เคล็ด (ไม่) ลับ

การฝึกด้วยแรงต้านทาน (Resistance Training) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการช่วยพัฒนาสร้างเสริมทักษะการเล่นกีฬาให้กับนักกีฬาทุกประเภท อาทิ การกระโดด การวิ่ง การตี การเตะ การทุ่ม การขว้าง ในช่วงวัยเด็กและวัยรุ่น

เนื่องจากความยืดหยุ่นของระบบประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Plasticity) ซึ่งเป็นความสามารถในการทำงานของสมอง มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตลอดชีวิต และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้นของเด็ก จึงถือว่าเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างเสริมสมรรถภาพกล้ามเนื้อ และกระตุ้นการพัฒนาระบบประสาทกล้ามเนื้อ (Neuromuscular System) หรือสมองให้กับเด็กและเยาวชนตั้งแต่อายุยังน้อย

การสร้างเสริมสมรรถภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เริ่มตั้งแต่วัยเด็กและเยาวชน จึงเป็นการออกกำลังกายที่มีคุณค่าและความสำคัญ ไม่เพียงแต่สร้างเสริมสุขภาพทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยพัฒนาโครงสร้างร่างกายและทักษะกลไกการเคลื่อนไหว ที่สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นความสามารถทางกีฬา

การที่มีการเตรียมความพร้อมด้านสมรรถภาพทางกายให้กับเด็กหรือนักกีฬาอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นระบบเท่ากับเป็นการสร้างความแข็งแรงสำรอง (Strength Reserve) ซึ่งเป็นทรัพยากรประเภทพิเศษ ที่สามารถใช้หรือไม่ใช้ เพื่อเอาชนะความท้าทายทางด้านร่างกาย การขาดความแข็งแรงสำรอง ถือว่าเป็นจุดอ่อนหรือช่องโหว่ ที่อาจขัดขวางความสามารถของเด็กในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย หรือเอาชนะเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์

ด้วยเหตุนี้ การฝึกความแข็งแรงด้วยแรงต้านทาน จึงเท่ากับเป็นการสร้างเงื่อนไขในการเพิ่มพูนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย (Motor Skill) และความสามารถทางกีฬา (Sport Performance) ให้กับเด็กและเยาวชนมากขึ้นในเวลาต่อมา

รวมทั้งช่วยลดและป้องกันความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย หรือโรคที่สามารถป้องกันได้จากการออกกำลังกายด้วยแรงต้านทาน (Resistance Exercise) ที่ให้ผลต่อสุขภาพ และความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเกินความคาดหมาย ด้วยการวางแผนและออกแบบโปรแกรมการฝึกซ้อมและออกกำลังกาย โดยผู้ฝึกสอนกีฬา และนักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีความรู้ความสามารถ และมีประสบการณ์เชี่ยวชาญ

ท่านทราบหรือไม่ว่า “...การฝึกด้วยแรงต้านทาน เป็นองค์ประกอบสำคัญของการป้องกันการบาดเจ็บสำหรับนักกีฬาอายุน้อย และนักกีฬาทั่วไป...” และ “...จิตใจที่แจ่มใส จะอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์...”

ศ.เจริญ กระบวนรัตน์

*******

ศ.เจริญ กระบวนรัตน์ หัวหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา “เอสซีจี แบดมินตัน อะคาเดมี” ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Charoen Krabuanrat ในเรื่องนี้เอาไว้ ซึ่งน่าสนใจทีเดียว

ถือว่าการฝึกด้วยแรงต้านทาน เป็นการเพิ่มพูนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวร่างกาย และความสามารถทางกีฬาให้กับเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี

รวมทั้งยังช่วยลด และป้องกันความเสี่ยงจากการบาดเจ็บได้อีกทางด้วย

สนใจนำไปใช้กันต่อได้ เพราะมีแต่ประโยชน์

เป็นเคล็ดที่ไม่ลับแต่อย่างใด...

ฟ้าคำราม

อ่าน "คอลัมน์หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ" ทั้งหมดที่นี่

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...