ทำยังไงไม่ต้องเสียวไส้ อดดูบอลโลก โอลิมปิก อีก

คนไทยโดยเฉพาะคอกีฬา ถือเป็นผู้ที่โชคดีจริงๆที่ได้เป็นคนไทย ซึ่งเรามักจะได้ติดตามชมมหกรรมกีฬาระดับโลกที่มีคุณภาพ ให้ชมกันมาทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นช่วงรุ่งโรจน์หรือรุ่งริ่ง ยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟูหรือฝืดเคือง ยุคร่มเย็นหรือยุคโรคระบาด ท้ายที่สุดเราก็มีอะไรดีๆในชีวิตให้ได้มีความสุขกับบางเรื่อง ซึ่งคราวนี้ก็คือ ยูโร 2024

ก็ไม่แค่ขอบคุณ ผู้สนับสนุนยุคปัจจุบันที่นำความสุขมาให้ ทั้งเอกชนอย่าง แอโร่ซอฟท์ที่มาแล้ว 2 สมัย รัฐบาลในยุคทหารหรือประชาธิปไตย ก็ถือว่าเราได้ดูมหกรรมกีฬาดีๆ ถ้าบอกว่าเต็มคาราเบล ก็ตั้งแต่ฟุตบอลโลกที่เม็กซิโก ปี 1986 เราก็ได้ดูกันทุกเกมทุกนัดจน มาราโดนา พาอาร์เจนตินาคว้าแชมป์โลก

และมาถึง สเปนชนะโครเอเชีย 3-0 ในยูโร ครั้งนี้ ก็เป็นเวลากว่า 40 ปี ที่เราได้ดูกีฬาดีๆทางฟรีทีวี

ท่ามกลางการแข่งขัน ลิขสิทธิ์กีฬาที่เชี่ยวกรากในยุคปัจจุบัน

กีฬาเติบโตเป็น สปอร์ตบิวซิเนส หรือธุรกิจกีฬา มูลค่ามหาศาล เมื่อโลกเติบโต ประเทศไทยก็เติบโตตาม ซึ่งในส่วนของธุรกิจแชนแนลกีฬา ก็ได้มีการก่อกำเนิดมาเป็นเปเปอร์วิว จ่ายค่าสมาชิกเพื่อดูอย่าง ไอบีซี ยูบีซี มาเป็น ทรูวิชั่น แล้วมามี เอไอเอส ก่อนจะมาเป็น แอพพลิเคชั่นต่างๆพัฒนากันขึ้นไปอีก เหมือนต่างประเทศ

ซึ่งธุรกิจแชนแนลกีฬา แม้จะต้องจ่ายเงินบ้าง ก็ต้องถือว่าดี เพราะถ้าไม่มีช่องทางเหล่านี้ ก็คาดว่า คงจะมีอีกหลายกีฬา ที่แฟนกีฬาจะไม่มีโอกาสได้ดู ได้ตามเชียร์ ทั้งนักกีฬาไทย หรือ ทีมกีฬาระดับโลกที่เราชื่นชอบ เพราะสปอนเซอร์ อย่าง แอโร่ซอฟท์ หรือ รัฐบาลไทย ก็คงจะตามไปจ่ายเงินให้ไม่ไหวเหมือนกันในทุกประเภทกีฬาซึ่งก็มีอีกมากมายที่เกิดขึ้นมาใหม่ และทำการจัดการแข่งขันกัน

เพียงแต่ว่า ในยุคหลังๆ ก็มักจะมีอาการจวนเจียน ที่สุดของที่สุด เส้นยาแดงผ่าแปด เกิดขึ้นบ่อยว่า คอกีฬาจะได้ดูหรือไม่ได้ดู โดยเฉพาะทางฟรีทีวี

และสำหรับรอบนี้ก็ถือว่าโชคดีไปอีก และคนไทยคงต้องขอภาวนาแบบนี้ ในทุกๆปี อยู่เหมือนกัน
อย่างไรก็ดี ท้ายที่สุดแล้ว ก็ต้องบอกให้คอกีฬาเตรียมตัวเตรียมใจ และทำใจกับ การถ่ายทอดสดกีฬา หรือ ชมกีฬา ทางฟรีทีวี ที่อาจจะไม่ได้ตอบสนองในวันข้างหน้าได้ตลอด

