กางผังพัฒนา 'มหานครการบินอู่ตะเภา' UTA ตั้งเป้าให้บริการเฟสแรกปี 71

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญใน EEC (EEC Project List) โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี ลงนามกับบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2563 และสถานะปัจจุบันเอกชนอยู่ระหว่างจัดทำแผนพัฒนาโครงการและเตรียมรับมอบหนังสืออนุญาติเข้าพื้นที่ก่อสร้าง (NTP)

นายวีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) เผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา UTA เร่งรัดดำเนินการในส่วนที่สามารถทำได้ โดยภายหลังลงนามมาประมาณ 1 ปี หรือราวปี 2564 ได้รายงานแผนแม่บท หรือ มาสเตอร์แพลนของการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกไปยัง สกพอ. และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) พิจารณาแล้วเสร็จ

ขณะเดียวกัน ปัจจุบันภาครัฐกำลังเริ่มขั้นตอนก่อสร้างโครงการรันเวย์ 2 ซึ่งการดำเนินงานทั้งสองส่วนข้างต้นนั้น เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขในการออก NTP ดังนั้นขณะนี้จึงเหลือเพียงเงื่อนไขประสานขอความชัดเจนต่อการพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) เพื่อกำหนดจุดเชื่อมต่อสถานีอู่ตะเภา หากมีความชัดเจนทั้งหมดแล้ว ก็จะสามารถออกหนังสือ NTP และเริ่มงานก่อสร้างได้ โดยเบื้องต้น UTA ยังคงเป้าหมายพัฒนาระยะแรก เพื่อเปิดบริการภายในปี 2571

 

โดยโครงการโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เป็นโครงการพัฒนาสนามบินภายในพื้นที่กว่า 6,500 ไร่ บนพื้นที่รับผิดชอบและกำกับดูแลของกองทัพเรือ รวมถึงการเป็นศูนย์กลางของ “มหานครการบินภาคตะวันออก” ที่จะครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่เมือง ประมาณ 30 กิโลเมตร โดยรอบสนามบิน (พัทยาถึงระยอง) ซึ่งเป็นการสานต่อเจตนารมณ์การพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ดที่ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจสำคัญของประเทศไทย

สำหรับขอบเขตการดำเนินงานของบริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด (UTA) ที่ต้องพัฒนาและผลักดันสู่เป้าหมาย “มหานครการบินภาคตะวันออก” ประกอบด้วย

งานหลักของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา

เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการ การพัฒนาโครงการและการให้บริการและการบำรุงรักษาโครงการในส่วนงานหลักของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาและการดำเนินการ งานอื่นใดเพื่อให้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยครอบคลุมถึงงาน ดังต่อไปนี้

งานในส่วนการดำเนินโครงการ ในส่วนงานหลักของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา

1.อาคารผู้โดยสารหลังใหม่

2.ศูนย์การขนส่งภาคพื้น

3.ทางขับที่เชื่อมระหว่างทางวิ่งที่หนึ่งกับทางวิ่งที่สอง

4.ลานจอดอากาศยานสำหรับผู้โดยสารและสำหรับการขนส่งสินค้า

5.ศูนย์ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์

6.สาธารณูปโภคที่จัดทำโดยเอกชนคู่สัญญา

7.งานในส่วนการให้บริการภาคพื้นดิน

งานในส่วนการพัฒนาโครงการ ในส่วนงานหลักของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา

1. ที่ทำการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

2.ที่ทำการสำนักงานของกรมศุลกากร

3.ที่ทำการสำนักงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินโครงการฯ

งานในส่วนการให้บริการและการบำรุงรักษาโครงการ ในส่วนงานหลักของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา

1.ทางวิ่งที่สอง และทางขับที่เกี่ยวเนื่องกับทางวิ่งที่สอง

2.ลานจอดอากาศยานสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน

งานสนับสนุนของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา

เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการ ในส่วนงานสนับสนุนของสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา และการดำเนินงานอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ โดยครอบคลุมถึงงาน ดังต่อไปนี้

1.เขตประกอบการค้าเสรี

2.เขตธุรกิจการค้า

งานอื่นใดที่เอกชนคู่สัญญามีสิทธิดำเนินการภายในสนามบินอู่ตะเภาทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

สำหรับแผนพัฒนาเมืองการบินอู่ตะเภา ตามโมเดลที่ UTA ออกแบบไว้ล่าสุด จะเต็มไปด้วยกิจกรรมมากมายตลอดทั้งกลางวัน และกลางคืน เป็นสถานที่รองรับการพักผ่อน และความบันเทิงให้กับนักเดินทางตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยแนวคิดเมืองอัจฉริยะระดับสากล ควบคู่ไปกับการนำเสนอกิจกรรมไลฟ์สไตล์และความบันเทิง โดยกิจกรรมที่จะมีการพัฒนาในเมืองการบิน จะประกอบด้วย

พื้นที่พาณิชย์ทั้งหมด

เมืองการบินภาคตะวันออกมีพื้นที่เชิงพาณิชย์กว่า 2 ล้านตารางเมตร

กิจกรรม งานแสดงสินค้า และการจัดประชุม (MICE)

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับกิจกรรม งานแสดงสินค้า และการจัดประชุมที่ครบครันและใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมสนามกีฬาในร่มที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยมีโรงแรมพร้อมรองรับแขกผู้มาเยือน

พื้นที่ร้านค้า

สิทธิพิเศษจากการอยู่ในเขตประกอบการค้าเสรีทำให้เมืองการบินภาคตะวันออกเป็นสนามบินแห่งแรกของภูมิภาคและเป็นจุดหมายด้านการช็อปปิ้งที่รวมสินค้าแบรนด์ชั้นนำระดับโลกมาไว้ที่เดียว โดยมีสินค้าปลอดภาษีจำหน่ายทั้งในอาคารผู้โดยสารและภายในเมืองการบินภาคตะวันออก

พื้นที่สำนักงาน

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสำนักงานมาตรฐานสากล พร้อมด้วยการลดหย่อน/ยกเว้นภาษีเป็นพิเศษ เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...