วิเคราะห์ ‘แบงก์ชาติจีน’ซื้อ’ทองคำ’ต่อหรือไม่ ในช่วงครึ่งปีหลัง

สำนักข่าวนิกเคอิเอเชียรายงานว่าธนาคารกลางจีน (PBOC) กลายเป็นผู้ซื้อทองคำรายใหญ่ และการที่มีสัดส่วนการถือครองทองคำที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้ยังมีช่องว่างในการสะสมเพิ่มเติม

ตามรายงานของสภาทองคำโลก (WGC) เผยว่า PBOC ได้ทำการซื้อทองคำสุทธิสูงถึง 224.9 ตัน คิดเป็นประมาณ 5% ของอุปสงค์ทองคำทั่วโลกในปี 2566  ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง และเป็นหนึ่งในปริมาณการซื้อทองคำที่มากที่สุดของธนาคารกลางรายใหญ่ทั่วโลกในปีนั้น

นอกจากนี้ PBOC ยังคงซื้อทองคำต่องเนื่อง โดยซื้อสุทธิ 28.9 ตัน ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นรองแค่ธนาคารกลางตุรกีเท่านั้น แม้ว่าการซื้อจะชะลอตัวในเดือนพ.ค.และมิ.ย. สอดคล้องกับช่วงที่ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดย ณ สิ้นเดือนมิ.ย. จีนมีการถือครองทองคำเพิ่มขึ้น 22% นับตั้งแต่สิ้นปี 2561 เป็น 2,264.3 ตัน 

นิโคส คาวาลีส จาก Metals Focus ในสหราชอาณาจักรกล่าวว่า สำหรับผู้บริโภคชาวจีน การที่แบงก์ชาติจีนซื้อทองคำเพิ่มขึ้นทำให้มีความมั่นใจมากขึ้นในการลงทุนในทองคำ

ธนาคารกลางทั่วโลก รวมถึง PBOC มักจะมีการถือครองทองคำเป็นส่วนหนึ่งของทุนสำรองทั้งหมด นอกจากทองคำแล้ว ทุนสำรองเหล่านี้ยังประกอบไปด้วยเงินตราต่างประเทศอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทำให้ดอลลาร์สหรัฐมีสถานะเป็นสกุลเงินสำรองหลักของโลก

PBOC เพิ่มการถือครองทองคำอย่างรวดเร็วในปี 2558 และ 2559 โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 800 ตันในช่วง 2 ปีนั้น การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐตึงเครียด และมีการคาดการณ์ว่าจีนอาจลดสัดส่วนของดอลลาร์ในทุนสำรองของประเทศ

การซื้อทองคำเพิ่มขึ้นอีกครั้งในเดือนพ.ย.2565 โดยมีการซื้อติดต่อกัน 18 เดือนติด จนถึงเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ทำให้ปริมาณสำรองเพิ่มขึ้น 316 ตัน ซึ่งสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของประเทศตะวันตกในการอายัดสินทรัพย์ที่เป็นสกุลเงินดอลลาร์ของรัสเซียเพื่อตอบโต้การบุกยูเครนของรัสเซีย

‘จีน’ยังมีโอกาสเพิ่มสัดส่วนทองคำ

แคมป์เบล ฮาร์วีย์ ศาสตราจารย์ด้านการเงินจากมหาวิทยาลัย Duke มองว่า สถานการณ์นี้อาจทำให้จีนตระหนักถึงการใช้ทองคำเป็นการป้องกันความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งปกติแล้วทองคำถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงเวลาที่มีความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจ

แม้ว่า PBOC เพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อพิจารณาจากข้อมูลของ WGC แล้ว ปริมาณทองคำสำรองของจีนยังไม่ได้อยู่ในระดับสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยจีนถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 7 ของประเทศและสถาบันสำคัญที่ถือครองทองคำมากที่สุด โดยมีรัสเซียเป็นประเทศที่มีปริมาณทองคำสำรองสูงเป็นอันดับสอง รองจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีปริมาณทองคำมากกว่าจีนเกือบ 4 เท่า

ดังนั้น  ฮาร์วีย์  มองว่าตัวเลขนี้สะท้อนได้ว่า PBOC มีอิสระที่จะเพิ่มปริมาณสำรองต่อไปได้ เนื่องจาก ทองคำเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับ PBOC ในการกระจายความเสี่ยงให้กับสกุลเงินในประเทศอย่าง "หยวน"

อารอน ชาน นักยุทธศาสตร์ด้านทองคำจาก State Street Global Advisors ระบุว่า โดยทั่วไปแล้ว ประเทศตลาดเกิดใหม่มักจะมีทุนสำรองในรูปของทองคำอยู่ที่ประมาณ 20% ของทุนสำรองทั้งหมด ด้วยสัดส่วนการถือครองทองคำปัจจุบันของจีนที่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนี้ จึงถือได้ว่าจีนยังมีช่องว่างในการเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำได้อีกมากในระยะยาว

ความเสี่ยงทางการคลังและภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มสูงขึ้นในสหรัฐอาจเป็นปัจจัยกระตุ้นให้จีนกระจายความเสี่ยงออกจากดอลลาร์สหรัฐมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มการซื้อทองคำของ PBOC ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองของสหรัฐ เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดีและการเจรจาเกี่ยวกับเพดานหนี้ของรัฐบาลกลาง ซึ่งอาจสร้างความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการเงิน

อ้างอิง Nikkei 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...