มติสภาฉลุย 406 เสียง โหวตเห็นชอบกฎหมายยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559

ที่ประชุมสภา ลงมติในทิศทางเดียวกัน โหวต 406 เสียง ผ่านร่างกฎหมายยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร โดย นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2559 พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว มีสาระสำคัญคือการกำหนดให้มีสมาชิกสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ พ.ร.บ.ประกาศใช้ เพื่อคืนกลไกแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และกำหนดกระบวนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ 

นายจาตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญ้ติยกเลิกคำสั่ง คสช.ที่ 14/2559 เรื่อง สภาที่ปรึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร กล่าวว่า การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเพื่อยกเลิกคำสั่ง คสช.ฉบับนี้ จะเป็นการปูทางในการปลดล็อกคำสั่ง คสช. โดยสภาผู้แทนราษฎร เพราะถือเป็นคำสั่งแรกที่ดำเนินการโดยรัฐสภา และเป็นก้าวสำคัญในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ชายแดนภาคใต้ที่จะได้สภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลับคืนมา ซึ่งสภาที่ปรึกษาฯ นี้จะเป็นกลไกสำคัญที่ให้ประชาชนในพื้นที่มีสิทธิมีเสียงและมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการบริหารชายแดนใต้

...

ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมีความเห็นว่า เมื่อมีการยกเลิกคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2559 มีผลทำให้คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งดังกล่าวสิ้นสุดลง อีกทั้งยังมีผลทำให้บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีในส่วนที่อ้างถึงสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และประธานสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งถูกงดใช้บังคับโดยคำสั่งดังกล่าวกลับมามีผลใช้บังคับเช่นเดิม

ขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการได้เพิ่มบทบัญญัติขึ้นใหม่จำนวน 1 มาตรา เพื่อกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการแต่งตั้งสภาที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีความชัดเจน อีกทั้งคณะกรรมาธิการได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเหตุผลของ ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และมีข้อสังเกตเพื่อให้คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุง แก้ไข และเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 โดยให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบัน รวมทั้งให้ความสำคัญต่อกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

สำหรับการที่มีการแก้ไขเหตุผล หรือการมีข้อเสนอสำคัญหลายประการ มีสาเหตุจากการที่คณะกรรมาธิการได้ศึกษาผลกระทบของคำสั่ง คสช.ที่ 14/2559 ด้วยคำสั่งนี้ซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ 1 คำสั่งนี้ให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ไม่เชื่อมโยงกับประชาชน ขณะเดียวกันได้ระงับบทบาทและการใช้อำนาจหน้าที่ของสภาที่ปรึกษาซึ่งมีความเชื่อมโยงกับประชาชน ทำให้ประชาชนไม่มีช่องทางในการที่จะเชื่อมโยงกับการทำงานของ ศอ.บต. ได้อย่างที่เคย

ส่วนที่ 2 ของคำสั่งนี้ทำให้เกิดการจัดความสัมพันธ์ระหว่าง ศอ.บต. กับ กอ.รมน. พูดง่ายๆ คือให้ ศอ.บต. ต้องขึ้นต่อ กอ.รมน. ถ้า ศอ.บต. จะดำเนินการสิ่งใดจะต้องรับฟังคำสั่งของผู้อำนวยการ กอ.รมน. ซึ่งก็คือผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่สามารถชี้ขาดการบริหารจัดการและปฏิบัติหน้าที่ได้

ส่วนที่ 3 คือการกำหนดบทบาทของ กอ.รมน. มาทำหน้าที่ในการป้องกันภัยแทนฝ่ายพลเรือน

ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มา สาเหตุสำคัญ ที่คณะกรรมาธิการได้มีการแก้ไขเหตุผลของร่างพระราชบัญญัตินี้ และได้มีข้อเสนอที่สำคัญหลายประการ 

อย่างไรก็ตาม ภายหลังเปิดโอกาสให้ สส.ได้ร่วมอภิปราย ซึ่งอภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไปทางเดียวกัน จากนั้นประธานในที่ประชุมเข้าสู่การลงมติว่า ที่ประชุมจะเห็นด้วยกับคณะกรรมาธิการที่มีการเพิ่มมาตราขึ้นใหม่หรือไม่ โดยผลออกมาว่า เห็นชอบ 408 (เป็นการลงคะแนนด้วยการขาน 2 คะแนน) ไม่เห็นด้วย 0 งดออกเสียง 0 และไม่ลงคะแนนเสียง 2 

ต่อมาจึงถามมติที่ประชุมว่าจะเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 หรือไม่ ผลเป็นดังนี้ 

  • จำนวนผู้ลงมติ 407
  • เห็นด้วย 406
  • ไม่เห็นด้วย 0
  • งดออกเสียง 0
  • ไม่ลงคะแนนเสียง 1 

สรุปว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 เมษายน พุทธศักราช 2559 พ.ศ. .... พร้อมกันนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการในครั้งนี้ด้วยคะแนน 404 เสียง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...