‘SAPPE’ เผย คนไทยไม่ค่อยกินหวาน สูตรไม่เติมน้ำตาลขายดีกว่า

หากย้อนกลับไปทศวรรษก่อนหน้า ในช่วงที่เทรนด์รักสุขภาพยังไม่ได้รับการพูดถึงมากนัก มีแบรนด์เครื่องดื่มในตลาดที่ชูคอนเซปต์ว่าด้วย “ความสวย” และ “สุขภาพดี” ซึ่งในขณะนั้นก็ได้รับการตอบรับที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นกระแสส่งต่อกัน “ปากต่อปาก” ว่า กินแล้วขับถ่ายดี กินแล้วผิวสวยสดใส ฯลฯ

เรากำลังพูดถึง “เซ็ปเป้” (SAPPE) เจ้าตลาดเครื่องดื่ม “Functional Drink” ที่ถือครองส่วนแบ่งตลาดกว่า 30% ทั้งยังเป็นแบรนด์แรกในเซกเมนต์ดังกล่าวที่ปรุงเครื่องดื่มสูตรไร้น้ำตาลด้วย “บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน)” มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มีรายได้ “4,638 ล้านบาท” กำไรสุทธิ “652 ล้านบาท” เติบโตจากปี 2564 ที่มีรายได้อยู่ที่ “3,444 ล้านบาท” และกำไรสุทธิ “426 ล้านบาท”

“ปิยจิต รักอริยะพงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน) ให้ข้อมูลว่า การรีแบรนด์ครั้งนี้ “เซ็ปเป้” ต้องการเจาะตลาด Gen Z เป็นหลัก แม้ว่าที่ผ่านมากลุ่มลูกค้าของแบรนด์จะมีตั้งแต่ Gen Z ไปจนถึง First Jobbers อยู่แล้ว แต่ครั้งนี้ตั้งใจสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมายอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แคมเปญการตลาด “สวยเรา ไม่ต้องสวยใคร” จึงเป็นการถอดอินไซต์ของเจเนอเรชันดังกล่าวมาพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ซึ่งหลังจากทำการตลาดออกไปแล้ว “ปิยจิต” มองว่า แบรนด์น่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีกราว 20% 

สำหรับพอร์ต “เซ็ปเป้” ตอนนี้ ยังคงมี “ดริงก์” เป็นสัดส่วนหลักประมาณ 80% ที่เหลืออยู่ในกลุ่มสินค้า “นอนดริงก์” คือพาวเดอร์ และเฮลตี้ สแน็ค ปีนี้จะขยายแตกไลน์สินค้าอื่นๆ เพิ่มเติมไปอีกในหมวดนอนดริงก์

-“ปิยจิต รักอริยะพงศ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็ปเป้ จำกัด (มหาชน)-

“ปิยจิต” ระบุว่า การรีแบรนด์ครั้งนี้ครอบคลุมตั้งแต่การโปรโมตแคมเปญ การออกโปรดักต์ใหม่ การขยายกำลังการผลิตในโรงงาน ทุ่มงบไปมากกว่าสิบล้านบาท มากกว่าทุกครั้งที่เคยทำ โดยในปีนี้จะขอกลับมาลุยตลาดในประเทศมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาโฟกัสกับทำตลาดต่างประเทศ ตอนนี้สินค้าของ “เซ็ปเป้” ส่งออกไปแล้ว 100 ประเทศทั่วโลก โดยตลาดที่เติบโตได้ดีอยู่ที่เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าว “กรุงเทพธุรกิจ” สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทรนด์รักสุขภาพในระยะหลังมานี้ว่า มีส่วนช่วยส่งเสริม-สนับสนุนให้สินค้าเติบโตได้ดีขึ้นหรือไม่ รวมถึงประเด็นเครื่องดื่มเติมน้ำตาลที่ในระยะหลังอาจได้รับผลกระทบจากเทรนด์นี้ด้วย ผู้บริหารเซ็ปเป้ระบุว่า ที่ผ่านมาแบรนด์ยังไม่ได้รับผลกระทบจากเทรนด์ดังกล่าว เพราะสินค้าในประเทศกว่า 80% เป็นสูตรไม่เติมน้ำตาลอยู่แล้ว หากเทียบเคียงกันในพอร์ตสูตรเติมน้ำตาลมีสัดส่วนน้อยกว่า

แต่สำหรับตลาดต่างประเทศพบว่า เครื่องดื่มที่มีความหวาน และเป็นสูตรเติมน้ำตาลได้รับความนิยมมาากกว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแบรนด์และเซกเมนต์ที่ “เซ็ปเป” เจาะกลุ่มมีความแตกต่างกับตลาดในประเทศด้วย ทำให้กลุ่มผู้บริโภคมีความเฉพาะตัวแตกต่างกันไป

“เราตั้งเป้าโตในประเทศประมาณ 20% ไม่ได้แยกออกมาว่า ส่วนไหนต้องโตเท่าไร เป้าหมาย คือต้องโตทุกอัน สัดส่วนการวางขายหน้าร้านขึ้นอยู่กับสินค้า มีทั้ง “Modern Trade” และ “Traditional Trade” ที่ผ่านมา เราอาจจะโฟกัสต่างประเทศมากหน่อย แต่ตอนนี้เรากลับมาแล้ว ผู้บริหารเซ็ปเป้กล่าวปิดท้าย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...