ค่าเหยียบแผ่นดิน เอาไงต่อ? เสริมศักดิ์ ยัน “ไม่หยุด” เล็งเก็บ 300 บาทต่างชาติ

หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2566 ได้เห็นชอบให้ทำการจัดเก็บแล้ว ในอัตรา 300 บาทต่อครั้ง สำหรับการเดินทางทางอากาศ และอัตรา 150 บาทต่อครั้ง สำหรับการเดินทางผ่านทางบกและทางน้ำ

วานนี้ (30 พ.ค.) เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่เพิ่งเข้าประจำตำแหน่งเมื่อต้นเดือน พ.ค. ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีลงนาม MOU การผลักดันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ภายในงานประชุมสมาชิกของสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) หลังจากเปิดพิธีแล้วเสร็จ ก็ถูกนักข่าวรุมยิงคำถามไม่ยั้ง โดยเฉพาะประเด็นค่าเหยียบแผ่นดิน ว่าจะเดินหน้าหรือหยุด?

“ไม่น่าจะหยุด” คือคำตอบที่ได้รับจากเสริมศักดิ์

“ได้เห็นหลักการ (เรื่องค่าเหยียบแผ่นดิน) แล้ว แต่ต้องเข้าไปดูว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งมีเจ้าหน้าที่พิจารณารายละเอียดอยู่แล้ว”

ส่วนกรณีที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นผู้สั่งการให้ชะลอการเก็บค่าเหยียบแผ่นดินไว้ก่อนหน้านี้ ตนจะให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป

อีกหนึ่งประเด็นฮอตคือ ล่าสุด World Economic Forum (WEF) ได้ประกาศการจัดอันดับดัชนีการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวประจำปี 2567 (Travel & Tourism Development Index 2024) ของ 119 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศไทยรั้งอันดับ 47 ตกลงมา 6 อันดับเมื่อเทียบกับดัชนีปี 2562 ก่อนโควิด-19 ระบาด

เมื่อดูการจัดอันดับด้านปัจจัยความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 43 ส่วนด้านปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบกและทางน้ำ ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 46 จาก 119อประเทศทั่วโลก 

เสริมศักดิ์ ตอบประเด็นนี้ว่า ในฐานะที่เคยอยู่กระทรวงมหาดไทยมาก่อน ยอมรับว่าโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยมีปัญหาจริงในบางจุด บางพื้นที่ หากมีการพบปัญหาในด้านใดจะเร่งเข้าไปแก้ไข อย่างบางพื้นที่ที่เพิ่งค้นพบว่าเป็นหมุดหมายทางการท่องเที่ยวขึ้นมา เช่น โบราณสถาน หรือมรดกโลก ตรงนี้ก็จะรีบเติมเต็ม ทำเป็นโครงการพิเศษ ต้องทุ่มเทเข้าไปเพื่อรองรับคนเข้ามา

เมื่อพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นรัฐบาล ทางนายกฯ เศรษฐา ได้ประกาศชัดถึงวิสัยทัศน์ผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินและการท่องเที่ยว รัฐบาลนี้ให้ความสำคัญกับคมนาคมทั้งทางอากาศ ทางเรือ และทางบก โดยนายกฯ ได้กำหนดแผนงานต่างๆ ไว้อย่างรวดเร็ว และสั่งการให้มีการติดตามผล แม้ว่าจะเป็นรัฐบาลที่ตั้งมาไม่นานนัก แต่ภาคการท่องเที่ยวถือเป็นเครื่องยนต์หารายได้เข้าประเทศได้มาก จะเห็นความชัดเจนในความสามารถของรัฐบาลได้อย่างชัดเจนในระยะถัดไป

“แน่นอนว่าในช่วง 3 ปีที่เหลือของรัฐบาลเพื่อไทย เราจะปรับขึ้นอันดับดัชนีการพัฒนาการเดินทางและการท่องเที่ยวดังกล่าวให้ได้ เพราะว่าในช่วงที่เราเป็นรัฐบาลก่อนหน้านี้ เราก็ทำเต็มที่ แต่พอช่วงที่ไม่ได้เป็น เราจะไปตำหนิคนอื่นก็ไม่ใช่ลูกผู้ชาย พอเรากลับมาเป็นรัฐบาล เราก็จะทุ่มเทของเรา ทำอย่างสุดกำลังความสามารถ ผมเชื่อว่าเราทำได้ และเราทำมาแล้ว แต่ว่าตอนนี้เราเพิ่งเป็นรัฐบาลได้ไม่ถึงปี ต่อไปจะเห็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นชัดเจนเลยในความสามารถของรัฐบาลเรา”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...