'เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์' ชี้อุตสาหกรรมหนังไทยเข้าสู่ 'ยุคทอง' โตแรงสุดรอบ 30 ปี

ส่องสัญญาณภาคธุรกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ต้องเผชิญคลื่นความท้าทายหลายด้าน ทำให้หลายเช็คเตอร์อยู่ในช่วงชะลอตัว ยกเว้นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หรือธุรกิจหนังในประเทศไทย จากผู้ผลิตในประเทศ กำลังเข้าสู่ช่วงขาขึ้น สร้างการเติบโตอย่างมากในตลาดประเทศไทยและตลาดทั่วโลก

นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากการประเมินธุรกิจหนังในประเทศตลอดปี 2567 กลับมาคึกคัก อย่างมาก โดยเฉพาะหนังไทย ที่อยู่ในช่วงขาขึ้น สะท้อนจากหนังไทย กลับมาเติบโตสูงสุดในรอบ 30 ปี พร้อมได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าในประเทศและต่างประเทศในหลายเรื่อง 

สัดส่วนรายได้จากหนังไทยแซงหน้าฮอลลีวูด อยู่ที่ 60%

ภาพรวมในปี 2567 ทำให้ภาพรวมธุรกิจหนังในประเทศ มีสัดส่วนรายได้ มาจาก ผู้ผลิตหนังจากไทยประมาณ 60 % แล้ว และอีก 40% มาจากหนังฮอลลีวู้ด แตกต่างจากที่ช่วงอดีตผ่านมา หนังไทย สามารถสร้างรายได้ในสัดส่วนเพียง 15% ส่วนฮอลลีวู้ด ครองสัดส่วนรายได้มากถึง 85% มายาวนาน

สำหรับหนังไทยที่สามารถสร้างรายได้สูงในช่วงที่ผ่านมา มีทั้ง "สัปเหร่อ" สามารถรายได้รวมสูงกว่า 700 ล้านบาท รวมถึง ธี่หยด รายได้รวมประมาณ  500 ล้านบาท มาจากในประเทศ 400 ล้านบาท และทำรายได้จากต่างประเทศอีกกว่า 100 ล้านบาท 

 

 

วิชา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป 

หลานม่า มีฐานแฟนทั่วโลก

รวมถึง "หลานม่า" สร้างรายได้รวมเฉียด 1,200 ล้านบาท มาจากในประเทศไทย กว่า 339 ล้านบาท และสร้างรายได้จากต่างประเทศกว่า 800 ล้านบาท สะท้อนภาพผู้ผลิตไทยและคอนเทนต์ของไทยที่ได้รับการตอบรับที่ดี รวมถึงการมีฐานกลุ่มแฟนๆ ที่ไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทยแต่มีในทั่วโลก อีกทั้งนักแสดงนำในเรื่องอย่าง บิวกิ้น "พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล" เป็นนักแสดงไทยที่โด่งดังมาก มีฐานแฟนจำนวนมากทั้งในไทยและต่างประเทศ

ส่วนหนังไทยอีกเรื่องที่สร้างรายได้สูงมากในช่วงที่ผ่านมา คือ เรื่อง 4 Kings 

ทั้งหมดสะท้อนต่อภาพรวมหนังไทย ทำให้สามารถสร้างรายได้แซงหนังดังจาก ฮอลลีวู้ดฟอร์มยักษ์ อย่างเช่น แอดเวนเจอร์ ที่เข้ามาฉายในประเทศไทยได้แล้ว 

“ตลอดที่ได้อยู่ในวงการโรงหนังมาทั้งชีวิต ได้เห็นหนังฮอลลีวู้ดครองตลาดในประเทศไทยมาต่อเนื่อง แต่ในปัจุบันเป็นครั้งแรกที่หนังไทย สร้างรายได้สูงมากกว่า และเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบ 30 ปี เป็นสิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นมาก่อน ”

ปัจจัยหลักสร้างหนังไทยสำเร็จ คอนเทนต์ต้องโดดเด่น

ปัจจัยที่ทำให้หนังไทยเติบโต มาจาก ผู้ผลิตไทยที่มีศักยภาพสร้างสรรค์คอนเทนต์ต่างๆ ที่ดีมาก ยกตัวอย่าง สัปเหล่อ ที่มีการลงทุนในจำนวนไม่มาก แต่สามารถสร้างผลตอบรับที่ดีจากกลุ่มผู้ชม ทำให้รายได้และผลกำไรอยู่ในระดับสูง  อีกทั้งตลาดอาเซียนทั้ง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มีการนำหนังไทยไปฉายจำนวนมาก

