ดีอี ดึง Big Data -AI เชื่อมข้อมูลสุขภาพ ช่วยผู้ป่วยเข้ารับบริการได้ทั่วถึง
วันที่ส่ง: 13/07/2024 - ผู้เขียน: กรุงเทพธุรกิจ
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) แถลงความคืบหน้าโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพระหว่างสถานพยาบาลทั่วประเทศ (Health Information Exchange: Health Link) ว่า ดีอี ได้เดินหน้าทำงานร่วมกับกรุงเทพมหานคร และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
เพื่อผลักดันการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ Health Link เข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ นำไปสู่การพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอย่างยั่งยืน มุ่งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้ารับบริการสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและปลอดภัย
โดยปัจจุบัน Health Link ได้ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพให้กับหน่วยบริการสาธารณสุขเกือบ 500 แห่ง แบ่งเป็นภาครัฐ 50% และภาคเอกชน 50% ทั้งนี้ ในส่วนภาคเอกชนเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่ประกอบด้วย คลินิกและร้านยาคุณภาพ ที่ขึ้นทะเบียนกับ สปสช. สามารถเข้ารับบริการดูแลเจ็บป่วยเล็กน้อย 16 กลุ่มอาการ (Common Illnesses) ได้อย่างสะดวก ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล สามารถเข้ารับบริการจากหน่วยบริการใกล้บ้าน โดยได้มีการนำร่องแล้วในพื้นที่กทม. และจังหวัดนครราชสีมา
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับ สปสช. ในการนำเทคโนโลยี Big Data และปัญญาประดิษฐ์ AI มาวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อส่งเสริมสุขภาพประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพในการเบิกจ่าย โดยเป้าหมายในอนาคตของกระทรวงดีอี มีความตั้งใจที่จะขยายการเชื่อมโยงไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และหน่วยบริการในท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการมากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วในการรักษา ลดความซ้ำซ้อนในการเบิกจ่ายยา และช่วยเหลือชีวิตของผู้ป่วยได้ทันท่วงที ยกระดับระบบสาธารณสุขไทยได้อย่างยั่งยืน
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ จากความสำเร็จของโครงการ Health Link ในวันนี้ กระทรวงดีอีพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของ BDI และภาคีเครือข่าย โดยจะผลักดันการพัฒนาแพลตฟอร์มบูรณาการข้อมูลเข้าสู่แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติ นำไปสู่แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลอย่างยั่งยืน
ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (BDI) กล่าวว่า BDI ได้ดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้เป็นต้นแบบการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทุกระดับตั้งแต่ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิ พร้อมขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ ปัจจุบันมีสถานพยาบาลเข้าร่วมโครงการ Health Link เกือบ 500 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วย โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สังกัดกระทรวงกลาโหม โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลเอกชน คลินิกชุมชนอบอุ่น และร้านยาคุณภาพ
นอกจากนี้ BDI ยังได้มีการพัฒนาระบบให้ความยินยอมรายครั้งด้วยรหัส OTP ในพื้นที่ กทม. สำหรับประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนให้สามารถเข้าถึงบริการได้ โดยระบบ OTP ที่ทาง BDI นำมาใช้จะมีความปลอดภัย ประชาชนต้องอยู่ที่จุดบริการสาธารณสุขเท่านั้น รวมทั้งได้ร่วมมือกับ สปสช. จัดทำแดชบอร์ดตรวจสุขภาพเพื่อประกอบการวางนโยบายสาธารณสุข เสริมศักยภาพหน่วยบริการในการให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเตรียมขยายการเชื่อมโยงข้อมูลไปยังผู้ให้บริการทางการแพทย์ (Medical Providers) วิชาชีพอื่น ๆ ได้แก่ ทันตกรรม เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด และแพทย์แผนไทย ให้ครอบคลุมการบริการสุขภาพในพื้นที่ กทม. ภายในปลายปีนี้ เพื่อรองรับนโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่
คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ
สื่อเผยจีนอัดงบกว่า 10 ล้านล้านหยวน มาจริงสัปดาห์หน้าพร้อมเลือกตั้งสหรัฐ
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานอ้างแหล่งข่าววงใน 2 รายที่เกี่ยวข้องว่า รัฐบาลจีนกำลังพิจารณาอนุมัติวงเงินกร...
สภาทองคำโลก เผย ดีมานด์ ทองคำโลก ทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์ เป็นครั้งแรกในไตรมาส 3
สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า ความต้องการทองคำทั่วโลก (ทองคำโลก) ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่...
'ข้าวหมูเด้ง' ชวนซื้อข้าว ช่วยชาวนาประสบภัยน้ำท่วมกว่า 300 ครัวเรือน
อุตสาหกรรมข้าวไทยในช่วงปี 2023-2024 เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน แต่ยังคงแสดงถึงความสำคัญทางเศรษฐก...
ถึงว่าเดือดดาลขั้นสุด เผยเม็ดเงินก้อนโตที่ "วินิซิอุส" อดได้ หลังชวดคว้า "บัลลงดอร์ 2024"
ถึงว่าเดือดดาลขั้นสุด เผยเม็ดเงินก้อนโตที่ "วินิซิอุส จูเนียร์" แข้งเลือดแซมบ้าของ "เรอัล มาดริด" อด...
ยอดวิว