เปิดโรดแมป 'เอพริล เบเกอรี่' รุกโมเดลใหม่ แตะพันล้านปี 70 สู่ริจินัลแบรนด์

ขณะที่แบรนด์ไทยอย่าง “เอพริลเบเกอรี่” (April’s Bakery)  พิสูจน์ตลาดสุดหินด้วยการสร้างแบรนด์ ผลักดันธุรกิจเติบโต พร้อมวางสเต็ปใหม่ของการเติบโตให้กับแบรนด์ที่ไม่ได้ปักหมุดแค่ในประเทศไทย แต่พร้อมก้าวต่อสู่ตลาดอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ

กนกกัญจน์ มธุรพร ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท สิงหาฟู้ด อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของขนมเปี๊ยะและเบเกอรี่ “เอพริลเบเกอรี่” (April’s Bakery) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดขนมอบของไทย ที่มีมูลค่า 45,000 ล้านบาท มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากกลุ่มลูกค้าในประเทศไทยชื่นชอบขนม ทำให้การบริโภคขยายตัว ดังนั้นภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อไม่มีผลกระทบต่อตลาดมากนัก รวมถึงตลาดขนมในไทยมีแบรนด์จำนวนมากทั้งในประเทศ แบรนด์โลคอล และแบรนด์จากต่างประเทศ มีราคาที่หลากหลาย จึงทำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้ตามความต้องการ

“เอพริล เบเกอรี่” เป็นแบรนด์ขนมที่อยู่ในตลาดมาร่วม 14 ปี กลยุทธ์สำคัญของแบรนด์คือ การมุ่งสร้างสรรรค์สิ่งใหม่ในตลาดขนม การนำเสนอสินค้าสอดรับกับเทรนด์ตลาด และการรักษาคุณภาพของสินค้า พร้อมร่วมกำหนดราคาสินค้าที่ทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้สะดวก ทำให้แบรนด์สามารถแข่งขันและได้รับการตอบรับที่ดีจากกลุ่มเป้าหมายมาตลอด

การขับเคลื่อนธุรกิจต้องมีการวางเป้าหมายในการขยายองค์กร และวางแผนนำธุรกิจเติบโตในทุกปี พร้อมต้องอย่าหยุดนิ่งในการพัฒนาองค์กร ทั้งหมดจะเป็นโรดแมปทำให้ธุรกิจขยายตัวไปในสเต็ปต่างๆ โดยในปี 2567 บริษัทได้วางแผนขยายธุรกิจผ่านทั้ง การเปิดตัวสินค้าใหม่ โดยได้มีการแตกไลน์สู่ พายแช่แข็ง ที่มีไส้ต่างๆ เพื่อทำให้ลูกค้าได้รับความสะดวกในการรับประทานแบบสดใหม่

พร้อมวางแผนปรับดีไซน์ร้านสู่คอนเซ็ปต์ใหม่ โดยเปิดให้เห็นขั้นตอนการทำขนมแบบสดใหม่ที่ร้าน มีขนาดพื้นที่ 50-60 ตร.ม. และจัดทำพื้นที่นั่งในร้านประมาณ 10 ที่นั่ง เริ่มดำเนินการใน 2 สาขาภายในปีนี้ สาขาแรกที่ ศูนย์การค้า Cover Hill เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นขนมที่สดใหม่ได้อย่างใกล้ชิด พร้อมมีเปิดคาเฟ่และเครื่องดื่ม ทั้งที่ศูนย์การค้า Cover Hill และ Central Original Store ในย่านเจริญกรุง โดยประเมินว่าจะทยอยปรับสาขาที่มีอยู่ให้ครบภายใน 3 -5 ปีนับจากนี้ จากเดิมร้านจะเป็นตู้ขนมที่วางอยู่ในพื้นที่ต่างๆ และมีสาขาเปิดให้บริการในปัจจุบันรวมประมาณ 40 สาขา