“หนังไทยมีการเติบโตสูงในช่วงโควิดที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีหนังจากฮอลลีวู้ดเข้ามา ทำให้ได้รับความสนใจจากคนในประเทศ โดยปีที่แล้วทุกค่ายสร้างผลกำไรทั้งหมด ทำให้ปีนี้คอนเทนต์มีเยอะ ต่อเนื่องจนถึงปีหน้า 2568 ที่จะมีจำนวนมากขึ้น”

อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินภาพรวมอุตสาหกรรมหนังในประเทศไทย ครึ่งปีหลังมีโอกาสที่สดใสต่อเนื่อง และมีโอกาสขยายตัวมากกว่าครึ่งปีแรก จากผู้ผลิตใหญ่หลายราย มีแผนผลิตหนังออกมาสู่ตลาด โดยบริษัทที่มีความร่วมมือกับ ช่อง 3 ผลิตหนัง ทั้งเรื่อง มานะแมน และ ธี่หยด 2 เป็นต้น 

นอกจากนี้ ผู้ผลิตไทยหลายรายต่างมีแผนผลิตหนังออกมาลงจอ ทั้งจีดีเอช มีแผนผลิตหนังใหม่ เข้ามาอีกประมาณ 5 เรื่อง ส่วนค่ายอื่นๆ มีแผนผลิตประมาณ 3 เรื่อง เป็นต้น ทำให้ประเมินว่าในปีต่อไป  2568 จะมีหนังไทยเข้ามาสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน 

เศรษฐกิจไม่กระทบฐานแฟนๆ ที่ชื่นชอบดูหนังในโรง

สำหรับความกังวลเรื่องภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมนั้น ไม่มีผลกระทบต่อการรับชมหนังในประเทศไทย ซึ่งการรับชมหนังมีค่าตั๋วที่ไม่แพง เริ่มต้นที่ประมาณ 100 กว่าบาท และความเป็นบันเทิงที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้สะดวก จึงได้รับความสนใจที่ดีจากกลุ่มคนรุ่นใหม่

“อุตสาหกรรมหนังไม่ค่อยเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ หากผู้ผลิตสร้างคอนเทนต์ที่ดี จะเป็นแม่เหล็ก ดึงดูดคนจำนวนมากอยางไปดูอย่างแน่นอน" 

เมเจอร์ฯ ลุยเพิ่ม 40 จอใหม่ ต่างจังหวัดโตแรง

อย่างไรก็ตามแผนของบริษัทในปี 2567 นอกจาการผลิตหนังแล้ว ยังเดินหน้าขยายจอโรงหนังใหม่ในปีนี้รวมประมาณ 40 จอ สอดรับกับตลาดในประเทศ โดยเน้นพื้นที่ในต่างจังหวัดที่มีการขยายตัวดี ส่วนต่างประเทศอยู่ระหว่างพิจารณาขยายเพิ่มเติม โดยในตลาดกัมพูชาได้เข้าไปขยายโรงหนังเมเจอร์ ฯ จำนวนมากแล้ว 

ทั้งนี้ภาพรวมของบริษัทในปี 2567 มีธุรกิจที่เติบโตดี โดยมีรายได้จากทั้ง หนัง การขายตั๋ว และรายได้จากการขายโฆษณา ที่มีทิศทางบวกต่อเนื่อง สวนทางกับธุรกิจอื่นๆ ในประเทศ 

อย่างไรก็ตาม หากมองภาพรวมเศรษฐกิจไทย มองว่า กลุ่มบนยังไปได้อยู่ และที่ผ่านมา ผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะในกลุ่มบน ได้ผ่านหลายช่วงวิกฤต จึงสามารถปรับตัวได้ตลอดและมีหนี้ในระดับที่ไม่สูง

แต่กลุ่มที่ค่อนข้างน่าห่วงคือ กลุ่มกลางและล่าง ดังนั้น แนวทางการออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ควรเน้นเจาะไปที่กลุ่มกลางและล่างจะดีที่สุด เพราะภาครัฐมีงบประมาณที่จำกัด เปรียบเสมือนการใช้นโยบายกระตุ้นตรงกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...