เลิกแบ่งทีม ‘รัฐบาล‘ VS ‘แบงก์ชาติ’ หันหน้าคุย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปด้วยกัน

"เมื่อธนาคารกลางและรัฐบาลต่างรักษาบทบาทตนเอง เราจะได้เห็นการควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ดีขึ้น ผลลัพธ์การเติบโตและการจ้างงานที่ดี รวมถึงความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินที่ลดลง"

คำกล่าวของคริสตาลินา จอร์เจียวา ผู้อำนวยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่กล่าวไว้ในตอนหนึ่งของบทความเรื่องการเสริมสร้างความความเป็นอิสระของธนาคารกลาง เพื่อปกป้องเศรษฐกิจโลก เมื่อวันที่ 21 มี.ค.ที่ผ่านมาย้ำเตือนให้เราเห็นความสำคัญของนโยบายการคลัง และนโยบายการเงินที่ต่างต้องทำหน้าที่ในบทบาทที่มีความรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ซึ่งการทำงานที่รักษาบทบาทของตนเอง และมีการทำงานร่วมกันในระยะยาวพิสูจน์แล้วว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะมีการสร้างการเติบโต และมี “เสถียรภาพด้านราคา” คือสามารถควบคุมเงินเฟ้อได้ดี และทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว

กลไกแบงก์ชาติในการทำงานร่วมกับรัฐบาล

ที่ผ่านมาแม้มีการวิจารณ์จากฟากฝั่งการเมืองถึง “ความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ” เช่น การที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี บอกว่า ความเป็นอิสระของแบงก์ชาติต้องไม่ยืนอยู่ความเดือดร้อนของประชาชน หรือในการกล่าวของนางสาวแพรทองธาร ชินวัตร ที่กล่าวบนเวที 10 เดือนที่ไม่รอเติมต่อให้เต็ม 10 ว่า กฎหมายที่ให้อิสระกับแบงก์ชาติทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา นโยบายการคลังถูกใช้มากเกินไปจนประเทศขาดดุลการคลัง มีหนี้สาธารณะมาก นำไปสู่ความเข้าใจผิดว่าการดำเนินงานของแบงก์ชาตินั้นมีความเป็นอิสระ

แต่หากในความเป็นจริงแล้วกฎหมายไม่ได้กำหนดให้แบงก์ชาติดำเนินโดยเป็นอิสระโดยไม่ยึดโยงกับรัฐบาลโดยสิ้นเชิง ซึ่งหากเงินเฟ้อ จะเห็นได้ว่าในทุกปีกระทรวงการคลังและแบงก์ชาติต้องมีการหารือกับในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงิน (Inflation targeting) ซึ่งต้องกำหนดให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นกรอบที่จะสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจได้ด้วย ซึ่งอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Interest Rate) เป็นเครื่องมือหลักภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อซึ่งปัจจุบันกรอบเงินเฟ้อของไทยอยู่ที่ 1 - 3%

สถานการณ์ปัจจุบันที่มีกระแสข่าวความขัดแย้งกันระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และรัฐบาล โดยเฉพาะในประเด็นความเป็นอิสระของแบงก์ชาติ หรือว่ากรณีก่อนหน้านี้ในเรื่องของการที่รัฐบาลขอให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยนโยบาย และทำให้ในโซเชียลมีเดียมีการแบ่งฝ่ายระหว่าง “ทีมรัฐบาล” และ “ทีมแบงก์ชาติ” มาวิพากษ์วิจารณ์ตอบโต้กันไปมาซึ่งจริงไม่ได้ช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันระหว่างสองฝ่ายเพื่อให้นโยบายสอดคล้องกันเพื่อผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจของประเทศแต่อย่างใด

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวสนับสนุนการหารือกันระหว่างแบงก์ชาติและรัฐบาล ทั้งนี้เลขาธิการ สศช.กล่าวว่าในภาพใหญ่ของเศรษฐกิจไทย ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่นโยบายการเงินและการคลังของประเทศต้องไปในทิศทางเดียวกัน  ฝั่งหนึ่งเป็นเรื่องการพัฒนาอีกฝั่งหนึ่งเป็นเรื่องเสถียรภาพ 