อีกทั้งได้ขยายแบรนด์ขนมใหม่ “เปี๊ยะยิ้ม” ผ่านการสร้างสรรค์ “ขนมเปี๊ยะไก่หยอง” ได้มีการรุกทำตลาดผ่านทั้งออนไลน์ แม็คโคร และร้านค้าส่งทั่วประเทศ พร้อมขยายช่องทางจำหน่ายใหม่ของเปี๊ยะ ผ่านร้านกาแฟ คาเฟ่ อเมซอน นำขนมไปจำหน่ายรวมประมาณ 1,000 สาขา จากปัจจุบันมีช่องทางจำหน่ายหลักผ่านร้านสะดวกซื้อเซเว่น อีเลฟเว่นรวม 13,500 สาขาทั่วประเทศ มียอดการขายสินค้ากว่า 1 แสนกล่องต่อวัน ด้วยสินค้าแชมป์เปี้ยนที่ได้รับความนิยมสูงคือ “เปี๊ยะโมจิลาวาไข่เค็ม”

รุกหนักขยายตลาด 4 ประเทศ

นอกจากตลาดในประเทศที่รุกอย่างเข้มข้น อีกตลาดที่สำคัญอย่างมากคือต่างประเทศ โดยมุ่งโฟกัสในประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้มีการเข้าไปทำตลาดแล้วผ่านลูกค้าสั่งซื้อสินค้าผ่าออนไลน์นำไปจำหน่ายผ่านร้านค้าปลีกต่างๆ ล่าสุด กัมพูชา ได้มีการแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายในรูปแบบ มาสเตอร์แฟรนไชส์ มีแผนเปิดสาขาแรกในปีนี้ ซึ่งผลการทำตลาดที่ผ่านมาลูกค้าตอบรับดีต่อเนื่อง อีกตลาดใหม่ที่ได้เริ่มเข้าไปคือ อินโดนีเซีย ผ่านช่องทางออนไลน์ในระยะแรก เพื่อดูผลตอบรับของกลุ่มลูกค้า ซึ่งปัจจุบันสินค้าได้รับเครื่องหมาย ฮาลาล และมีโรงงานของบริษัทที่ผลิตเฉพาะสินค้าฮาลาลโดยเฉพาะ

“ท่ามกลางตลาดที่แข่งขันมากขึ้น แบรนด์ที่อยู่ในตลาดมานาน ต้องมุ่งขยายตลาดและทำการตลาดอย่างเข้มข้นในทุกปี มุ่งขยายผ่านช่องทางทำตลาดออนไลน์ไปในแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อให้แบรนด์อยู่ในใจของกลุ่มลูกค้าอย่างยาวนาน และร่วมขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ”

ลงทุน 100 ล้านเพิ่ม 2 โรงงานใหม่

อีกไฮไลต์ธุรกิจในปีนี้ บริษัทได้มีการลงทุนสร้างโรงงานใหม่เพิ่มอีก 2 โรงงาน อยู่ใกล้กับโรงงานในปัจจุบัน คาดว่าจะลงทุนใกล้เคียงที่ 100 ล้านบาท มีแผนแล้วเสร็จภายในปีนี้ ส่งผลให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตสินค้าได้จากวันละ 5 แสนชิ้นไปสู่ 1 ล้านชิ้นได้ภายในปีนี้ โดยโรงงานใหม่จะเน้นการใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง รองรับการเพิ่มกำลังการผลิตในระยะต่อไป

อีกบิ๊กสเต็ปการเติบโตของบริษัทที่วางแผนไว้ คือ การเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เตรียมแผนไว้ว่าจะดำเนินการในปี 2570 เพื่อแปลงโฉมบริษัทสู่การเป็นมหาชน รองรับการเติบโตระยะยาว และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าและทุกภาคส่วน ไปจนถึงการขยายสู่ตลาดต่างประเทศ พร้อมก้าวสู่การเป็น แบรนด์ขนมขนมเปี๊ยะ ในระดับภูมิภาค และทุกคนต่างรู้จักและชื่นชอบในแบรนด์

ทั้งนี้ จากการวางรากฐานและแผนธุรกิจในแต่ละปี ทำให้บริษัทประเมินว่า จะสร้างยอดขายเติบโตแข็งแกร่งที่ 20% ในปีนี้หรือแตะระดับใกล้เคียง 800 ล้านบาท และภายในปี 2570 มีโอกาสที่จะสร้างยอดขายเติบโตถึงระดับ 1,000 ล้านบาท ส่วนในปีที่ผ่านมา บริษัทสร้างยอดขายรวมได้ที่ 660 ล้านบาท

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...