สยามพิวรรธน์ วิถียั่งยืน เท่าทันยุค ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

การจัดการขยะนำไปสู่ความยั่งยืนได้จริง ก็คือ การประยุกต์หรือแปลงโฉมผลิตภัณฑ์เหล่านั้นให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ ใกล้ชิดกับการใช้ชีวิตของผู้คนมากขึ้น และทุกวันนี้ผู้คนเลือกที่จะซื้อสินค้าและบริการที่ใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนมากขึ้น ภาคธุรกิจหลายแห่งจึงต้องปรับตัวให้ทันตามไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

 

อย่างเช่น สยามพิวรรธน์ ที่ส่งเสริมหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ “องค์กรขยะเป็นศูนย์” กับการจัดการขยะได้แบบ 360 องศา เพื่อที่จะสร้างความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทย ผ่านโครงการ Siam Piwat 360° Waste Journey to Zero Waste ต่อยอดสู่ ‘Recycle Collection Center’ (RCC) หรือจุดรับวัสดุและบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้วแบบไดร์ฟทรู เป็นจุด Drop-Off Point ขยะประเภทต่าง ๆ ที่สามารถนำไปรีไซเคิล โดยเปิดให้ประชาชนสามารถนำขยะที่คัดแยกขยะแล้วมาทิ้งที่ Recycle Collection Center สยามพารากอนและไอคอนสยาม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

  • กทม. ชวนคัดแยกขยะ นำขยะรีไซเคิลมาเปลี่ยนเป็นเงินในตลาดนัดรีไซเคิล
  • "ชนะชัยรีไซเคิลกรุ๊ป" ธุรกิจเปลี่ยนขยะเป็นทองคำ
  • "ศก.หมุนเวียน"เริ่มที่แยกขยะ เปิดวงจรชีวิตธุรกิจ“พลาสติก”

 

โดยขยะจาก RCC จะมีการส่งต่อสู่กระบวนการใช้ประโยชน์ใหม่ (Recycle) การอัพไซเคิล (Upcycle) หรือการสร้างมูลค่า (Value Creation) ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการส่งต่อให้ผู้รับกำจัดขยะ โครงการ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ เช่น การคัดแยกกระป๋องอะลูมิเนียมและห่วงดึงฝากระป๋องเพื่อนำรายได้จากการจำหน่ายส่งมอบให้มูลนิธิขาเทียมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานมูลนิธิฯ ต่อไป การส่งขวดพลาสติก PET ใส ให้กับบ.วงษ์พาณิชย์สุวรรณภูมิ และ Less Plastic เพื่อนำไปรีไซเคิลและอัพไซเคิล เพื่อผลิตเป็นชุด PPE ให้บุคลากรทางการแพทย์และชุดปฏิบัติงานให้กับพนักงานกวาดถนน เป็นต้น

 

สร้างมูลค่าเพิ่มถึง 1,640 ตัน ในปี 2023 คิดเป็น 12 % ของปริมาณขยะทั้งหมดของสยามพิวรรธน์ และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำกลับไปรีไซเคิลรวม 3,900 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อ้างอิงการคำนวณในแบบฟอร์ม LESS ของ อบก. คือ LESS-WM-01: การคัดแยกขยะเพื่อการรีไซเคิล และ LESS-WM-05:การคัดแยกกล่องกระดาษบรรจุนมหรือกล่องยูเอชทีไปรีไซเคิล (อ้างอิง)   เทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ 411,300 ต้นเลยทีเดียว ซึ่งคำนวณการกักเก็บคาร์บอนของต้นไม้ (Calculation for Carbon Sequestration in tree) ใช้ต้นไม้แบบไม่ติดตามผล (อ้างอิง) 

 

 

การนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลและอัพไซคลิ่ง เพื่อนำมาดีไซน์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งบางส่วนจะถูกนำมาจำหน่ายในพื้นที่สำหรับสินค้ารักษ์โลก “อีโค่โทเปีย” มีการนำขยะบางส่วนจาก RCC โดยร่วมมือกับผู้ประกอบการ เช่น Earthology, Circular และPrecious Plastic เป็นต้น

 

ทั้งนี้ การทำผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ใกล้ชิดกับการใช้ชีวิตของผู้คนมากขึ้น เป็นปัจจัยที่จะทำให้การจัดการขยะนำไปสู่ความยั่งยืนได้จริง อย่างเช่น น้ำดื่มรักษ์โลก ที่เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิลไม่ต่ำกว่า 70 % ในการผลิต ช่วยลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตวัตถุดิบอะลูมิเนียมได้ถึง 95 % และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งการรีไซเคิลอะลูมิเนียม 1 กิโลกรัม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 9.13 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2eq) 

 

และล่าสุดน้ำดื่ม ONESIAM Pride Edition ที่มีแนวคิดสอดรับทั้ง World Environment Day และ Pride Month เป็นอีกโครงการที่ตอบโจทย์การบริหารจัดการขยะแบบครบวงจรสู่เป้าหมาย Zero waste 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...