BA กำไร Q1/67 สูง 1.87 พันล้านบาท เพิ่ม 114% ตั๋วเครื่องบินขายดี-ราคาเฉลี่ยบวก

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA เปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ผลการดำเนินงานงบการเงินรวมไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 67 กำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ 1,873.20 ล้านบาท (กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.89 บาท) เพิ่มจากไตรมาสที่ 1 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 66 ซึ่งทำได้ 875.09 ล้านบาท (กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.42 บาท) คิดเป็น 114.05%

คําอธิบายผลการดำเนินงานและการวิเคราะห์จาก BA ระบุในสาระสำคัญว่า

ภาพรวมภาคอุตสาหกรรมการบินทุกภูมิภาคทั่วโลกยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสแรกในปี พ.ศ. 2567 อัตราการเติบโตของปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (Revenue Passenger Kiometers: RPK) ของทุกภูมิภาคทั่วโลก เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 16.9 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีพ.ศ. 2566 โดยสายการบินในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก มีอัตราการเติบโตมากที่สุดเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 30.9

สำหรับภาคการท่องเที่ยวในประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมายังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี พ.ศ. 2566 การเติบโตของปริมาณอุปสงค์ในการเดินทางเพิ่มสูงขึ้น บริษัทฯได้เพิ่มความถี่เที่ยวบินเพื่อรองรับปริมาณการเดินทางที่มีความต้องการเดินทางสูง รวมถึงได้เปิดให้บริการเส้นทางบินไปยังประเทศจีน 2 เส้นทางคือ สมุย-เฉิงตู และสมุย-ฉงชิ่ง
 

ไตรมาสแรกนี้บริษัทฯ ขนส่งผู้โดยสาร 1.3 ล้านคน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 17.1 จากปี 2566 และฟื้นตัวได้ร้อยละ 75.6 ของช่วงก่อนโควิด-19 ในขณะที่ปริมาณที่นั่งรวมเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 15.5 ส่งผลในไตรมาสนี้มีอัตราขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 88.4 ปรับตัวสูงขึ้น 1.39 จุดจากปี 2566

ไตรมาส 1 ปี 2567 บริษัทฯ มีรายได้รวม 7,828.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.3 จากการเติบโตของธุรกิจสายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบินเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนรายได้อยู่ที่ร้อยละ 73.4 และร้อยละ 16.8 ของรายได้รวมตามลำดับ

บริษัทฯ มีรายได้บัตรโดยสารจากธุรกิจสายการบินจำนวน 5,749.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.4 รายได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากจำนวนผู้โดยสาร และราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยที่เพิ่มมากขึ้น ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 บริษัทฯขนส่งผู้โดยสารจำนวน 1.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.1 เทียบกับปี 2566 ราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยอยู่ที่ 4,405.9 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 และมีอัตราขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ร้อยละ 88.4

รายได้บัตรโดยสารส่วนใหญ่มาจากจุดขายบัตรโดยสาร (Point-of-Sale) จากต่างประเทศร้อยละ 44.0 รองลงมาได้แก่ จุดขายบัตรโดยสารผ่านเว็บไซต์และระบบเชื่อมต่อตรงกับบริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 43.0 และจุดขายบัตรโดยสารในประเทศไทยร้อยละ 12.0 ของรายได้บัตรโดยสารทั้งหมด

บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและบริการซึ่งเป็นรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน 1,316.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.3 เทียบกับปี 2566 รายได้จากการขายและบริการส่วนใหญ่มาจากรายได้ของบริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟล์ทเซอร์วิส จำกัด

ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 79.1 ล้านบาท และมีรายได้อื่น 507.8 ล้านบาท รายได้อื่นๆ ส่วนใหญ่มาจากรายได้จากบัตรโดยสารหมดอายุ เงินที่ได้รับคืนจากการชำระค่าซ่อมบำรุงล่วงหน้า ค่าสัมภาระส่วนเกิน และ รายได้ค่าธรรมเนียมบัตรโดยสาร

ไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 บริษัทฯ มีกำไรจากการดำเนินงาน 2,390.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,160.0 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.2 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้จากบัตรโดยสารของธุรกิจการบิน และรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบินซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.4 และร้อยละ 30.3 ตามลำดับ

บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายรวม 5.358.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.9 จากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมบำรุงรักษาเครื่องบิน เป็นหลัก

บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิสำหรับงวด 1,879.5 ล้านบาทเพิ่มสูงขึ้น 1,000.1 ล้านบาทเทียบกับปี 2566 มีผลกำไรส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ 1,873.2 ล้านบาท และมีผลกำไรต่อหุ้นเท่ากับ 0.89 บาท


อนึ่ง งบการเงินรวมของ BA ประกอบด้วยงบการเงินเฉพาะกิจการ และงบการเงินของบริษัทย่อยจำนวน 16 บริษัท ได้แก่
1) บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด 2) บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด 3) บริษัท การบินกรุงเทพบริการภาคพื้น จำกัด 4) บริษัท บางกอกแอร์เวย์ส โฮลดิ้ง จำกัด 5) บริษัท เอสเอ เซอร์วิสเซส จำกัด 6) บริษัท บีเอฟเอสคาร์โก้ ดีเอ็มเค จำกัด 7) บริษัท บีเอซี กูร์เมท์ เฮ้าส์ จำกัด
8) บริษัท ครัวการบินกรุงเทพภูเก็ต จำกัด 9) บริษัท กูร์เมท์ พรีโม่จำกัด 10) บริษัท ครัวการบินกรุงเทพสมุย จำกัด 11) บริษัท ครัวการบินกรุงเทพเชียงใหม่ จำกัด 12) บริษัท มอร์แดนฟรี จำกัด13) บริษัท บางกอกแอร์ เอวิเอชั่น เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด 14) บริษัท ครัวการบินกรุงเทพดอนเมือง จำกัด 15) บริษัท กรุงเทพ รีทแมเนจเม้นท์ จำกัด และ 16) บริษัท กรุงเทพบริหารสนามบิน จำกัด

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...