ความท้าทายอนาคตไทย เกิดน้อย-แก่มาก แรงงานขาดแคลน

ระเบิดเวลาประชากร : เกิดน้อย แก่มาก ความท้าทายอนาคตไทย  ในขณะที่จำนวนการเกิดของเด็กลดน้อยลง แต่ตัวเลขการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม ในอนาคต สถิติการเกิดย้อนหลัง 10 ปีของกรมการปกครอง พบว่า จำนวนการเกิดทั่วประเทศลดลงอย่างต่อเนื่อง จากที่ในปี 2557 มีเด็กเกิด 7.7 แสนคน เหลือ 5.1 แสนคนในปี 2566  ขณะที่จำนวนผู้สูงอายุไทยในปี 2567 มีมากกว่า 13 ล้านคน 

 

 

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ฉายภาพสถานการณ์ประชากรไทย ว่า สัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้นทุกวัน ขณะนี้มีคนอายุเกิน 60 ปีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด แต่อีกไม่กี่ปีจะเพิ่มเป็นถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มว่าผู้สูงอายุจะมีอายุยืนยาวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยคนที่อายุถึงร้อยปีก็จะเพิ่มขึ้นเร็วเช่นกัน ขณะเดียวกันจำนวนเด็กก็เกิดน้อยลงทุกขณะ เพราะมุมมองของคนเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่ต้องการที่จะมีลูก ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นนี้จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย

อะไรที่ทำให้คนไทยไม่อยากมีลูก? 

ดร.สมชัย มองว่า มีหลายสาเหตุที่คนไทยไม่อยากมีลูก ในด้านเศรษฐกิจ พบว่าต้นทุนในการเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างมีคุณภาพต้องมีค่าใช้จ่ายที่ “แพง” มากขึ้นเรื่อยๆ และจะยิ่งแพงมากขึ้นต่อไปอีก ถ้าพ่อ-แม่มีความคาดหวังต่อลูกสูง เช่น ลูกจะต้องเรียนหนังสือในโรงเรียนชั้นดี หรือเรียนโรงเรียนนานาชาติ จะต้องเรียนพิเศษ ต้องมีความสามารถพิเศษ เล่นเปียโนได้เป็นต้น พวกนี้เป็นต้นทุนของการเลี้ยงดูทั้งสิ้น ซึ่งสาเหตุนี้ทำให้คู่สามีภรรยาที่ประเมินว่าตัวเองไม่พร้อมที่จะเลี้ยงลูกให้โตขึ้นมาตามที่คาดหวังเอาไว้ได้เลือกที่จะไม่มีลูกไปเลย 

“เป็นเรื่องของความเครียดด้วย เพราะคนที่จะมีลูกเขารู้สึกว่าต้องทำงานหนักขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจโตช้าแบบนี้ คนที่ทำงานก็ต้องพยายามกดดันตัวเองให้ทำงานมากขึ้น และการเลี้ยงลูกโดยเฉพาะช่วงต้นๆ ต้องใช้พลังงานมาก ซึ่งคนที่มีลูกจะต้องสามารถรับแรงกดดันได้ เป็นเรื่องที่เขารู้สึกว่าไม่พร้อม” ดร.สมชัยระบุ 

 

แรงงานขาดแคลน เศรษฐกิจไม่โต 

แน่นอนว่าวิกฤตเด็กเกิดน้อย และ สังคมสูงวัย ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหา ขาดแคลน “วัยแรงงาน” รวมทั้งฐานะการคลังของภาครัฐทั้งรายได้และรายจ่าย  ภาพสถานการณ์การขาดแคลนวัยแรงงานไม่ค่อยดีเท่าไหร่ สัดส่วนของกลุ่มวัยแรงงานลดลงอย่างรวดเร็วตามโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ยกเว้นว่าจะมีการปรับเรื่องของแนวคิดบางอย่าง เช่น ให้ผู้สูงวัยทำงานมากขึ้น ซึ่งในภาคเอกชนวันนี้หลายแห่งมีอายุงานถึงแค่ 55 ปีเท่านั้น และแม้แต่ราชการที่ให้เกษียณตอน 60 ปี จะต้องมีการขยายอายุให้มากขึ้น ต้องส่งเสริมให้ผู้สูงวัยยังคงมีกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำงาน หรือเรื่องอื่นๆไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นภาระของสังคมได้ 

