มองสเปน แล้วย้อนมามองไทย...โดย กล้า ปีนเกลียว

ฟุตบอล ยูโร 2024 จบไป โดยนอกจากเรื่อง “แชมป์ของสเปน” แล้ว ประเด็นที่ทุกคนกล่าวขวัญถึงสำหรับการแข่งขันครั้งนี้นั่นคือ ความมหัศจรรย์ ของ ลามีน ยามาล ไอ้หนูวัย 17 ปี ที่เรียกได้ว่า โด่งดังไม่แพ้ การคว้าแชมป์สมัยที่ 4 ของทีมกระทิงดุ

เรียกได้ว่า ตำนานฟุตบอลอย่าง เมสซี ในโคปา อเมริกา กับ โรนัลโด ในรายการเดียวกัน ชิดซ้ายหลบไปเลยดีกว่า

แน่นอนว่า ชาวไทยก็จะมีการนำเรื่องราวของบ้านเขามาเปรียบกับบ้านเราในสตอรี่นี้ และสามารถโยงไปได้ว่า ครั้งหนึ่งทีม ยู 12 ทีมชาติไทยเจอกับสเปนที่มี ไอ้หนู ยามาล โดยที่ทีมชาติไทยเอาชนะเสียด้วยในฟุตบอล โตโยต้า จูเนียร์ ซ็อคเกอร์ เวิลด์ ชาเลนจ์ 2019 มีคลิปภาพการแข่งขันเรียบร้อย

โดยคำถามที่ทุกคนถาม คอมเมนท์ภายใต้ข่าวดังกล่าวเป็นส่วนใหญ่ ก็คือ เด็กๆ ไทยเก่ง แต่พอโตมาแล้ว ทำไมไม่เก่ง

ซึ่งก็มีผู้รู้บ้าง ไม่รู้บ้าง อธิบายกันไป เนื่องจากมันก็มีมากมายหลายสาเหตุ แต่สาเหตุใหญ่ที่ผู้คนมักจะมองไปในทิศทางเดียวกันนั่นก็คือเรื่องของ ระเบียบวินัย ของเด็กไทยที่มีแตกต่างกับประเทศอื่นๆที่เป็นชาติประสบความสำเร็จ ตั้งแต่ประเทศในยุโรป มาจนถึง ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ยังห่างกันหลายขุม
ที่กล่าวมาก็ไม่ผิด

แต่จะว่าไป ในต่างประเทศที่กล่าวมาทั้งหมดเหล่านี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาเหล่านั้นที่ประสบความสำเร็จในระดับเยาวชน แต่ตอนโตแล้วจะไปได้ต่อ เหมือน ลามีน ยามัล กันทุกคน เพราะไอ้ที่ ไม่ได้ไปต่อ ก็มีไม่น้อยเช่นกัน เพียงแต่บ้านเรามันเยอะกว่า

โดยหากจะรวมเป็นข้อๆ นั้น ผมสามารถหาคำตอบไปได้หลายประการ ไม่ได้แค่จบแค่เรื่อง วินัย หรือ อุปนิสัย เพียงอย่างเดียว สามารถรวบรวมมาได้เป็นข้อๆดังนี้

1.ระเบียบวินัย ความตั้งใจทุ่มเท ที่มีไม่พอที่จะทำให้การพัฒนาต่อยอดไปจนถึงจุดหมายได้สำเร็จ

2. รายได้ ความมั่นคง ไม่เพียงพอ ต่อแรงจูงใจในการสานต่อในระบบอาชีพ

3.ระบบการจัดการแข่งขันภายในประเทศที่ไม่ช่วยให้นักเตะได้มีการพัฒนาการได้ดี

4.ระบบการพัฒนาขององค์กรเช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย ศูนย์ฝึก สโมสร ขาดคุณภาพ และมีจำนวนน้อยเกินไป

5.ผู้ฝึกสอนที่มีคุณภาพ สามารถถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ และช่วยเหลือสนับสนุน นักกีฬาไปสู่ความสำเร็จ มีจำนวนน้อย

6.ระบบการศึกษาที่ไม่สอดคล้องกับนักกีฬา

7.งบประมาณ หรือรายจ่าย ในการฝึกฝน

นี่คือ คร่าวๆที่พอจะรวบรวมได้ สำหรับคำตอบว่า เหตุใดที่ นักเตะเยาวชนของไทยมากที่มีพรสวรรค์ มากความสามารถ และมีจำนวนมาก แต่ไม่สามารถก้าวไปสู่จุดสุดยอดในการเป็น นักฟุตบอล ที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่จะสะดุดไปกับข้อใดข้อหนึ่ง หรืออาจจะหลายข้อ ทำให้ไม่สามารถไปถึงดวงดาว

อย่างไรก็ดี เชื่อว่า หลายคนก็อาจจะเห็นต่างและเห็นแย้งว่า จริงๆแล้ว บ้านเราได้มีระบบการจัดการทุกอย่างดังกล่าวแล้ว ไม่ถึงกับเป็นทางตันสำหรับนักกีฬาที่มีพรสวรรค์และความสามารถ

