‘สเปเชียลตี้คอฟฟี่’ โตแรง 20% สวนเศรษฐกิจซึม ยักษ์ใหญ่ชิงตลาด 6 หมื่นล้าน

โดยเป็นกาแฟ ที่มีการผลิตด้วยขั้นตอนแบบพรีเมียม ตั้งแต่การปลูกเมล็ดกาแฟ จนได้เมล็ดกาแฟ ที่มีรสชาติและกลิ่นพิเศษ เป็นเทรนด์ที่มาแรงสุด! ในประเทศไทย ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย ด้วยสนนราคาของสเปเชียลตี้คอฟฟี่ที่อยู่ในระดับอัปสเกลกว่ากาแฟทั่วไปจึงถือว่าสวนทาง

ณัฏฐ์รดา คุณะวิวัฒนานนท์ นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย กล่าวว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมกาแฟพิเศษ  หรือ สเปเชียลตี้คอฟฟี่ (Specialty Coffee) เติบโตสูงถึง 20% ในปีนี้ มากกว่าอุตสาหกรรมกาแฟในประเทศไทยมีการขยายตัวประมาณ 4% เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคให้ความสนใจดื่มกาแฟที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ

ขณะที่ผู้ประกอบการไทยสามารถพัฒนารสชาติใหม่ ที่มีความสร้างสรรค์ จึงกลายเป็นเอกลักษณ์และรสชาติเฉพาะของแต่ละร้าน ดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ และมัดใจรายเดิม

ทิศทางกาแฟแบบพิเศษมีการขยายตัวสูง สะท้อนได้จากแบรนด์ใหญ่ในตลาดมุ่งขยายสาขาใหม่ หรือทำมุมกาแฟพิเศษโดยเฉพาะ รวมถึงพฤติกรรมของกลุ่มนักดื่มกาแฟในประเทศไทยหันมาสนใจกาแฟที่มีรสชาติใหม่ ทำให้ตลาดรวมของกาแฟไทย มาจากกาแฟพิเศษเชิงมูลค่า สัดส่วน 20%  และเชิงปริมาณ สัดส่วน 10% โดยภาพรวมปริมาณมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจากช่วง 10 ปีก่อน มีสัดส่วนประมาณ 4%

จากเทรนด์ตลาดที่กำลังเติบโตและการสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการกาแฟไทย ผลักดันให้ประเทศไทยมีสถานะเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมกาแฟพิเศษในภูมิภาคอาเซียนในระยะยาว จากความได้เปรียบของผู้ประกอบการไทยที่มีการรวมกลุ่มที่แข็งแกร่ง มีต้นน้ำจากเกษตรกรที่เป็นผู้ผลิตกาแฟสายพันธุ์ต่างๆ สามารถปรับการปลูกและการผลิตได้ตามโจทย์ของผู้ผลิตในตลาด

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมอุตสาหกรรมขยายตัวสูงและมีการแข่งขันที่มากขึ้น มีปัจจัยที่ต้องติดตามคือ "ต้นทุนการนำเข้าเมล็ดกาแฟ ขยับราคาสูง" ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาแล้ว และยังได้ผลกระทบจาก "ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง" ทำให้ภาพรวมผู้ประกอบการมีต้นทุนขึ้นไปแล้ว 100% นับจากต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ต้องบริหารจัดการต้นทุน และบางส่วนต้องมีการปรับขึ้นราคาไปแล้วเช่นกัน

“อุตสาหกรรมกาแฟพิเศษ ประเมินว่าน่าจะขยายตัวได้ถึง 25% แต่เมื่อผู้ผลิตกาแฟและร้านกาแฟ ได้รับผลกระทบจากต้นทุนนำเข้าสินค้าที่อยู่ในระดับสูงมาก ทำให้ต้องปรับราคาก็ต้องให้สอดคล้องกับภาพรวมกำลังซื้อในประเทศไทยด้วย หากปรับราคาสูงมากไปก็จะทำให้ผู้บริโภคชะลอการเลือกซื้อสินค้าได้เช่นกัน แต่ก็ยังเติบโตระดับ 20%”

แนวโน้มกาแฟพิเศษไทยที่มาแรง ทำให้ผู้ผลิตกาแฟจากต่างประเทศ สนใจเข้ามาศึกษาตลาดในประเทศไทย สะท้อนจากเทศกาลกาแฟใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ “Thailand Coffee Fest 2024” โดยสมาคมกาแฟพิเศษไทย และพันธมิตรต่างๆ มีลูกค้าเข้าร่วมงานจำนวนมาก รวมทั้งประเทศใหม่ เช่น เปรู เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และปานามา 

อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมา มีแบรนด์กาแฟพิเศษของประเทศไทยที่สามารถขยายไปตลาดต่างประเทศได้สำเร็จกับ “แบรนด์อาข่า อ่ามา” เปิดสาขาในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเชื่อว่ายังจะมีแบรนด์ใหม่ๆ ร่วมสร้างหมุดหมายขยายแบรนด์กาแฟไทยสู่ตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...