เพราะ ราคาค่าถ่ายทอดปัจจุบันมันไม่ไช่แค่หลักล้านสองล้าน แต่มันมักจะขยับไป 30 ล้าน 100 ล้าน ไล่เรียงไปตาม มูลค่าและความต้องการ

และ นักการตลาดนักขายระดับโลกนั้น ก็มักจะพยายามอัพราคาขายให้ได้มูลค่าที่พวกเขาต้องการ และใช้สถานการณ์ความต้องการของมวลชน เข้ากดดัน ผู้นำองค์กรของเรา อาทิเช่น รัฐบาลบ้าง การกีฬาแห่งประเทศไทยบ้าง สมาคมกีฬาฯบ้าง ผู้จัดการแข่งขันบ้าง ก็ว่ากันไป แต่ละเคส

ในอดีตก่อนหน้านี้ เรามีองค์กรหนึ่งที่ชื่อว่า โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ หรือ ทีวีพูล ซึ่งเป็นการรวมตัวของช่องทีวี 3 5 7 9 11 ช่องหลักของประเทศไทยก่อนยุค ดิจิทัลทีวี

ในอดีต การถ่ายทอดสดมหกรรมกีฬาใหญ่ๆก็จะทำผ่าน ทีวีพูล ซึ่งจะเจรจาธุรกิจและแบ่งสันปันส่วน แบ่งเค้กให้ลงตัว จะแบบเรียงช่อง ไล่ 3 ไป 11 ช่องละวัน หรือ เอาแบบควบสองช่องพร้อมกันไปเลยก็มี หรือจะถ่ายพร้อมกันแต่คนละกีฬาก็มีจุดดีก็คือ การซื้อลิขสิทธิ์ เมื่อมีการรวมตัวกันเพื่อไปต่อรอง จะทำให้ได้ของถูก

แต่จุดด้อยคือ การผูกขาดของกลุ่มทีวีพูล และเมื่อมีช่องอื่นๆกำเนินเกิดขึ้นมา มีแชนแนลอื่นๆเกิดขึ้นมามากมาย มีเศรษฐีใหม่ที่พร้อมจะจ่ายเพื่อฐานกลุ่มผู้ชมของตัวเองมันจึงไปต่อไม่ได้

แต่เหมือนกับว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยที่หมุนไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วแล้ว กลับมาลงที่จุดเริ่มต้นเดิม หรือจะเรียกว่า ฟองสบู่แตกก็ว่าได้ คือ ทุกช่องทาง ต่างเจอลิขสิทธิ์ราคาแพง มหาโหดจากผู้ขาย แล้วเกิดการแข่งขันในการซื้อขายกันสูง ไม่มีผู้แทนในการเจรจา ราคาก็ควบคุมไม่ได้
สุดท้าย แต่ละช่องเศรษฐีใหม่เก่า เบ้ปาก โบกมือบ้ายบาย เป็นแถว กลายเป็น จวนเจียนอย่างทุกวันนี้

ซึ่งคำถามที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็คือ อาจจะต้องถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่ทีวีพูล หรือ สื่อรวมการเฉพาะกิจกีฬาของไทย เอาทั้งดิจิทัลทีวีทุกช่อง เคเบิ้ล และแอพพลิเคชั่นทั้งหมดมารวมตัวกันเป็น 1 เดียว เหมือนเป็นกลุ่มสหกรณ์ เหมือนทีวีพูล แล้ววางปฎิทินกีฬาแล้วแบ่งสันปันส่วนแบ่งเค้กให้ลงตัว ให้ช่องกีฬา ที่มีฐานแฟนทุกช่องได้ลืมตาอ้าปากกันอีกครั้ง

ไม่ต้องหยิบยืมมือรัฐบาล หรือ ฮีโร่ ขี่ม้าขาว ให้มันวุ่นวายขายปลาช่อนอีก ทีนี้ โปรแกรมล่วงหน้าข้ามปี เราจะได้รู้กันแน่นอนเลยว่า งานนี้กูได้ดูแน่ๆล่ะ ทีวีก็ไปขายโฆษณาได้ เตรียมตัวทำงานประชาสัมพันธ์ต่างๆ ผู้ชมก็สบายใจรอสนับสนุนและติดตาม

งานนี้ รอผู้มีบารมี มาทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้อีกครั้ง หรือรัฐ โดยเฉพาะ กสทช. จะลงมือ ทำเอง ก็ไม่ปฎิเสธ ...

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...