มาเลย์ทุ่ม 2 แสนล้าน ปั้น 'ฮับผลิตชิประดับโลก' สร้างไอทีเลือดใหม่ 6 หมื่นคน

สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ของมาเลเซีย ประกาศเมื่อวันอังคาร (28 พ.ค.) ว่า มาเลเซียมีแผนที่จะฝึกอบรมวิศวกรเซมิคอนดักเตอร์ท้องถิ่นที่มีทักษะสูงจำนวน 60,000 คน เพื่อสนับสนุนความทะเยอทะยานของประเทศในการกลายเป็น “ศูนย์กลางการผลิตชิประดับโลก

การฝึกอบรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมาเลเซีย และเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมชิป

ภายใต้ยุทธศาสตร์เซมิคอนดักเตอร์แห่งชาตินี้ที่ประกาศเมื่อวันอังคาร รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณอย่างน้อย 25,000 ล้านริงกิต (ประมาณ 1.9 แสนล้านบาท) ในช่วง 5 ถึง 10 ปีข้างหน้า เพื่อส่งเสริมบุคลากรและพัฒนาบริษัทท้องถิ่น โดยเงินทุนจะมาจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของมาเลเซียอย่าง คาซานาห์ เนชั่นแนล (Khazanah Nasional)

ยุทธศาสตร์นี้มีเป้าหมายในการฝึกอบรมบุคคลากรคนจำนวน 60,000 คนในด้านต่าง ๆ ของการผลิตชิป ตั้งแต่การออกแบบ การบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการทดสอบ โดยโปรแกรมฝึกอบรมจะมีการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและบริษัทต่าง ๆ

นอกจากนี้ มาเลเซียยังต้องการจัดตั้งบริษัทท้องถิ่นอย่างน้อย 10 แห่งในด้านการออกแบบและบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงสำหรับชิปเซมิคอนดักเตอร์ โดยมีรายได้ระหว่าง 210 ล้านถึง 1 พันล้านดอลลาร์

ตามยุทธศาสตร์นี้ รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะดึงดูดการลงทุนจำนวน 500,000 ล้านริงกิต (เกือบ 4 ล้านล้านบาท) ผ่านการลงทุนโดยตรงในประเทศ (DDI) และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) นอกจากนี้ยังจะสนับสนุนวิศวกรท้องถิ่นในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาในรูปแบบของการออกแบบชิปอีกด้วย

"วิสัยทัศน์ของเราคือ การสร้างระบบนิเวศที่ขับเคลื่อนโดยบริษัทมาเลเซียที่ทั้งคล่องตัวและประกอบด้วยบุคลากรระดับโลก เพื่อแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลกบนพื้นฐานของนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์...วันนี้ ผมขอนำเสนอประเทศของเราเป็นแหล่งผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นกลางและไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เพื่อช่วยสร้างห่วงโซ่อุปทานชิประดับโลกให้มั่นคงและยืดหยุ่นมากขึ้น" อันวาร์ กล่าวในงานแสดงสินค้า Semicon Southeast Asia 2024 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย

ทั้งนี้ มาเลเซียเป็นหนึ่งในประเทศผู้มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์โลก โดยครองสัดส่วน 13% ของตลาดโลกในด้านการบรรจุและทดสอบชิป และสามารถดึงดูดเม็ดเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์จากบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงอินเทล (Intel) และอินฟินีออน (Infineon)

มาเลเซียยังได้ส่งเสริมการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงรวมถึงเซมิคอนดักเตอร์ในช่วงไม่นานมานี้ โดยเมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลได้เปิดตัว “โกลเด้นพาส” และแพ็กเกจจูงใจอื่น ๆ เพื่อดึงดูดบริษัทเงินทุนร่วมลงทุนและสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลกให้เข้ามาในประเทศ

อีกทั้งยังประกาศจัดตั้ง “ศูนย์ออกแบบชิปรวมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค” ในรัฐสลังงอร์ ซึ่งเป็นเขตพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญใกล้กับเมืองหลวงอีกด้วย

อ้างอิง: nikkei

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...