๆหรือไม่ ซึ่งมีการทบทวนอยู่ปกติ เพื่อให้ธนาคารเห็นความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น

“ธนาคารยังคงมองว่า เรื่องธรรมาภิบาลเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก และเป็นสิ่งที่ธนาคารยึดถือและใช้ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อมาโดยตลอด และเชื่อว่าเกณฑ์การพิจารณาของธนาคารเป็นระดับสากลระดับโลก และการพิจารณาเรานี้ ธนาคารก็มีทีมที่ติดตามเรื่องเหล่านี้ต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่ปล่อยสินเชื่อแล้วจบ แต่ยังมีการกลับมาประเมินหรือติดตามพอร์ตลูกค้าต่อเนื่อง แต่หากเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น เราก็จะคุยกับลูกค้าเราก่อนถึงสาเหตุต่างๆ”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...