ไทยติดอันดับ 4 เอเชีย!  ‘ชีวิตการทำงานดี’ ส่งผลดีต่อ ‘สุขภาพจิต‘

“มนุษย์เงินเดือน” ส่วนใหญ่ใช้เวลาตลอดทั้งวันไปกับการทำงานและที่ทำงาน ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่ “งาน”จะมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิตใจและสภาพชีวิตความเป็นอยู่ แม้ว่างานจะเพิ่มความเครียดในชีวิต แต่สำหรับบางคน ชีวิตการทำงานคือจุดมุ่งหมายของชีวิต 

ตามรายงาน State of the Global Workplace ประจำปี 2567 ของ Gallup World Poll สำรวจประชากรวันทำงานจากทั่วโลกในปี 2566 ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 160 ประเทศ  จากผู้เข้าร่วมการสำรวจมากกว่า 128,000 คน

พบว่าประชากร 34% ระบุว่าพวกเขา 'เจริญรุ่งเรือง' ในหน้าที่การงาน ในขณะที่ 58% บอกว่าพวกเขากำลัง 'ดิ้นรน'ในการทำงาน  และอีก 8% ยอมรับว่าพวกเขา 'ทุกข์ทรม' ในที่ทำงาน

งานดี=สุขภาพจิตดี

การศึกษาผลสำรวจอิงจากการประเมินชีวิตโดยรวม เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต โดยเน้นไปที่การประเมิน “สุขภาพจิต” และความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ผ่านประสบการณ์เชิงบวก เช่น การเจริญรุ่งเรืองและความสนุกสนาน รวมถึงประสบการณ์เชิงลบ เช่น ความเครียด ความโกรธ ความกังวล ความโศกเศร้า และความโดดเดี่ยวในที่ทำงาน

กลุ่มคนที่เติบโตได้ดีในที่ทำงานบอกว่า พวกเขามีปัญหาด้านสุขภาพน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงความกังวล ความเครียด ความโศกเศร้า ความโดดเดี่ยว ภาวะซึมเศร้า “น้อยลง” และการทำงานได้ทำให้พวกเขา มีความหวัง ความสุข พลังงาน มีแพชชั่นในการใช้ชีวิตมากขึ้น

10 อันดับ ประเทศที่มนุษย์เงินเดือนมีชีวิตการทำงาน ‘ดีที่สุด’ จากทั่วโลก

  1. ฟินแลนด์ :83%
  2. เดนมาร์ก :77%
  3. ไอซ์แลนด์ :76%
  4. เนเธอร์แลนด์ :71%
  5. สวีเดน :70%
  6. อิสราเอล :69%
  7. นอร์เวย์ :67%
  8. คอสตาริกา :62%
  9. เบลเยียม :60%
  10. ออสเตรเลีย :60%

10 อันดับ ประเทศที่มนุษย์เงินเดือนมีชีวิต ‘การทำงานที่ดี’ ที่สุดใน ‘เอเชีย’

  1. เวียดนาม: 51%
  2. ไต้หวัน: 41%
  3. สิงคโปร์: 39%
  4. ประเทศไทย: 37%
  5. ฟิลิปปินส์: 36%
  6. จีน: 36%
  7. เกาหลีใต้: 34%
  8. มาเลเซีย: 31%
  9. ญี่ปุ่น: 29%
  10. มองโกเลีย: 29%

ท็อป 10 อันดับแรก มี 7 ประเทศมาจากยุโรป สะท้อนเห็นว่า ยุโรปเป็นภูมิภาคที่มีพนักงานที่กำลังมองหาหรือพยายามหางานใหม่ “น้อยที่สุด” และมีอัตราส่วนของพนักงานที่ “มีประสบการณ์ความโศกเศร้าประจำวัน” น้อยเป็นอันดับสอง

ขณะเดียวกัน ยุโรปมีอัตราส่วน "พนักงานที่มีส่วนร่วม" หรือพนักงานที่ทุ่มเทให้กับองค์กรต่ำที่สุดในบรรดาภูมิภาคต่างๆ อยู่ที่ 13% เท่านั้น ซึ่งน่าแปลกใจเมื่อเทียบกับสวัสดิการแรงงานที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดของทวีปยุโรป

ในทางตรงกันข้าม สหรัฐอเมริกา มีสวัสดิการแรงงานที่ต่ำกว่า แต่กลับมี อัตราส่วนพนักงานที่มีส่วนร่วมสูงกว่า

‘ทำงานเพื่อใช้ชีวิต’ หรือ ‘ใช้ชีวิตเพื่อทำงาน’?

ชีวิตการทำงานของแต่ละคนมีมมุมมองที่ต่างกัน สำหรับคุณแล้ว ‘ทำงานเพื่อใช้ชีวิต’ หรือ ‘ใช้ชีวิตเพื่อทำงาน’ ? แต่นี่คือความแตกต่างที่น่าสนใจของ “วัฒนธรรมการทำงาน” ระหว่างยุโรปตะวันตก และสหรัฐ

ยุโรปตะวันตกมีวัฒนธรรม "ทำงานเพื่อใช้ชีวิต" ซึ่งหมายความว่า พนักงานให้ความสำคัญกับการมีสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัว ซึ่งมีวันลาและวันหยุดมากกว่าพนักงานในสหรัฐและมักจะ เลิกงานตรงเวลามากกว่า

ในทางตรงกันข้ามสหรัฐมีวัฒนธรรม "ใช้ชีวิตเพื่อทำงาน" ซึ่งหมายความว่า พนักงานมักจะทำงานหลายชั่วโมงและให้ความสำคัญกับงานมากกว่าชีวิต ส่วนตัว พวกเขามักจะมีวันลาและวันหยุดน้อยกว่าพนักงานในยุโรปและมักจะ ทำงานล่วงเวลามากกว่า

รายงานนี้สะท้อนว่า “นโยบายของรัฐบาล” ส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์เงินเดือนในประเทศ กล่าวคือประเทศที่มีกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ดี พนักงานจะมีสุขภาพทางอารมณ์ที่แข็งแรงที่สุด โดยกฎหมายคุ้มครองแรงงานเหล่านี้รวมถึง ค่าจ้างขั้นต่ำ วันลาป่วยและวันลาพักร้อนที่ได้รับค่าจ้าง 

แม้ว่าอิสราเอล จะติดอันดับ 6  เป็นประเทศที่มนุษย์เงินเดือนมีชีวิตการทำงานที่ดีที่สุด แต่กลับต้องเจอกับความเครียดในแต่ละวันมากที่สุดมากถึง 39% 

หัวหน้าดี องค์กรดี เป็นศรีแก่ชีวิตการทำงาน

คนที่มองว่างานที่กำลังทำอยู่ความหมายกับชีวิตและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานในที่ทำงาน มีแนวโน้มที่จะทำให้ชีวิตการทำงานมีความสุขมากกว่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่เชื่อมโยงกับความสำเร็จในชีวิตด้วย

รวมทั้งถ้า “หัวหน้า” ในที่ทำงานยิ่งทุ่มเทให้กับการทำงานมากเท่าไหร่ ลูกน้องหรือคนในองค์กรก็ยิ่งมีความกระตือรือร้นในการทำงานให้กับองค์กรมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ถ้าองค์กรสร้างหลักประกันที่แข็งแรง ด้วยการเลือกผู้นำที่เก่ง ก็จะยิ่งทำให้คนในองค์กรประสบความสำเร็จได้ทั้งในที่ทำงานและในชีวิต

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...