“ไซยาไนด์” วัตถุอันตรายชนิดที่ 3 พิษแบบฉับพลันรุนแรง

ไซยาไนด์ (Cyanide) สารเคมีอันตรายที่ออกฤทธิ์ได้อย่างรวดเร็ว มีความเป็นพิษสูงมาก มักพบในรูปของสารประกอบโลหะอัลคาไลด์ที่เป็นของแข็งสีขาว และสารประกอบโลหะหนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเซลล์จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ไซยาไนด์  (Cyanide)  ที่ควรรู้จักมี 2

  • เกลือไซยาไนด์ ซึ่งเป็นโซเดียมไซยาไนด์ หรือ โปรแตสเซียมไซยาไนด์ มักนิยมใช้ในอุตสาหกรรมชุบโลหะด้วยไฟฟ้า การสกัดแร่ทองและเงิน ผลิตสีย้อม สารกำจัดแมลง หากสัมผัสนานๆ รวมถึงเป็นอันตรายถึงชีวิตหากกลืนกิน สัมผัส หรือสูดดมเข้าไป

Shutterstock/RHJPhtotos
ไซยาไนด์

  • ก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ จึงถูกใช้ในการประหารนักโทษระหว่างสงคราม อย่างไรก็ตามถ้าพูดถึงประโยชน์ก็มี เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตไนล่อน โดยเฉพาะยาฆ่าแมลง ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน และมักจะมีการใช้อย่างขาดความระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัย นอกจากนั้นยังใช้เพื่อสังเคราะห์สารเคมีอื่น ๆ ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ขณะที่ในเหมืองทองมีการใช้ไซยาไนด์ในกระบวนการสกัดทอง เป็นต้น

เกลือไซยาไนด์ละลายน้ำได้ดี ส่วนก๊าซนั้นก็ละลายในน้ำได้ดีเช่นกัน ไวต่อปฏิกิริยากับตัวออกซิไดซ์ อาจระเบิดได้เมื่อถูกความร้อนหรือเปลวไฟ สำหรับชื่ออื่นของก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ ที่ใช้เรียกกันก็มี กรดไฮโดรไซยาไนด์ และ กรด ปรัสซิก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม โซเดียมไซยาไนด์ หรือ โปรแตสเซียมไซยาไนด์ จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อันตรายจาก ไซยาไนด์ Cyanide

ภาวะพิษไซยาไนด์ (cyanide poisoning) ที่เกิดจากการสูดดม หรือรับประทานสารละลายของไซยาไนด์ อาการเป็นพิษจะปรากฏให้เห็นในเวลาเป็นนาทีหรือภายใน 1 ชั่วโมงเป็นอย่างช้าหลังได้รับสารพิษ ผู้ป่วยจะหมดสติหรือชัก และตามมาด้วยภาวะช็อคและเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

อาการเบื้องต้น

  • ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสอย่างผิวหนังหรือดวงตา
  • ร่างกายอ่อนแรง
  • เวียนศีรษะ คลื่นไส้
  • หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น

โดยความรุนแรงของอาการนั้นอาจขึ้นอยู่กับชนิดของ Cyanide ปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับ

ด้าน รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ หรือ อาจารย์อ๊อด อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Weerachai Phutdhawong ระบุว่า ไซยาไนด์หาง่ายมากยาเบื่อหนูนั่นเอง 

ใครโดนเข้าไปเหมือนขาดอากาศหายใจ กลไกการเกิดพิษของสารกลุ่มไซยาไนด์นั้น เกิดจากไปจับกับ Cellular Cytochrome Oxidase ทำให้เซลล์ใช้ออกซิเจนไม่ได้ (ยับยั้งการหายใจของเซลล์) ขัดขวางไม่ให้ขบวนการ electrontransport ทำงานได้ตามปกติ เซลล์ของ ร่างกายจึงอยู่ในสภาพของ anoxia และเกิดภาวะ lactic acidosis ในที่สุด สมองเป็นอวัยวะที่ทนต่อภาวะ anoxia ได้น้อยที่สุด ผู้ป่วยจึงมักมีอาการทางสมองเช่น ชัก หมดสติ มีการหายใจผิดปกติเนื่องจาก มีการกดศูนย์ควบ คุม การหายใจ แต่ผู้ป่วยไม่เขียว (cyanosis) ในช่วงแรก ๆ ถึงแม้ว่าจะหยุดหายใจเนื่องจากร่างกาย ไม่สามารถใช้ออกซิเจน ได้

