'กัลฟ์' หนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แนะ รัฐเร่งทำความเข้าใจประชาชน

นายรัฐพล ชื่นสมจิตต์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สำหรับ (ร่าง) แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2567-2580 (PDP 2024) ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) โดยจะมีพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาความมั่นคง เพราะด้วยเทคโนโลยีเปลี่ยน ใช้พื้นที่เล็กลง ความปลอดภัยสูง ปลายแผนขนาดเบื้องต้นที่ 600 เมกะวัตต์นั้น สิ่งสำคัญคือการคุยกับชุมชนอย่างไรให้เข้าใจ 

อย่างไรก็ตาม หากภาครัฐจะลองทำพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก (SMR) เอกชนก็ไม่ขัดข้อง โดยภาครัฐอาจจะใช้วิธีการศึกษากรณีของต่างประเทศแล้วนำมาปรับใช้ในประเทศไทย ซึ่งเท่าที่เห็นส่วนมากจะเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ ส่วนขนาดเล็ก ๆ จะเป็นในรูปแบบของเทคโนโลยีนิวเคลียร์ที่ใช้ในเรือดำน้ำ ที่ใช้มานานกว่า 40 ปีแล้ว แต่ไม่ได้นำมาใช้ในรูปแบบของโรงไฟฟ้า 

"กัลฟ์ก็เห็นด้วยกับนโยบายภาครัฐที่จะให้มีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่จะต้องศึกษาอย่างจริงจังและเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชน" นายรัฐพล กล่าว

รายงานข่าวระบุว่า ประเทศไทย ได้มีแนวคิดเรื่องการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นานแล้ว จากปัจจัยที่ไทยไม่สามารถผลิตพลังงานได้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศรัฐบาลได้อนุมัติโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาด 600 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดชลบุรีเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1976 แต่ท้ายที่สุดจำเป็นต้องเลื่อนโครงการออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากถูกกระแสต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่

นอกจากนี้ จากการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติแห่งใหม่ในอ่าวไทย แม้ว่าเมื่อปี 1992 คณะรัฐมนตรี (ครม.) จะมีมติเห็นชอบต่อการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาด 1,000 เมกะวัตต์ จำนวน 2 แห่งภายในปี 2006 แต่แนวทางการดำเนินการยังคงไม่ชัดเจน รัฐบาลได้ตัดสินใจปรับเปลี่ยนนโยบายด้วยการนำเข้าพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้าน และสนับสนุนให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าพลังงานทางเลือกมากขึ้น

อย่างไรก็ดี วิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งล่าสุดช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 ทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องทบทวนโครงการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในไทยอีกวาระหนึ่งอย่างจริงจัง โดยได้กำหนดแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติ ปี 2011 – 2021 ครอบคลุมโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่มีกำลังผลิตรวมไม่ต่ำกว่า 4,000 เมกะวัตต์ โดยได้อนุมัติงบประมาณระหว่างปี 2008 – 2011 สำหรับเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วน

โดนได้เลือกสถานที่ก่อสร้าง/เทคโนโลยีการผลิต ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน และพัฒนาบุคลากรซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งงบประมาณ 240 ล้านบาทระหว่างปี 2008 – 2010 สำหรับเตรียมความพร้อมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ โดยเฉพาะการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาและการพัฒนาบุคลากร เลือกสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่มีความเป็นไปได้แล้วรวม 4 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานี นครสวรรค์ ขอนแก่น และตราด

ทั้งนี้ สิ่งที่ทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย แบ่งเป็นประเด็นหลัก ๆ คือ กระแสต่อต้านพลังงานนิวเคลียร์ของสังคม เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจและไม่มั่นใจในความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และเสถียรภาพทางการเมือง ทำให้รัฐบาลไม่สามารถกำหนดนโยบายด้านพลังงานของไทยไปในทิศทางที่ชัดเจนและขาดการต่อเนื่อง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...