'เนต้า' เซ็น 'สรรพสามิต' ต่ออายุมาตรการ EV3.5 รุกตลาดเอสยูวี

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า วานนี้ (24 เม.ย.) บริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด โดยนายชู กังจื้อ กรรมการบริษัท เนต้า ออโต้ (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ร่วมลงนามกับกรมสรรพสามิตในข้อตกลงการรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วง 4 ปี (2567-2570)

ทั้งนี้รายงานข่าวระบุว่า ปีนี้ เนต้าจะมีแผนเปิดตัวรถในรูปแบบเอสยูวี รุ่น เนต้า เอ็กซ์ (NETA X) สินค้าใหม่ที่เข้ามาเสริมตลาดยานยนต์ไฟฟ้าในไทย ซึ่งเป็นตลาดที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น 

โดยการทำตลาด เนต้า เอ็กซ์ จะเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการใช้านอีวีของภาครัฐ หรือ EV 3.5 ซึ่งหมายถึง เนต้า มีแผนที่จะประกอบรถยนต์ในไทย เป็นไปตามกฎเกณฑ์การส่งเสริมของภาครัฐ และระบุว่าจะเริ่มต้นประกอบ เนต้า เอ็กซ์ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้ 

ทั้งนี้ สิทธิสำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมตามมาตรการ EV3.5 จะได้รับการสนับสนุนจากกรมสรรพสามิต ดังนี้

รถยนต์นั่ง

จะได้รับเงินอุดหนุน สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าตามขนาดแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 25,000-100,000 บาท/คัน ลดอัตราอากรขาเข้าไม่เกิน 40% สำหรับรถที่มีการนำเข้าในช่วงปี 2567- 2568 และลดภาษีสรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% ในปี 2567 - 2570

รถกระบะ

เฉพาะที่ผลิตภายในประเทศ และราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kwh ขึ้นไป จะได้รับเงินอุดหนุน 100,000 บาท/คัน และได้รับสิทธิลดอัตราภาษีสรรพสามิตเหลือ 0% ในปี 2567 - 2568 และอัตราภาษี 2% ในปี 2569 - 2570

รถจักรยานยนต์ 

เฉพาะที่ผลิตภายในประเทศ และราคาไม่เกิน 150,000 บาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kwh ขึ้นไป จะได้รับเงินอุดหนุน 10,000 บาท/คัน  และได้รับสิทธิลดอัตราภาษีสรรพสามิต เหลือ 1% ในปี 2567 - 2570

นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการนี้ ต้องผลิตรถยนต์ เพื่อชดเชยการนำเข้าภายในปี 2569 ในอัตราส่วน 1 : 2 ของจำนวนนำเข้าในช่วงปี 2567 – 2568 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 2 คัน) หรือผลิตชดเชยการนำเข้าภายในปี 2570 ในอัตราส่วน 1 : 3 (นำเข้า 1 คัน ผลิตชดเชย 3 คัน) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศ และผลักดันไทยให้เป็นฮับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาค

ทั้งนี้ มีบริษัทที่ได้เข้าร่วมลงนามในข้อตกลงการรับสิทธิตามมาตรการ EV 3.5 ก่อนหน้านี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 7 ราย ประกอบด้วย

1. บริษัท ฉางอาน ออโต้ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

2. บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์ ซีพี จำกัด

3. บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด

4. บริษัท เรเว่ ออโตโมทีฟ จำกัด

5. บริษัท ไอออน ออโตโมบิล เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

6. บริษัท เรเว่ คอมเมอร์เชียล วีฮิเคิลส์ จำกัด

7. บริษัท อีวี ไพรมัส จำกัด

“คาดการณ์ว่าจะมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากมาตรการ EV 3.5 ประมาณ 175,000 คัน ในปี 2567-2568 ส่งผลให้เกิดการผลิตรถยนต์ภายในประเทศ ประมาณ 350,000 – 525,000 คัน ภายในปี 2570” นายเอกนิติ กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...