ไซมิสฯพึ่งต่างชาติประคองยอด!เร่งโกยดีมานด์‘เมียนมา-จีน’

จากกระแสความร้อนแรงของสถานการณ์สงครามกลางเมืองในเมียนมาและการเกณฑ์ทหาร ส่งผลให้ยอดโอนของลูกค้าต่างชาติที่ซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. ที่ผ่านมา เติบโต 6% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนติดลบ 11%  แต่ก็ยังอันดับ 1 และรองลงมา และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี คือ เมียนมา  โต241% ไต้หวัน โต 127%และอินเดีย โต83%

ขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไซมิส แอสเสท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากสถานการณ์สงครามกลางเมืองในเมียนมาและการเกณฑ์ทหาร ส่งผลให้ยอดโอนของต่างชาติที่ซื้อคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยภายในเดือน พ.ค.นี้ บริษัทมีแผนจัดโรดโชว์โครงการคอนโดมิเนียมและบ้านไปประเทศเมียนมา ที่ย่างกุ้ง หลังจากมีลูกค้าชาวเมียนมาเข้ามาซื้อมากขึ้น โดยที่ผ่านมามีซื้อเพนต์เฮ้าส์ ราคากว่า 30 ล้านบาทที่โครงการพระราม 9 ขายหมดภายในระยะเวลา 2 เดือน
 

“ผลกระทบจากสงครามกลางเมืองในเมียนมา-เกณฑ์ทหาร ทำให้กลุ่มคนเมียนมาที่มีเงินส่งลูกหลานมาเรียนในประเทศไทย ส่งผลให้ยอดโอนคอนโดมิเนียมจากคนเมียนมาขึ้นมาเป็นอันดับ 2 รองจากจีน คาดว่า การจัดโรดโชว์ดังกล่าวจะมียอดขายอย่างน้อย 20-30 ยูนิต คิดเป็นมูลค่า 100-200 ล้านบาท โดยมีบริการดูแลการปล่อยเช่าให้ด้วย”

ก่อนหน้านี้ชาวเมียนมาที่มีกำลังซื้อส่วนใหญ่นิยมไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ แต่ปัจจุบันซื้อไม่ได้แล้วเพราะเก็บภาษีคนต่างชาติที่เข้าไปซื้อแพงขึ้น 60% จึงเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ชาวเมียนมามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยและมาเลเซียแทน


 

ล่าสุดยังเตรียมจัดโปรโมชันพิเศษรองรับกลุ่มลูกค้าต่างชาติในช่วงโกลเด้นวีค “จีน-ญี่ปุ่น” พร้อมกันนี้มีการรวมห้อง (Combine Unite) 1-2 ห้องให้เป็นเพนต์เฮ้าส์ จำนวน 21 ยูนิต รองรับความต้องการของลูกค้าในปลายไตรมาส 2  ระดับราคากว่า 30 ล้านบาทต่อยูนิต กลุ่มลูกค้าหลักยังคงเป็นคนจีน ที่ต้องการคอนโดขนาดใหญ่ ขั้นต่ำมีขนาด 80 ตารางเมตรต่อยูนิต

“ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศยังไม่ฟื้นตัว แม้จะมีมาตรการออกมาช่วยกระตุ้น เพราะกำลังซื้อไม่มี ติดปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง ทำให้กลุ่มคนซื้อต่ำ 3 ล้านบาท กู้ไม่ผ่าน 60-70% รวมถึงดอกเบี้ยแพงในฐานะคนขายต้องพึ่งตลาดต่างชาติเข้ามาช่วยประคองยอดขาย”

ขจรศิษฐ์ ย้ำว่า จากปัจจัยหนี้ครัวเรือนสูงกว่า 90% สวนทางรายได้ที่ไม่เติบโตขึ้น ทำให้บริษัทต้องปรับแผนการดำเนินธุรกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยวางแผน 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2567-2569 บริษัทชะลอการลงทุนซื้อที่ดินมาพัฒนาโครงการใหม่เพื่อลดหนี้ให้เหลือ 1.4 เท่า เน้นการพัฒนาโครงการจากที่ดินที่มีอยู่เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น 

ปัจจุบันบริษัทมีโครงการและที่ดินพร้อมพัฒนาได้ 3 ปี คาดว่าจะสร้างรายได้ 6,000-7,000 ล้านบาทต่อปี โดยในปี 2567 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้อยู่ที่ 7,000 ล้านบาท มาจากการโอนโครงการ Landmark @ MRTA Station (พระราม 9) ที่มี backlog สิ้นปี 2566 มูลค่ากว่า 4,800 ล้านบาท และมีการทยอยโอนอย่างต่อเนื่อง

“เฉพาะรายได้จากการโอนคอนโดมิเนียม 4,100 ล้านบาท มาจากแนวราบ 2,000-2,200 ล้านบาท และมาจากรายได้อื่นๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร 500-600 ล้านบาท คาดว่ารายได้สม่ำเสมอจาก Recuring Business จะมีสัดส่วน 15% ของรายได้บริษัท ภายใน 5 ปี”
 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...