ทางรัฐ อาจจะเป็น กกท . กรมพลศึกษา โรงเรียน มหาวิทยาลัย อะคาเดมี่ สโมสร สมาคมฯ อาจจะแย้งว่า ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีทางเลือกให้กับนักกีฬา และสามารถให้การสนับสนุบสนุน เช่น โรงเรียนกีฬา ที่ให้โอกาสและส่งเสริมกีฬาจริงจัง อะคาเดมี่ต่างๆที่พร้อมให้ทุนนักเตะที่มีพรสวรรค์

โครงการสปอร์ตฮีโร่ของรัฐ การสนับสนุนสู่ความเป็นเลิศ ของทั้งกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ และการกีฬาแห่งประเทศไทย โครงการนักกีฬาช้างเผือกของ โรงเรียน และมหาวิทยาลัย เป็นต้น

ซึ่งหากเราตอบคำถามด้วยการมองในแง่ของการสนับสนุนภาคส่วนดังกล่าวเช่นนั้น เหมือนนั่งดูกระดาษ และมองมาจากหอคอยงาช้าง ไม่เข้าใจบริบทโลกแห่งความเป็นจริงว่า การไปสู่จุดนั้น ที่ต้องใช้ระยะเวลาการเดินทางฝึกฝนและแข่งขัน ล้วนเป็นอุปสรรค

ซึ่งทั้งหมดนั้น ก็ต้องย้อนกลับไปดู ข้อ 1 2 3 4 และข้ออื่นๆ ที่สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้ ไม่ได้ไปต่อได้ทุกประการหากขาดข้อใดข้อหนึ่งไป อาทิเช่น อาการบาดเจ็บของนักกีฬาที่เกิดขึ้นได้บ่อย

สาเหตุที่มาจาก นักกีฬากรำศึกหนักเกินไป มีการแข่งขันตลอดเวลา นักกีฬายิ่งเก่งยิ่งถูกใช้งาน จากทั้ง โรงเรียน อะคาเดมี่ สโมสร หน่วยงานองค์กร ที่ต้องการสำเร็จเพื่อนำไปใช้วัดค่ามาตรฐานชี้วัดความสำเร็จ หรือ เคพีไอ

2.ระบบการแข่งขันที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้นักกีฬาต้องเล่นกลางแดดมีสภาพอากาศร้อนเกินไป สนามที่คุณภาพแย่ ผู้ตัดสินที่ไม่ได้มาตรฐาน อาหารโภชนาการแย่ การเดินทางแย่ โปรแกรมไม่สอดคล้อง เตะถี่ เตะชนหลายรายการ เหล่านี้ก็เป็นปัจจัย ทำให้บาดเจ็บ

3.ยิ่งอยากเก่งมาก ยิ่งต้องใช้งบประมาณมาก อยากเก่งต้องจ้างโค้ชดี ไปสนามดีๆ อุปกรณ์ดีๆ การรักษาอาการบาดเจ็บดีๆ ไปแข่งขัน ฝึกฝนต่างประเทศต้องใช้ทุน ภาครัฐก็มีขั้นตอนต่างๆที่เป็นอุปสรรค และล่าช้า

ทั้งหมดนี่แค่ยกตัวอย่างมาให้เห็นว่า เหตุใด นักฟุตบอลไทย จึงไม่ได้ไปต่อ ซึ่งไม่ไช่จะไปมองมุมต่างๆมุมเดียว แต่มีหลากหลายแง่มุม ที่เป็นสาเหตุได้ทั้งหมด

สุดท้ายแล้ว หากฟุตบอลไทยจะไปบอลโลก อยากมี ลามีน ยามาล อย่างเขา ก็ต้องแก้ปัญหาทั้งหมด หรือ อย่างน้อย แก้ให้ได้สักครึ่ง

เอาแค่ว่า จัดระเบีบบการวัด เคพีไอหรือดรรชนีชี้วัดความสำเร็จ ให้ถูก ทั้งโรงเรียน มหาวิทยาลัย องค์กร สมาคมฯ สโมสร ก่อนอันดับแรก ไม่ไช่แต่จะตั้งเป้าจะให้พาทีมคว้าแชมป์ รองแชมป์อย่างเดียว
โค้ชจึงตั้งหน้าตั้งตาส่งแข่ง ใช้เด็กอย่างไม่เหมาะสม ทั้งไม่เปิดโอกาสให้คนอื่น ตัวสำรองที่รอโอกาส

ให้มีการจัดการแข่งขันให้เหมาะสมสอดคล้องกันทั้งหมด รายการไหนแข่งช่วงไหน เมื่อไร อันไหนควรส่งไม่ควรส่ง ลดการใช้งานเยาวชนอย่างหนัก

จัดสรรงบประมาณ สนับสนุนช่วยเหลือที่เหมาะสม ไม่ล่าช้า สนามแข่งขัน อุปกรณ์ ให้มีคุณภาพ เพิ่มจำนวนทั้งสถาบันกีฬาต่างๆ บุคลากรอาทิ ผู้ฝึกสอน นักกายภาพ นักโภชนาการ ฯลฯ

แล้วปิดท้าย ค่อยไป เคี่ยวขัน กวดขัน นักกีฬาให้มีระเบียบวินัย จิตวิญญาณ
นั่นก็พอจะมีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

ไม่ไช่เอะอะ บอกนักเตะไม่ตั้งใจ นิสัย ไม่ดีเพียงอย่างเดียว

.............................

กล้า ปีนเกลียว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...