ในทางการแพทย์สามารถยืนยันการวินิจฉัย โดยการตรวจ Fundi จะพบว่ามีสีของเส้นเลือดดำและแดงใน retina ไม่แตกต่างกัน สำหรับใน chronic cyanide poisoning มักจะเป็นแบบ hypoxic encephalopathy อาจจะแสดงออก ในลักษณะ neuropsychiatry ส่วนเส้นประสาทสมองเส้นที่ 2 (optic nerve) มักจะมีรายงานถึงพิษจาก cyanide เป็นแบบ optic nerve atrophy

ไซยาไนด์เป็นสารเคมีอันตราย หากสัมผัสกับสารชนิดนี้ควรรีบลดปริมาณสารดังกล่าวให้ได้มากที่สุด หากร่างกายสัมผัสกับ ผิวให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และนำออกจากลำตัว โดยวิธีนี้จะช่วยให้เสื้อผ้าที่ปนเปื้อน ไซยาไนด์ ไม่ไปสัมผัสกับผิวหนังส่วนอื่น เช่น ศีรษะ ทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษให้ได้มากที่สุด ก่อนรีบนำส่งโรงพยาบาล หากมีการสูดดมและรับประทาน ในกรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือวิธีผายปอดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับพิษก่อนนำตัวส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมอนามัย,โรงพยาบาลรามาธิบดี และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 

  • วิดีโอยอดนิยม
  • เรื่องที่คุณอาจพลาด
02:56

อิหร่านมีแผนสังหาร "ทรัมป์"ก่อนเหตุลอบยิงในเพนซิลเวเนีย | ทันโลก EXPRESS | 17 ก.ค. 6...

26:51

Exclusive Talk | กลยุทธ์ "ดินเนอร์พรรคร่วม" ตัวเปลี่ยนเกม "ทักษิณ - เพื่อไทย" ? | คุย...

04:59

เปิดประวัติ "สุขุมพงศ์" อ.ที่ปรึกษาหมอเกศ | เข้มข่าวค่ำ | 16 ก.ค. 67

01:56

รถบัสตกเหวในเปรูเสียชีวิต 23 คน | ทันโลก EXPRESS | 17 ก.ค. 67

06:26

แฉคลิปเสียง สว. ยศ พล.ต.ต. ขู่สั่งย้าย ตร.หญิง | เข้มข่าวค่ำ | 16 ก.ค. 67

03:24

คปภ.เปิดแนวทางเยียวยาลูกค้า "สินมั่นคง" | เที่ยงทันข่าว | 17 ก.ค. 67

โพลชี้แฟนกีฬามอง เทควันโด โอกาสคว้าเหรียญโอลิมปิกให้ทัพไทยมากที่สุด

แอมเนสตี้ ชวนจับตา 20 ปี "คดีตากใบ" ก่อนหมดอายุความ 25 ต.ค. นี้

รถบัสตกเหวในเปรู เสียชีวิต 23 ราย บาดเจ็บอีกเพียบ

เปิดประวัติ "เจ.ดี. แวนซ์" สว.หนุ่ม จากศัตรูสู่คู่หูชิง รอง ปธน.สหรัฐ

เอฟเอ เล็งรายชื่อกุนซือแทน หาก เซาธ์เกต ลาออกคุมทีมชาติอังกฤษ

เลื่อนโครงการ “ปุ๋ยคนละครึ่ง” เหตุไม่ทันต่อความต้องการของชาวนาในปีนี้

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...