 


     
ขณะที่ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ทั้งสองประเด็นนี้เป็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมต่อกันอย่างแยกไม่ออก ในด้านสังคม เมื่อมีผู้สูงอายุมากขึ้น การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการให้บริการทางสาธารณสุขก็ย่อมมากขึ้นตามสัดส่วนของผู้สูงอายุ ขณะเดียวกันเมื่อมีกลุ่มผู้สูงอายุที่ “ป่วยติดเตียง” มากขึ้น หมายความว่า วัยแรงงานที่มีน้อยลงอยู่แล้ว ยิ่งขาดแคลนมากขึ้น เพราะคนกลุ่มนี้บางส่วนต้องลดการทำงานลงเพื่อเอาเวลาไปดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียงด้วย  
    

 

ด้านเศรษฐกิจ ภาครัฐจะต้องแบกรับรายจ่ายการดูแลผู้สูงวัยมากขึ้น ขณะที่ศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยจะต่ำลงอย่างรวดเร็ว เพราะขาดแรงงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยคุณภาพแรงงานก็เป็นอีกปัญหาที่สำคัญ  “ในอนาคตปัญหาขาดแคลนแรงงานจะเกิดเป็นวงกว้าง เมื่อก่อนเราขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือในบางอุตสาหกรรม แต่พอเด็กเกิดน้อยในอนาคตแรงงานที่ไร้ฝีมือ หรือแรงงานทักษะต่ำก็คงจะขาดแคลนเช่นกัน ซึ่งสถานการณ์นี้เคยเกิดขึ้นแล้วในช่วงที่ไทยเปิดประเทศหลังวิกฤตโควิด-19  ที่หาคนทำงานไม่ได้”

 

เราจะต้องมีนโยบายเสริมมาก เราไม่อยากรับเข้ามาแล้วเป็นปัญหาของสังคม มาก่ออาชญากรรม หรือมารับสวัสดิการอย่างเดียว ทำงานไม่ค่อยเก่ง ฝีมือไม่ดี ดังนั้นถ้าจะให้สัญชาติจะต้องมีนโยบายเสริม เช่น จะต้องมีนโยบายในเรื่องของการฝึกทักษะที่ดีเพื่อให้แน่ใจว่าเขามีทักษะที่ดีแน่ๆ ซึ่งถ้าทำได้ก็จะดีต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ  เหล่านี้เป็นโจทย์ใหญ่ที่ภาครัฐต้องวางมาตรการให้ชัดเจน และต้องดำเนินการควบคู่กันไปในหลายมาตรการ ที่สำคัญต้องเริ่มขยับในทันทีก่อนที่สถานการณ์จะล่วงเลยไปจนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ดร.สมชัยระบุ  

    

 

ข้อมูลที่มา  hfocus.org 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือน 6 โรคในไทยยังต้องระวัง อย่าชะล่าใจ โควิด19-หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก

ทำความรู้จักภาวะไฮเปอร์เวนทิเลชั่น โรคหายใจเกิน เหตุทำเป็นลมหมดสติ

อย่ามองข้าม "เหงื่อออกขณะหลับ" สัญญาณเตือนอาจเสี่ยงเป็นโรค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Read More

เตือน 6 โรคในไทยยังต้องระวัง อย่าชะล่าใจ โควิด19-หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก

Read More

ทำความรู้จักภาวะไฮเปอร์เวนทิเลชั่น โรคหายใจเกิน เหตุทำเป็นลมหมดสติ

Read More

อย่ามองข้าม "เหงื่อออกขณะหลับ" สัญญาณเตือนอาจเสี่ยงเป็นโรค

ข่าวยอดนิยม

"ตรวจหวยลาววันนี้" 24/07/67 หวยลาววันนี้ หวยลาวล่าสุด หวยลาว 24 กรกฎาคม 2567

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...