'เอส เอฟ' ปั้นค่ายหนัง ‘ใจ สตูดิโอ’ ประเดิมร่วมทุน ‘จีดีเอช’ สร้าง ‘วิมานหนาม’

ปัจจุบันการเติบโตของ “เอส เอฟ ซีเนม่า” ภายใต้บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) กลายเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดโรงภาพยนตร์ที่ขับเคี่ยวกับผู้นำตลาดได้อย่างดี และสร้างรายได้ระดับ 3,000 ล้านบาท

ล่าสุด เอฟ เอสฯ ต่อยอดความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์ ขยายสู่การปลุกปั้นค่ายหนังภายใต้ชื่อ “ใจ สตูดิโอ”(JAI STUDIOS) พร้อมประเดิมร่วมทุนกับพันธมิตรอย่าง “จีดีเอช ห้าห้าเก้า” เพื่อสร้างภาพยนตร์เรื่องแรกอย่าง “วิมานหนาม” ที่ได้ 2 นักแสดงแม่เหล็กอย่าง “เจฟ ซาเตอร์” และ อิงฟ้า วราหะ ร่วมงาน

พิมสิริ ทองร่มโพธิ์ กรรมการผู้จัดการ ใจ สตูดิโอ เปิดเผยว่า เอส เอฟ อยู่ในวงการภาพยนตร์มาอย่างยาวนาน เห็นภาพยนตร์หรือหนังที่เข้าฉาย การทำงานของคนเบื้องหน้าเบื้องหลัง รวมถึงได้ดูแลลูกค้า จนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจทั้งคนทำหนังและคนดูหนังมาโดยตลอด

ที่ผ่านมา มีเอส เอฟ ถูกตั้งคำถามเสมอว่าเมื่อไหร่จะสร้างค่ายหนัง เนื่องจากบริษัทอยู่ในส่วนของโรงภาพยนตร์ที่สนับสนุนหนังไทยมาตลอด และเชื่อในศักยภาพของหนังไทย ซึ่งเมื่อรอให้ทุกอย่างลงตัว จึงเดินหน้าปลุกปั้นค่ายหนัง “ใจ สตูดิโอ” เพื่อสร้างสรรค์ผลงานหนังไทยตอบโจทย์คนดู คอหนังต่างๆ

“วันนี้เมื่อทุกอย่างลงตัว เราจึงพร้อมและเต็มไปด้วยพลังที่ต้องการเติมคอนเทนต์ให้วงการภาพยนตร์ไทย ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้วงการภาพยนตร์ไทยแข็งแรงมากขึ้น เพราะอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยยังเติบโตได้อีกมาก และเราเชื่อว่า คนรอดูหนังไทยที่มีคุณภาพ ไม่จำกัดว่าแนวไหน แต่ถ้าเป็นหนังที่ดี ตอบโจทย์คนดู คนก็พร้อมสนับสนุนแน่นอน จึงต้องการปลุกปั้นให้ JAI STUDIOS เป็นค่ายหนังที่สนับสนุนหนังที่คนทำอยากทำ และเป็นหนังที่คนดูอยากดู”

สำหรับชื่อ JAI STUDIOS เป็นการนำตัวอักษรแรกของคำ 3 คำ คือ JOYFUL AUTHENTIC และ INSPIRED ที่แสดงถึงความฝัน ความทุ่มเท และความเป็นตัวตนของคนทำหนัง ขณะที่ “ใจ” เป็นคำภาษาไทยที่ตรงไปตรงมา มีความหมายที่ดี เหมือนคาแร็กเตอร์ของเอส เอฟ ที่ “ใจใจ” สอดคล้องกับแนวคิดของค่าย JAI STUDIOS เป็นที่ที่คนมีฝันมาทำงานร่วมกัน ได้สร้างผลงานดีๆ ออกมาให้คนดู

อย่างไรก็ตาม JAI STUDIOS ยังเดินหน้าสร้างภาพยนตร์เรื่องแรก “วิมานหนาม” โดยหนังเรื่องดังกล่าวเป็นการ “ร่วมทุน” กับ “จีดีเอช ห้าห้าเก้า” และจะเข้าฉายในวันที่ 22 สิงหาคมนี้

รายงานข่าวระบุว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมหนังปี 2567 คาดการณ์แตะระดับ 4,000 ล้านบาท จากปี 2566 มูลค่าอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท โดยหนังไทยมีบทบาทและชิงส่วนแบ่งตลาดได้มากขึ้น เมื่อเทียบกับหนังต่างประเทศ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...