เจาะแผนพัฒนา 'สนามบินพะเยา' หวังต้อนรับผู้โดยสาร 3 แสนคน

“สนามบินพะเยา” มีจุดเริ่มต้นในปี 2564 กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ได้รับการอนุมัติงบประมาณเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง และได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), บริษัท ดีเคท คอนซัลแตนท์ จำกัด และบริษัท อลานา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด วงเงิน 5.79 ล้านบาท ทำรายงานศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสนามบินแห่งนี้

โดยการศึกษาโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ และเสนอรายงานต่อกระทรวงคมนาคมไปแล้วเมื่อปี 2565 สถานะปัจจุบันยังค้างอยู่ในกระบวนการพิจารณา และขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับจัดจัดทำรายงานกระประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (เออีไอ) และเสนอแบบก่อสร้างต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)

ล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2567 การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 2/2567 จังหวัดพะเยา “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศว่า วันนี้ตั้งใจมาดูพื้นที่พัฒนาสนามบินพะเยาที่จะศึกษาความเป็นไปได้ ซึ่งถ้าติดตามนโยบายรัฐบาลหลายด้าน จะเห็นหนึ่งในเรื่องสำคัญที่สุด คือ การยกระดับเมืองรองเป็นเมืองหลัก โดยปัจจัยสำคัญในการทำให้เมืองรองเป็นเมืองหลักอยู่ที่การคมนาคม ซึ่งสนามบินถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด

สำหรับสนามบินพะเยา นับเป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ของ ทย. ลำดับที่ 30 คาดการณ์ว่าจะเปิดให้ใช้บริการในปี 2577 โดยจากผลการศึกษาจะพัฒนาบนพื้นที่ 2,813 ไร่ ในตำบลดอนศรีชุม อำเภอดอกตำใต้ จังหวัดพะเยา ห่างจากตัวเมืองประมาณ 18 กิโลเมตร ประเมินวงเงินลงทุนกว่า 4 พันล้านบาท แบ่งเป็น

  • มูลค่าการก่อสร้างโครงการ ประมาณ 2,000 ล้านบาท
  • มูลค่าการเวนคืน (จากการประเมิน ปี 2562) ประมาณ 1,700 ล้านบาท
  • มูลค่าการดูแลรักษาสนามบิน ตลอด 30 ปี ประมาณ 720 ล้านบาท

ขณะที่ประมาณการณ์ผู้โดยสาร จากผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะที่หนึ่ง 10 ปีแรกของการเปิดให้บริการ

เปิดให้บริการในปี 2577 คาดมีความต้องการใช้บริการ 78,348 คนต่อปี จนถึงปี 2587 จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็น 94,920 คนต่อปี

ระยะที่สอง 20 ปีของการเปิดให้บริการ

จะมีความต้องการใช้บริการ 230,213 คนต่อปี

ระยะที่สาม 30 ปีของการเปิดให้บริการ

จะมีความต้องการใช้บริการ 324,969 คนต่อปี

ในส่วนของแผนพัฒนาสนามบินพะเยา จะออกแบบเพื่อรองรับเครื่องบิน A320 และ 737 โดยพัฒนาทางวิ่งกว้าง 45 เมตร ยาว 2,500 เมตร มีหลุมจอด 2 หลุม อนาคตสามารถขยายได้ถึง 3 หลุม พร้อมรองรับการติดสะพานเทียบเครื่องบินการคาดหวังผลประโยชน์สนามบิน นอกจากนี้ยังพัฒนาอาคารผู้โดยสารให้มีพื้นที่ 9,000 ตารางเมตร เพื่อรองรับดีมาน์การเดินทาง มีลานจอดรุยนต์ส่วนบุคคล 150 ช่องจอด รวมไปถึงคลังสินค้า ลานเก็บวัสดุซ่อมบำรุง ลานจอดและโรงซ่อมอุปกรณ์บริการภาคพื้น

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...