'นฤมล' ร่วมมือ Tencent ลุย Social Commerce สินค้าไทยส่งตรงสู่ลูกค้าจีน

วันนี้ (9 เมษายน 2567) ณ สำนักงานใหญ่บริษัท Tencent เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน ศาสตราจารย์ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทยพบหารือ Mr Jimmy Chen, Vice President, Tencent Cloud International  และผู้บริหารระดับสูงของบริษัท Tencent ถึงความร่วมมือการนำเครื่องมือด้าน social commerce มาใช้ส่งเสริมสินค้าไทย และ soft power ไทยส่งตรงสู่ลูกค้าจีนผ่าน WeChat 1,400 ล้านคน

ผู้แทนการค้า เปิดเผยว่า  พฤติกรรมด้านการซื้อสินค้าและการชำระเงินของคนจีนเปลี่ยนไปอย่างมากในช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 การค้าขายออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่รูปแบบของการค้าขายออนไลน์ก็ได้รับการพัฒนาไปมากเช่นกัน แพลทฟอร์ม e-commerce แบบเดิมที่เจ้าของแพลทฟอร์มเป็นผู้ได้กำไรสูงสุดค่อยๆได้รับความนิยมลดลง และถูกทดแทนด้วยแพลทฟอร์มแบบ social commerce ที่เปิดโอกาสให้ผู้ค้าสามารถสร้างกำไรได้มากขึ้น ผ่าน mini-platform ของตนเอง ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และสามารถเข้าถึงความต้องการของผู้ซื้อได้ตรงใจกว่าด้วยเทคโนโลยี AI

ผู้แทนการค้า กล่าวว่าจากข้อมูลสถิติที่สะท้อนว่า Tencent มีจำนวนผู้ใช้บริการและมูลค่าการซื้อขายสินค้าบน mini platform แซงหน้า หลายแพลทฟอร์มในจีน วันนี้ จึงได้มีการหารือถึงการนำเทคโนโลยีด้าน Social commerce ของ Tencent มาส่งเสริมสินค้าไทย และ soft power ของไทย รวมตลอดถึงการสร้างประโยชน์ด้านการเกษตร เช่น การพิสูจน์แหล่งที่มาของสินค้าเกษตรไทย

ทั้งนี้ บริษัท Tencent เป็นเจ้าของ WeChat ซุปเปอร์แอพพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศจีน เพียงติดตั้ง WeChat ก็จะสามารถเชื่อมต่อกับ แพลตฟอร์มโซเชียลและการบริการข้อมูลออนไลน์ได้หลากหลาย เพราะ WeChat สามารถเชื่อมคน ข้อมูล การบริการ และการอำนวยความสะดวกทุกอย่างเข้าด้วยกันในแอพพลิเคชันเดียวที่สามารถตอบสนองผู้บริโภคในทุกช่องทาง โดยเชื่อว่ากลยุทธ์การเชื่อมต่อผ่านกลไกของ WeChat ในการส่งต่อข้อมูลสินค้าไทยจากปากต่อปากจนเกิดเป็นความเชื่อมั่นในตัวสินค้า จะนำไปสู่กระบวนการซื้อขายออนไลน์แบบครบวงจรที่เชื่อมโยงกับร้านค้าต่างๆ ในประเทศไทย

“รัฐบาลให้ความสำคัญนำเทคโนโลยีมาพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบัน โครงการของรัฐบาลหลายๆ โครงการได้นำระบบ AI และเทคโนโลยีคลาวด์เข้ามาใช้เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  อำนวยความสะดวก และเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน การนำเทคโนโลยี social commerce มาสนับสนุนสินค้าไทย และ software ของไทย จะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย และเกษตรกรไทยในการเข้าถึงลูกค้าจีนได้โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง และจะสร้างให้เกิดความสมดุลทางการค้าระหว่างไทย-จีน มากยิ่งขึ้น” ผู้แทนการค้าย้ำ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...