การเมืองไม่แน่นอน สั่นคลอนเศรษฐกิจไทย

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญตัวหนึ่ง ล่าสุดจากการสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน พ.ค. ต่ำสุดในรอบเจ็ดเดือน อยู่ที่ 60.5 จาก 62.1 ทั้งยังเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 สาเหตุหลักมาจากความกังวลสถานการณ์การเมืองไทยหลังจากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องของ 40ส.ว. เกี่ยวกับคุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี

หันไปดูสื่อต่างประเทศ สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. “ศาลรัฐธรรมนูญไทยจะพิจารณาสองคดีในสัปดาห์หน้า ซึ่งอาจทำให้ประเทศตกอยู่ในความวุ่นวาย คดีหนึ่งพุ่งเป้านายกรัฐมนตรี อีกคดีเป็นพรรคฝ่ายค้านใหญ่สุดพรรคหนึ่ง” เมื่อสื่อนอกรายงานเช่นนี้ คงไม่ใช่แค่ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไทยที่ตกต่ำ คราวนี้คงลามไปถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างประเทศด้วย แม้แต่เหล่านักการทูตต่างชาติในประเทศไทยต่างติดตามคดีอย่างใกล้ชิด จะเป็นอย่างไรถ้าประเทศไทยมีรัฐบาลมาได้ไม่ถึงปีก็จะมีอันเป็นไปเสียแล้ว ความต่อเนื่องของนโยบายอยู่ที่ไหน

ทุกคนรู้แล้วว่าขณะนี้เศรษฐกิจไทยตกต่ำอย่างหนัก ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ตามหลังเพื่อนบ้าน ยุทธศาสตร์เบื้องต้นที่ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ดึงเม็ดเงินคือ “การท่องเที่ยว” เพื่อนบ้านอาเซียนทำเหมือนกันหมด และเป้าหมายหลักต่างเป็น “นักท่องเที่ยวจีน” เหมือนกันหมด ไม่ปฏิเสธว่าไทยโดดเด่นกว่าเพื่อนบ้านในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โรงแรม รีสอร์ต แต่ไทยจะกินบุญเก่าอยู่ไม่ได้ ต้องพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทันสมัยด้วย เช่น เซมิคอนดักเตอร์ เทคโนโลยีเอไอ ที่ดูเหมือนยุทธศาสตร์ยังไม่ชัดเจน

คงจำกันได้ว่าช่วงปีที่ผ่านมาไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย พยายามดึงการลงทุนไฮเทค เคสโด่งดังคือเทสลา แบรนด์ยานยนต์ไฟฟ้าของอีลอน มัสก์ ที่ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีอินโดนีเซียเพียรไปหาอยู่หลายรอบ หรือเมื่อเดือน พ.ค. สัตยา นาเดลลา ซีอีโอไมโครซอฟท์เดินสายเยือนสามประเทศ แต่ดูเหมือนมาเลเซียจะเนื้อหอมที่สุดในการดึงดูด “บิ๊กเทค” สี่กลุ่มบริษัทเทคโนโลยีระดับโลกทั้ง ‘Nvidia, Microsoft, Google, ByteDance’ แห่ปักหมุดลงทุน ‘มาเลเซีย’ แค่ครึ่งปีแรกกวาดเม็ดเงินลงทุนแล้วกว่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์

3 เหตุผลใหญ่ๆ คือ “พื้นฐานแกร่ง ต่อยอดเก่ง การเมืองไม่แกว่ง” การเมืองนิ่งไม่ได้หมายความว่าไม่มีปัญหาภายใน เพราะที่ผ่านมาในรอบ 6 ปี มาเลเซียเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีไปแล้วถึง 4 คน ตั้งแต่มหาเธร์ โมฮัมหมัด, มูห์ยิดดิน ยัสซิน, อิสมาอิล ซาบรี ยาคอบ มาจนถึงคนปัจจุบัน อันวาร์ อิบราฮิม เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เพิ่งประกาศ “ยุทธศาสตร์เซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติ” มุ่งปั้นมาเลเซียเป็น “ศูนย์กลางผลิตชิประดับโลก” ด้วยการทุ่มงบเฉียด 2 แสนล้านบาท ฝึกอบรมวิศวกรทักษะสูงจำนวน 60,000 คน พร้อมตั้งเป้าดึงดูดการลงทุน 5 แสนล้านริงกิต (เกือบ 4 ล้านล้านบาท) ภายใน 10 ปี หันมามองเมืองไทยเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน สัปดาห์หน้าไม่รู้อะไรจะเกิดขึ้น จึงไม่ต้องสงสัยทำไมไทยถึงตามหลังเพื่อนบ้าน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...