ซึ่งบางช่วงเวลาต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเสถียรภาพ บางช่วงเวลาต้องให้ความสำคัญกับเรื่องการเติบโต การพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งตอนนี้สิ่งสำคัญคือการที่ทั้งสองส่วนต้องมีการพูดคุยกัน ต้องปรับจูนเข้าหากัน ทั้งนี้การที่คุณพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ท่านใหม่จะไปคุยกับ ธปท.ในรายละเอียดกันก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่จะต้องมีการพูดคุยกันซึ่งจะทำให้การทำงานในช่วงถัดไป มีความสอดคล้องกันมากขึ้น

ขณะที่นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี กล่าวว่าแนวทางการบริหารเศรษฐกิจจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจกันระหว่างรัฐบาลและธนาคารกลาง ที่ผ่านมาเราไม่ค่อยเห็นธนาคารกลางและรัฐบาลประเทศไหนออกมาตอบโต้กันไปมา แบบที่เกิดขึ้น แบงก์ชาติกับรัฐบาลควรที่จะประสานการทำงานกันได้ ซึ่งควรมุ่งไปที่การสร้างการเติบโตเศรษฐกิจมากขึ้นและการกินดีอยู่ดีของประชาชน

 

 “ทั้งนี้ความเป็นอิสระของธปท.นั้นรัฐบาลเข้าใจ และเห็นถึงความสำคัญแต่จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนเป็นสำคัญ จะยืนยันแค่ความเป็นอิสระเพื่อเอาไว้ตอบโต้กับรัฐบาลแบบนี้คงไม่เหมาะสมเพราะไม่เกิดประโยชน์กับเศรษฐกิจของประเทศ และความเดือดร้อนของประชาชน โดยธปท.ก็ไม่ควรพอใจแค่ตัวเลขการเติบโตเศรษฐกิจแค่2- 3% ต่อปี โตแบบกระท่อนกระแท่นแบบนี้เศรษฐกิจไทยเราไม่มีทางจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้เลย ”

 

ทั้งนี้การลดดอกเบี้ยนโยบายถือว่ามีความจำเป็นที่จะช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างถ้วนหน้า โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% นั้นสามารถช่วยลดหนี้สินของประชาชน หนี้ครัวเรือนที่มีอยู่ 16 ล้านล้านบาทได้กว่า 4.05 หมื่นล้านบาท ขณะที่หนี้ภาครัฐที่มีอยู่กว่า 11 ล้านล้านบาท ก็จะสามารถลดลงได้กว่า 3 หมื่นล้านบาท รวมแล้วเป็นผลดีกับระบบเศรษฐกิจกว่า 7 หมื่นล้าน

 

นอกจากนี้การลดดอกเบี้ยลงธปท.ไม่ควรกังวลเรื่องของค่าเงินบาทที่จะอ่อนเพราะตอนนี้หลายประเทศค่าเงินอ่อนกว่าไทย เช่น มาเลเซียค่าเงินอ่อนไปถึง 4.7 ริงกิตต่อดอลลาร์ และอินโดนิเซียค่าเงินอ่อนไปถึง 1.6 หมื่นรูเปียห์ต่อดอลลาร์ ซึ่งค่าเงินอ่อนไปกว่าตอนที่เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่ว่ายังสามารถมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าไทย ซึ่งนโยบายที่ผ่านมาของ ธปท.ก็ต้องยอมรับว่ามีความผิดพลาดที่ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำกว่าเป้าหมายด้วยเช่นกัน

 

จะเห็นว่านอกจากช่องทางตามกฎหมายที่กำหนดให้กระทรวงการคลัง และ ธปท.ต้องมีการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินร่วมกันก่อนเสนอ ครม.พิจารณา การหารือระหว่างรัฐบาลและธปท.เพื่อปรับจูนกันให้เป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโต ควบคู่ไปกับการมีเสถียรภาพจะสามารถสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ประชาชน ตลอดจน สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจและนักลงทุนได้ในที่สุด

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...