ผิดไหม ที่ สว.มีสี? กรณีศึกษา สหรัฐ vs ไทย | กันต์ เอี่ยมอินทรา

เรากำลังจะได้สมาชิกวุฒิสภาใหม่ในเร็วๆนี้ แต่ก็มีคำวิจารณ์มากมาย

ตั้งแต่เรื่องของหลักคิดที่มาของสว. กติกากระบวนการการสรรหา หรือแม้กระทั่งตัวบุคคล หลังจากที่ได้ว่าที่ สว.แล้ว ที่บางคนดูจะสนิทชิดเชื้อกับฝ่ายการเมืองเป็นพิเศษไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของ (คนร่าง) รัฐธรรมนูญ

ประเทศประชาธิปไตยเต็มใบร้อยทั้งร้อย จะยึดถือหลักการอำนาจสูงสุดนั้นมาจากประชาชน ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นสส.หรือสว. หากที่มาของผู้แทนปวงชนเหล่านี้มีที่มาจากประชาชนผ่านการเลือกตั้ง ก็จะมีอำนาจ เช่น สว.ของสหรัฐ ที่มีอำนาจมาก ขณะที่ สว.ที่ไม่ได้มาจากประชาชน คือไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง ผ่านกระบวนการอะไรก็ตามที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชนแล้ว ก็จะมีอำนาจที่จำกัด เช่น สว.ของอังกฤษ

ตรงกันข้ามกับสองประเทศใหญ่ สว.ของไทยเรานั้น ทั้งรอบนี้และรอบก่อน ถือได้ว่าไม่ได้มีที่มาจากประชาชนโดยตรง คือไม่ได้ผ่านการเลือกตั้ง พูดได้ว่ามีความยึดโยงกับประชาชนน้อยมาก แต่กลับมีอำนาจมาก ซึ่งน่าแปลกประหลาดใจและไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของระบอบประชาธิปไตยที่ถือว่าอำนาจที่มาจากประชาชนนั้นคือ อำนาจที่สูงสุดของรัฐ

ถูกต้องและแน่นอนที่การจะนำแนวคิดทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจมาปรับใช้กับประเทศใดประเทศหนึ่ง จำต้องดูสภาวะแวดล้อมของประเทศนั้นๆ มิใช่ยกมาทั้งดุ้นโดยไม่ปรับอะไรเลย แต่การปรับใช้ควรดึงข้อดีและลดข้อเสีย มิใช่ในทางตรงกันข้าม อาทิ สว.ของอังกฤษที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง จึงมีหน้าที่เพียงเตือนสติหรือชะลอกฎหมายต่างๆ ที่เสนอโดยสส. แต่ไม่สามารถยับยั้งได้ ไม่ต้องพูดถึงการถอดถอนผู้แทนที่มาจากประชาชน อันนี้ยิ่งทำไม่ได้เลย

สว.สหรัฐนั้นชัดเจนว่า สามารถแสดงจุดยืนทางการเมืองหรือเป็นตัวแทนของพรรคการเมืองได้ เรียกได้ว่าชัดเจน ตรงไปตรงมา หรือจะไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองก็ได้ แต่ทั้งหมดก็จะถูกคัดกรองและเลือกโดยประชาชน ทำให้สว.สหรัฐนั้นมีอำนาจมาก เพราะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน เป็นตัวแทนของมลรัฐ จึงมีอำนาจสูง สามารถถอดถอน คอนเฟิร์มแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือแม้กระทั่งประธานาธิบดีได้

เพราะแนวคิดหลักปรัชญาพื้นฐานแล้ว มนุษย์ทุกคนคือสัตว์สังคม/สัตว์การเมือง เราอยู่ร่วมกันในสังคม ดังนั้นการมีความเห็นด้วยหรือเห็นต่าง การมีฝักฝ่ายจึงล้วนเป็นเรื่องธรรมชาติ มิใช่เรื่องผิดปกติผิดธรรมชาติแต่อย่างใด ดังนั้นการมีสว.ที่มีแนวคิดเห็นด้วยกับแนวทางใดหนึ่ง หรือแม้กระทั่งการสนับสนุนพรรคการเมืองใดหนึ่งนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่ารังเกียจ

และการที่มีสว.ฝักใฝ่พรรคการเมือง ก็ใช่ว่าจะสามารถบังคับให้สว.ในพรรคนั้นๆ เห็นด้วยกับพรรค หรือผู้นำของพรรคนั้นๆ เสมอไป อาทิ กรณีของการลงสมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีของโจ ไบเดน ที่เพิ่งจะมีการดีเบตผ่านไป ซึ่งนำมาสู่การตั้งคำถามถึงความสามารถทั้งทางกายภาพ และสติปัญญาอันเนื่องมาจากอายุที่มาก สว.หลายคนในพรรคเดโมเครตก็แสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการลงชิงชัยอีกสมัยของไบเดน

เพราะที่มาของ สว.นั้นมาจากการเลือกตั้ง (ที่บริสุทธิ์ยุติธรรม) ดังนั้นสว.จึงสามารถทำหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชน สะท้อนความคิดความรู้สึก และเป็นปากเสียงดูแลผลประโยชน์ให้กับประชาชนได้อย่างเต็มภาคภูมิ ไม่จำเป็นต้องพึ่งกำลังเงิน หรือคะแนนนิยมของพรรค (มากนัก) ในการเข้าสู่ตำแหน่ง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...