ขี้โมโห หดหู่ง่าย สัญญาณโรคซึมเศร้า เป็นนานเกิน 2 สัปดาห์รีบพบแพทย์

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบบ่อยมาก แต่คนส่วนหนึ่งเข้าใจว่าผู้ป่วยกำลังคิดมากไปเอง และมักปลอบใจด้วยคำพูดแค่ว่า “อย่าคิดมาก” ซึ่งนั่นไม่ได้มีผลช่วยให้อารมณ์เศร้าดีขึ้นแต่อย่างใด เนื่องจากอาการเศร้านั้นจะเป็นมากจนเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง (Neurotransmitter) เพราะฉะนั้นจึงควรเข้ารับการรักษา ซึ่งจะมีการให้ยาต้านอารมณ์เศร้าโดยจิตแพทย์

Freepik/freepik
ซึมเศร้า

ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า

  • ความเครียดหรือภาวะกดดันในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความเจ็บป่วย หรือการสูญเสีย สอบตก อกหัก การนอกใจ ฯลฯ แต่ก็พบได้มากที่ผู้ป่วยเกิดโรคซึมเศร้าได้เอง โดยไม่มีเรื่องกระทบจิตใจแต่อย่างใด

สัญญาณเตือนที่หากนานเกิน 2 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์

อารมณ์

  • ไม่สดชื่น ไม่เบิกบาน หมดสนุก
  • หดหู่ เศร้าหมอง เบื่อหน่าย ท้อแท้ชีวิต
  • หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย อ่อนไหวต่อคำพูด

ความคิด 

  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความจำแย่ลง
  • มองโลกในแง่ร้าย ไม่มีสิ่งดีๆ ในตนเอง ขาดความมั่นใจในตนเอง
  • รู้สึกว่าตัวเองผิด (อย่างไม่สมเหตุสมผล) รู้สึกตัวเองไร้คุณค่า
  • คิดอยากทำร้ายตนเอง หรือไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป

อาการทางกาย

  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เคลื่อนไหวเชื่องช้า
  • ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อต่าง ๆ
  • หลับยาก หลับไม่สนิท หลับแล้วตื่นกลางดึก (นอนต่อไม่หลับ)
  • ไม่สนใจทำกิจกรรมที่เคยชอบ ขาดความกระตือรือร้น

โรคซึมเศร้าไม่ใช่เพียงแค่อารมณ์เศร้าที่เกิดจาก “ปัญหาในการปรับตัว” ต่อความเครียดเท่านั้น ภาวะเศร้ามักค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ มีปัญหาบกพร่องในการทำงาน รวมถึงความสัมพันธ์กับคนรอบข้างควรคิดถึง “โรคซึมเศร้า”

ปัจจุบันการรักษาโรคซึมเศร้าได้ผลดีมาก โดยการใช้ยาต้านอารมณ์เศร้า (Antidepressants) ซึ่งมีหลายชนิด เราพบว่าผู้ป่วยแต่ละรายมักได้ผลยาแต่ละชนิดแตกต่างกัน ซึ่งแพทย์จะเริ่มต้นให้ยาในขนาดน้อย ๆ แล้วพิจารณาปรับเพิ่มขนาดยาจนถึงระดับที่ออกฤทธิ์ได้ผล ซึ่งมักใช้ระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ หากไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาเปลี่ยนยา เพราะฉะนั้นผู้ป่วยควรรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

นอกจากการกินยาแล้ว จิตแพทย์จะให้การบำบัดด้วยการ “ปรับความคิด-เปลี่ยนพฤติกรรม” (Cognitive-Behavioral Therapy) เพื่อให้ผู้ป่วยมีมุมมองทางบวกต่อตนเองและโลกภายนอก เห็นทางออกของปัญหา และตระหนักถึงศักยภาพของตนเองในการเผชิญเรื่องท้าทายของชีวิต รวมทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างความรื่นรมย์และความเบิกบานให้แก่ชีวิต

ในกรณีที่อารมณ์เศร้าเป็นรุนแรงมาก เช่น มีความเสี่ยงสูงที่จะทำร้ายตนเอง หรือมีอาการโรคจิตร่วมด้วย ระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน จิตแพทย์จะรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมีญาติดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรหยุดยาเองเพราะอาจทำให้อาการเศร้ากำเริบได้ แพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยกินยา (ในขนาดต่ำที่สุด) อย่างต่อเนื่องเป็นปีจนสามารถหยุดยาได้ในที่สุด

คำแนะนำวิธีใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วยซึมเศร้า

  • รับฟัง เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยระบายความทุกข์ใจ เข้าใจและยอมรับโดยไม่มีการตอกย้ำซ้ำเติม
  • ชักจูงให้ผู้ป่วยร่วมกิจกรรมที่สนุกสนานหรือท่องเที่ยวสถานที่ธรรมชาติ
  • ดูแลให้ผู้ป่วยกินยาตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ
  • รายงานแพทย์ทันที หากพบว่าผู้ป่วยมีความคิดอยากทำร้ายตนเอง

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2

  • วิดีโอยอดนิยม
  • เรื่องที่คุณอาจพลาด
02:30

รัสเซียเตือนสหรัฐฯอย่าล้ำเส้นส่งขีปนาวุธพิสัยไกลให้ยูเครน | ทันโลก EXPRESS | 5 ก.ย. 6...

11:18

ปธ.มูลนิธิสืบฯ ข้องใจ “เฉลิมชัย” เคยถือครองที่ดิน ภ.บ.ท.5 | เข้มข่าวค่ำ | 4 ก.ย. 67

39:35

Exclusive Talk | วิเคราะห์โฉมหน้ารายบุคคล ทำนายอายุขัย ครม.อิ๊งค์ 1 | คุยข้ามช็อต

02:04

อดีตผู้ช่วยผู้ว่าฯ นิวยอร์ก ถูกตั้งข้อหาเป็นสายลับให้รัฐบาลจีน | ทันโลก DAILY | 4 ก.ย...

02:23

นักแม่นปืนตุรกีจด "เครื่องหมายการค้า" ท่ายิงสุดไวรัล | ทันโลก DAILY | 4 ก.ย. 67

08:31

เขื่อนพัง! ชาวบ้านหวั่น น้ำทะลักเข้าท่วมบ้าน | โชว์ข่าวเช้านี้ | 5 ก.ย. 67

คุก 18 เดือนแก๊งชายชุดดำ บุกวัดบางคลาน ทำร้ายพระ

พงศกร-อธิวัฒน์ คว้าเพิ่ม 2 เหรียญเงิน ให้ทัพพาราไทย จากวีลแชร์เรซซิ่ง

“เอลตัน จอห์น” เผยตา 1 ข้างมีปัญหา หลังติดเชื้อรุนแรง

"วันชัย" ชนะญี่ปุ่น การันตีเหรียญทองแดงปิงปองพาราลิมปิก 2024

ฟีฟ่า เผย ช่วงซัมเมอร์ 2024 มีนักเตะย้ายระหว่างประเทศสูงสุดตลอดกาล

สหรัฐฯ เสนออิสราเอลถอนทหารจากเส้นทางฟิลาเดลฟีบางส่วน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...