สหรัฐคงสถานะไทยกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 25 เม.ย.67 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้เผยแพร่รายงานผลการทบทวนสถานะประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯด้านทรัพย์สินทางปัญญา ตามมาตรา 301 พิเศษ กฎหมายการค้าสหรัฐฯ ประจำปี 67 โดยไทยยังคงถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองด้านทรัพย์สินทางปัญญา (Watch List : WL) ต่อเนื่องอีกปีนับตั้งแต่ปี 60 แม้ปีที่ผ่านมา ไทยมีพัฒนาด้านการป้องกัน คุ้มครองการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมาก และบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังขึ้น จนสร้างความพึงพอใจให้กับเจ้าของสิทธิ์ แต่ปัญหาการละเมิดก็ยังคงมีอยู่

โดยในรายงานระบุว่า แม้ไทยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ เพื่อเข้าเป็นสมาชิกสนธิสัญญาว่าด้วยการแสดงและสิ่งบันทึกเสียงขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WPPT), แก้กฎหมายสิทธิบัตร เพื่อปรับปรุงกระบวนการจดทะเบียนให้รวดเร็ว แก้ปัญหาการตรวจสอบคำขอจดทะเบียนที่คั่งค้างสะสมจำนวนมาก และเพื่อเข้าเป็นสมาชิกสนธิสัญญากรุงเฮก, หน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำงานร่วมกับเจ้าของสิทธิ์ในการป้องกัน และปราบปรามการละเมิดอย่างเต็มที่

 

แต่ยังมีสินค้าละเมิดวางขายต่อเนื่อง โดยเฉพาะทางออนไลน์ ซึ่งหน่วยงานของไทยมุ่งปราบผู้ค้ารายย่อยมากกว่าจะมุ่งปราบผู้ผลิตและจำหน่ายรายใหญ่ รวมถึงกังวลอาจไม่มีการดำเนินคดีทางอาญา อีกทั้งแม้ไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ ในการปราบปรามการขายสินค้าละเมิดทางออนไลน์ แต่การละเมิดลิขสิทธิ์ยังคงมีอยู่ เพราะมีอุปกรณ์ต่างๆ และแอปพลิเคชันที่สามารถสตรีม หรือดาวน์โหลดเนื้อหาได้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ทั้งนี้ สหรัฐฯเรียกร้องให้ไทยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์เพิ่มเติม เพราะสหรัฐฯ รัฐบาลต่างประเทศ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ยังมีข้อกังวล และยังมีอุปสรรคในขั้นตอนการบังคับใช้การป้องกันการแอบถ่ายหนังโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงเร่งแก้ปัญหาการพิจารณาคำขอจดสิทธิบัตรที่ยังคั่งค้างจำนวนมาก

ส่วนการที่ไทยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ นั้น สหรัฐฯเรียกร้องให้ไทยดำเนินการอย่างโปร่งใส และมีกระบวนการที่เหมาะสมในการคุ้มครอง

 

นอกจากนี้ สหรัฐฯมีข้อกังวลอื่นๆ อีก เช่น ภาคเอกชนของไทยยังคงใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ, การดำเนินคดีทางแพ่งยืดเยื้อ และความเสียหายทางแพ่งอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงเรียกร้องให้ไทยมีระบบปกป้องที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการใช้งานเชิงพาณิชย์โดยไม่เป็นธรรม การเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการเปิดเผยผลการทดสอบ หรือข้อมูลทั่วไปเพื่อการเข้าสู่ตลาดของผลิตภัณฑ์ยา และเคมีภัณฑ์ทางการเกษตร      

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของไทย หวังว่า ปีนี้ ไทยจะหลุดออกจากบัญชีดังกล่าว เพราะมีพัฒนาด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ดีขึ้นมาก โดยได้ดำเนินการต่างๆ ตามที่สหรัฐฯเรียกร้อง นำมาซึ่งความพอใจของเจ้าของสิทธิ์ แต่ก็ยังไม่สามารถหลุดพ้นจากการจัดสถานะด้านทรัพย์สินทางปัญญาได้ สำหรับกลุ่ม WL ปีนี้ มี 20 ประเทศ คือ อัลจีเรีย, บาร์บาโดส, เบลารุส, โบลิเวีย, บราซิล, บัลแกเรีย, แคนาดา, โคลอมเบีย, เกวาดอร์, อียิปต์, กัวเตมาลา, เม็กซิโก, ปากีสถาน, ปารากวัย, เปรู, ไทย, ทรินิแดด แอนด์ โทบาโก, เตอร์เกีย, เติร์กเมนิสถาน และเวียดนาม

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...