'หวยเกษียณ' ตอบโจทย์สังคมสูงวัย? เพียงพอแค่ไหน ออมเงินสูงสุดได้ 1.6 ล้านบาท

ประเทศไทยปัจจุบันเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าภายในปี 2567  ประเทศไทยจะมีจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 14.6 ล้านคน แต่การออมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยยังถือว่าเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย 

ข้อมูลจากงานวิจัย “การจัดการทรัพย์สินทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุไทย” พบว่า คนแก่ที่มีการออมที่ไม่เพียงพอ มีถึง 47%และ มากกว่า 40% มีรายได้หรือทรัพย์สินไม่เพียงพอในการดำรงชีพหลังเกษียณ

นอกจากนั้น 1 ใน 3 ของคนแก่เป็น “ผู้มีรายได้น้อย” หรือ “คนจน”  และมากกว่า 40%มีเงินเก็บน้อยกว่า 50,000 บาท และมากกว่าครึ่ง ยังมีรายจ่ายเพื่อดูแลลูกหลานหรือญาติ ขณะเดียวกันผู้สูงอายุกว่า 52.88% ยังคงมีภาระหนี้สินที่ต้องจ่าย” การสร้างการออมสำหรับรับสังคมผู้สูงอายุจึงเป็นมาตรการที่สำคัญ 

มาตราการส่งเสริมการออมทรัพย์ของกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อรองรับการเกษียณผ่านโครงการสลากสะสมทรัพย์เพื่อเงินออมยามเกษียณ หรือ “หวยเกษียณ” เป็นโครงการใหม่ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 16 ก.ค.ให้ความเห็นชอบ โดยมีวัตถุประสงค์คือการให้ประชาชนออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณผ่านการซื้อหวยเกษียณ โดยผู้ที่มีสิทธิ์ออมเงินในระยะแรกจะเป็นแรงงานนอกระบบประมาณ 20 ล้านคน สมาชิกของ กอช. และผู้ประกันตนมาตรา 40 แต่ละคนสามารถซื้อสลากได้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อเดือน และเงินส่วนที่ซื้อสลากจะกลายเป็นเงินออมที่จะได้รับเมื่ออายุ 60 ปี

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าการออมเงินในหวยเกษียณตามนโยบายของรัฐบาลมีหลักเกณฑ์ว่าแต่ละคนสามารถซื้อได้ไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท  โดยจำนวนเงินที่ชื้อสลากจะถูกเก็บเป็นเงินสะสมเฉพาะบุคคล โดยจะได้รับเงินที่ซื่อ

สลากคืนทั้งหมดในรูปแบบเงินบำเหน็จเมื่ออายุครบ 60  ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ รัฐบาลจะไม่สมทบเงินให้กับผู้ชื้อสลากและไม่รับประกันผลตอบแทบแทนจากการซื้อสลาก

ทั้งนี้การออมเงินในหวยเกษียณนั้นคนที่ออมเงินมีโอกาสที่จะออมเงินได้สูงสุดถึง 1.62 ล้านบาท ในกรณีที่มีการออมเงินตั้งแต่อายุ 16 – 60 ปี โดยซื้อสลากเดือนละ 3,000 บาทเท่ากันทุกเดือนซึ่งกรณีนี้เป็นการออมเงินได้สูงสุด สำหรับคนที่ออมเงินผ่านหวยเกษียณตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปจะได้เงินออมเป็นขั้นบันไดและรับคืนเป็นเงินบำเหน็จเมื่ออายุ 60 ปี ดังนี้

  • ช่วงอายุ 54 – 60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 5 ปี เงินบำเหน็จที่รัฐบาลจะจ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี  180,000 บาท
  • ช่วงอายุ 50 – 60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 10 ปี เงินบำเหน็จที่รัฐบาลจะจ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี  360,000 บาท
  • ช่วงอายุ 45 – 60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 15 ปี เงินบำเหน็จที่รัฐบาลจะจ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี  540,000บาท
  • ช่วงอายุ 40 – 60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 20 ปี เงินบำเหน็จที่รัฐบาลจะจ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี  720,000บาท
  • ช่วงอายุ 35 – 60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 25 ปี เงินบำเหน็จที่รัฐบาลจะจ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี  900,000 บาท
  • ช่วงอายุ 30 -60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 30 ปี เงินบำเหน็จที่รัฐบาลจะจ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี  1,080,000 บาท
  • ช่วงอายุ 25 – 60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 35 ปี เงินบำเหน็จที่รัฐบาลจะจ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี  1,260,000 บาท
  • ช่วงอายุ 20 -60 ปี จำนวนปีที่ซื้อสลาก 40 ปี เงินบำเหน็จที่รัฐบาลจะจ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี  1,440,000 บาท
  • ช่วงอายุ 15 – 60 ปี  จำนวนปีที่ซื้อสลาก 45 ปี เงินบำเหน็จที่รัฐบาลจะจ่ายคืนเมื่อครบอายุ 60 ปี  1,620,000 บาท

