‘เศรษฐกิจไทย’ กระทบแค่ไหน? เมื่อภาคอสังหาฯ ฟุบ ยอดขาย-ผลิตรถยนต์ ไม่ฟื้น!

สภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันหลายฝ่ายยอมรับว่าเข้าขั้น "วิกฤติ" ประชาชน เผชิญปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง และซ้ำเติมด้วยค่าครองชีพสูง ธุรกิจเอสเอ็มอีเจอกับวิกฤติขาดสภาพคล่อง เข้าไม่ถึงสินเชื่อ ขณะที่ธุรกิจขนาดกลาง รวมไปถึงประชาชนชนคนชั้นกลางเริ่มได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะงักงัน กำลังซื้อที่ลดลงอย่างมากของประชาชนส่งผลมายังภาคการผลิตทำให้สถิติปิดโรงงานในปีนี้ในช่วง 5 เดือนแรกตามข้อมูลของสมาคมธนาคารไทยรวบรวมไว้สูงกว่า 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566

ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาส่งผลกระทบมายัง “สินค้าคงทน” 2 เซกเตอร์ใหญ่ที่เป็นอีกตัวชี้วัดเศรษฐกิจ คือ อสังหาริมทรัพย์ และรถยนต์ ที่ประสบผลยอดขายลดลง ทั้งสองส่วนนี้ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยมากเนื่องจากมีซัพพลายเชนที่ยาวมีความเกี่ยวข้องกับหลายธุรกิจ

อสังหาฯยอดขาดหด 32%

ในส่วนของภาคอสังหาริมทรัพย์สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยระบุว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์เริ่มทรุดตัวลงในช่วงปลายปี 2566 และยิ่งเห็นชัดในปี 2567 โดยข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ระบุว่ายอดขายลดลงประมาณ 32% สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างชัดเจน

รถยนต์ยอดขายดิ่ง 33.87%

ขณะที่ในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์เปิดเผยจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม มีทั้งสิ้น 126,161 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 16.19% จากการผลิตรถกระบะขายในประเทศ ที่ลดลงถึง 54.66% ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากยอดขายที่เดือนพฤษภาคมขายได้ 14,832 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนถึง 33.87%

จ่อปรับเป้าการผลิตรถยนต์

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์อยู่ระหว่างปรับเป้าหมายการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปีนี้ลดลงจากเดิมโดยเฉพาะการปรับเป้าหมายยอดขายในประเทศตลอดทั้งปีเหลือ 700,000 คัน จากเป้าหมายเดิม 750,000 คัน หรือ ลดลง 50,000 คัน       

ขณะที่เป้าหมายการส่งออกตั้งไว้ 1,150,000 คัน ยังมั่นใจว่าจะสามารถส่งออกได้ตามแผนที่กำหนดไว้ ทำให้ทั้งปี กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์คาดว่าจะผลิตรวม 1,850,000 คัน จากเดิมตั้งเป้าหมายการผลิต 1,900,000 คัน

 กกร.ห่วง 2 ธุรกิจหลักฉุดจีดีพีไทย

สำหรับผลกระทบของสองธุรกิจที่เป็นเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)บอกว่าเศรษฐกิจไทยมีความอ่อนไหวต่อภาคอสังหาฯและยานยนต์ค่อนข้างมาก โดยสะท้อนจาก ข้อมูลรายได้ของผู้ประกอบธุรกิจอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน และทุกๆการหดตัวของรายได้ของธุรกิจอสังหาฯ 1% มีโอกาสทำให้จีดีพีภาคบริการหดตัว 0.07%

โดยสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยระบุว่าภาคอสังหาริมทรัพย์มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และหากรวมธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องด้วยแล้ว จะมีมูลค่าสูงถึง 5.2% ของ GDP ซึ่งในช่วงปี 2565-2566 ถือเป็นจุดสูงสุดมูลค่าของอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่าสูงถึง 1.1 ล้านล้านบาท

ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์นั้นพบว่าปริมาณการผลิตรถยนต์และจีดีพีมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันค่อนข้างมาก และทุกๆการหดตัวของปริมาณการผลิตรถยนต์ 1% มีโอกาสทำให้จีดีพีการผลิตหดตัว 0.14% โดยเห็นสัญญาณการชะลอตัวจากการปิดโรงงานสะสมสูงถึง 567 แห่งในช่วง 5 เดือนแรกของปี2566 ถึง 2 เท่า

ความเสี่ยงกดดันจีดีพีอีก 0.4% 

กกร.ประเมินว่าการที่ภาคอสังหาฯและรถยนต์ยังไม่ฟื้นตัวจะทำให้ความเสี่ยง (Downside risk) ของอุตสาหกรรมอสังหาและรถยนต์ อาจจะฉุดจีดีพีปีนี้ให้ลง 0.3-0.4% ต่ำกว่าการประเมินได้

ยอดปิดโรงงานทำเลิกจ้างงานเพิ่ม 3 เท่า

สำหรับข้อมูลวิกฤติปิดตัวของโรงงานที่กระทบกับการจ้างงานล่าสุด ข้อมูลของ กกร. เปิดเผยว่าการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมล่าสุดในโตรมาส 1/2567 เพิ่งพื้นดีกว่าช่วงก่อนการแพระบาดเพื่องเล็กน้อย การฟื้นตัวที่ล่าช้าเมื่อเทียบกับสาขาอื่นๆสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นอุปสรรคต่อการปตัวและความสามามารถในการแข่งชั้น อีกทั้งยังกดต้นผู้ประกอบการบางส่วนให้ยกเล็กการผลิต

โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 มีโรงงานปิดตัวสูงขึ้น 2 เท่า ขณะที่การเลิกจ้างพุ่งขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรมที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจไทยมีลัดส่วนเป็น 27.1% ของ GDP และ 17.4% ของกำลังแรงงานทั้งหมด สัญญาณปิดตัวดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...