วิเคราะห์หุ้นรายตัว : บล.เคจีไอฯ Bank Sector กำไรโตเล็กน้อยแม้ว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวลง

โดยกำไรของ KBANKเพิ่มขึ้นอย่างมากเนื่องจากค่าใช้จ่ายสำรองฯ ในขณะที่ของ TTB ได้อานิสงส์จากการกลับรายการภาษีเป็นรายได้ อย่างไรก็ตาม กำไรของ KKP, SCB และ TISCO ลดลงอย่างมาก

การเติบของกำไรจากการดำเนินงานหลักชะลอตัวเล็กน้อย ต้องใช้การลดค่าใช้จ่ายตัวเป็นช่วย

กำไรจากการดำเนินหรือ PPOP (ไม่รวมกำไร/ขาดทุน FVTPL และค่าใช้จ่ายสำรอง) ลดลง 2% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 6% YoY ใน 2Q67 และ เพิ่มขึ้น 8% ใน 1H67 ซึ่งถือเป็นการโตแบบชะลอตัวเล็กน้อยใน 2Q67 ในขณะที่การเติบโตของกำไรมีแนวโน้มชะลอตัวลง ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเติบโตของแต่ละธนาคารแตกต่างกันไป จากผลของโครงสร้างสินเชื่อที่แตกต่างกัน และ การมุ่งเน้นธุรกิจที่ต่างกัน ทั้งนี้ ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังไม่เปลี่ยนแปลง และ มีการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับกลุ่มเปราะบาง ส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM ของ KTB และ SCB กลับดีขึ้นจากผลของการปรับยีลด์สินเชื่อกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่ แต่ NIM ของ BBL KBANK TTB TISCO และ KKP ลดลง ทำให้ธนาคารต้องลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยเฉพาะ BBL และ TTB ที่มีสัดส่วนต้นทุน/รายได้ลดลง

 

 

ค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) ของ BBL KKP TISCO SCB เพิ่มขึ้นใน 2Q67 และต่อเนื่องใน 2H67

ตัวเลข NPL เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1% QoQ และ 2% YoY โดย NPL ของ BBL เพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ 5% QoQ และ 6% YoY จากหนี้ปรับโครงสร้างของสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมย้อนกลับเป็น NPL (relapsed NPL) ในขณะเดียวกัน NPL จากสินเชื่อผู้บริโภคในกลุ่ม H/P ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากก็ส่งผลกระทบกับ KKP TISCO TTB และ NPL จากสินเชื่อปลอดหลักประกันในกลุ่มบัตรเครดิต และ สินเชื่อส่วนบุคคลส่งผลกระทบ NPL กับ SCB ทั้งนี้สถานการณ์ดังกล่าวกดดันให้ BBL เพิ่ม credit cost เป็น 152bps in 1H67 (สูงกว่าเป้าปี 2567 ที่ 100bps) ในขณะที่ทำให้ KKP เพิ่ม credit cost เป็น 2.9% ใน 2Q67 (จากเป้าปีนี้ที่ 2.5-2.7%) และ ทำให้ SCB เพิ่ม credit cost เป็น 190bps ใน 2Q67 (จากเป้าปีนี้ที่ 160-180bps) เพื่อหยุดผลขาดทุน SCB จะระงับ และ ชะลอการขยายสินเชื่อ yield สูง พร้อมทั้งหันไปเน้นคุมต้นทุนการดำเนินงานใน 2H67 แทน ส่วน TISCO และ KKP ตั้งเป้าจะเพิ่ม credit cost อีกใน 2H67

KBANK SCB TTB เร่งตัดหนี้สูญ (write off) เพื่อคุมตัวเลข NPL

ภายใต้ NPL ที่ปรับขึ้นเล็กน้อย หลายแบงก์มีการจัดการภายในด้วยมาตรการที่หลากหลาย โดย KBANK
SCB TTB ใช้การตัดหนี้สูญในอัตราเร่ง ทำให้ตัวเลขการตัดหนี้สูญใน 2Q67 และ 1H67 สูงกว่าช่วงเดียว
ของปีก่อนมากกว่า 2 เท่า ในขณะที่ BBL ไม่ได้เน้นนโยบายทำให้เห็นตัวเลข NPL เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้
ส่วน KKP TISCO มีการระบาย NPL จากสินเชื่อเช่าซื้อผ่านการประมูลขายรถ

 

 

 

NPL ฟื้นตัวช้าเพราะความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ และ ปัญหาทางการเงินของลูกหนี้เฉพาะราย

สถานการณ์หนี้โดยรวมของไตรมาส 2Q67 ถือว่ามียอดไหลเข้า มากกว่าการไหลออก จากผลของเศรษฐกิจที่อ่อนแอที่เติบโตได้ต่ำกว่า 2% มา 4 ไตรมาสติดต่อกัน และดัชนีชี้วัดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศ เป็นประเด็นทำให้มี NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้นมากใน 2Q67 และเริ่มมีการกระจายตัวมากขึ้นที่ไม่เกิดขึ้นเฉพาะสินเชื่อบุคคล แต่รวมถึงสินเชื่อธุรกิจเล็กไปสู่ธุรกิจขนาดกลางมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อค้างชำระ 1-3 เดือน (ยังไม่เป็น NPL) ของสินเชื่อภาคอุตสาหกรรมมา 3 ไตรมาส เป็นความเสี่ยงกับสินเชื่อกลุ่มนี้ซึ่ง BBL มีสัดส่วนนี้มากที่สุด ในขณะที่เนื่องจากจะมีการขาย NPLตามฤดูกาล และ เพื่อจัดการหนี้เสียออกจากงบดุลในไตรมาสสุดท้ายของปี จะเป็นแรงกดดันต่อการตั้งสำรองโดยเฉพาะ KBANK SCB มี ของ KKP และ TISCO

Risks

NPLs เพิ่มขึ้น และ ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, มาร์จิ้นลดม รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการ
ลงทุน

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...