ออมในหวยเกษียณอย่างเดียวยังไม่พอ              

แม้ว่าหวยเกษียณจะเป็นช่องทางการออมที่รัฐบาลสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนให้สามารถมีเงินออมหลักล้านได้หากซื้อหวยเกษียณเพื่อออมและลุ้นโชคเดือนละ 3,000 บาท หากมีระยะเวลาในการออมเงินตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โดยคนที่ออมตั้งแต่อายุยังน้อยก็มีโอกาสมากกว่า อย่างไรก็ตามการออมเงินได้ตามจำนวนดังกล่าวยังไม่ เพียงพอสำหรับที่จะใช้ในวันเกษียณ

ก่อนหน้านี้ นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)  หรือ “สภาพัฒน์”  เคยกล่าวในการเผยแพร่รายงานพิเศษเรื่อง ‘หลักประกันรายได้ของผู้สูงอายุ : เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น’ โดยระบุว่าไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Completely Aged Society) ในปี 2566 และสังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) ในปี 2576 หรือ 12 ปีข้างหน้า

ต้องมี 2.8 - 4 ล้านบาทรองรับวัยเกษียณ

แต่การออมในผู้สูงอายุยังไม่เพียงพอต่อการสร้างความมั่นคงในชีวิต จากการศึกษาพบว่าเงินออมที่พึงมีหลังจากอายุ 60 ปีไปแล้ว ผู้อยู่อาศัยในเขตเมือง ต้องมีเงินออมอย่างน้อย 4 ล้านบาท เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ต่อไปหลังเกษียณ ส่วนในชนบท ต้องมีเงินออมประมาณ 2.8 ล้านบาท

แต่ระบบบำนาญของเรา จะพบว่าคนที่มีรายได้เพียงพอหลังเกษียณไปแล้วอยู่ในระดับไม่ค่อยดีนัก และหากเราไม่ทำอะไรเลย ในอนาคตจะมีคน 14 ล้านคน ที่จะอยู่ได้หรือมีรายได้จากเบี้ยผู้สูงอายุเท่านั้น จึงต้องทำให้คนกลุ่มนี้เข้าสู่ระบบการออมมากขึ้น

"สภาพัฒน์"แนะรัฐ 2 ประเด็นเพิ่มการออม

1.การส่งเสริมการออมเพื่อสร้างหลักประกันรายได้ให้กับผู้สูงอายุโดยการสร้างการรับรู้และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงหลักประกันให้สะดวกและรวดเร็ว ทั้งการสมัครและการขอรับสิทธิประโยชน์และทบทวนฐานเงินเดือนสูงสุดในการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมและปรับอัตราการออมเพื่อให้แรงงานสามารถออมได้มากขึ้น ขณะที่ภาคประชาชนสามารถเตรียมความพร้อมโดยการเก็บออมได้อีกทางหนึ่งด้วย

2.การเพิ่มรายได้โดยส่งเสริมการมีรายได้หลังเกษียณและความรู้ทางการเงิน การประกอบอาชีพตามความสามารถของผู้สูงวัย และเพิ่มความรู้ในการบริหารจัดการการเงิน (Financial literacy)

จะเห็นได้ว่าแม้จะมีหวยเกษียณมาเป็นตัวเลือกในการออม แต่สำหรับคนที่วางแผนเกษียณนั้นไม่สามารถจะฝากชีวิตหลังเกษียณไว้ที่นโยยบายนี้เพียงอย่างเดียวได้เพราะยังไม่เพียงพอที่จะใช้ในวัยเกษียณแต่ต้องวางแผนการออม และการลงทุนที่เหมาะสมเพื่อให้ผลตอบแทนที่เพียงพอที่จะใช้ในวัยเกษียณ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...