‘แสนสิริ’ จับมือ กรีนพาร์ตเนอร์ มุ่งอสังหายั่งยืน

โจทย์ท้าทายของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ นอกจากมุ่งสร้างผลประกอบการที่ดี มีรายได้เติบโต กำไรแข็งแกร่ง ต้องเดินหน้าไปพร้อมการสร้างความยั่งยืนให้ธุรกิจ ตามพันธกิจที่ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจทั่วโลกมุ่งเปลี่ยนโลกให้น่าอยู่ สร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียว เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกชนิดสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emission)

“แสนสิริ” หนึ่งในผู้นำและผู้ขับเคลื่อนที่สำคัญในภาคอสังหาริมทรัพย์ จัดเสวนา “SANSIRI SUSTAINBILITY FORUM” ชวนกรีนพาร์ตเนอร์ “Rethinking Sustainability ทำอย่างไร? เมื่อผลกำไรไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดเพียงอย่างเดียว” เพื่อร่วมขับเคลื่อนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ พาร์ตเนอร์ และภาคสังคม ให้ความสำคัญสร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน

นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ฉายภาพการทำธุรกิจในปัจจุบันได้มุ่งไปสู่ ดำเนินธุรกิจบนหลักการ ESG ที่ต้องบาลานซ์ทั้งสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยไม่ได้มุ่งเป้าหมายการทำกำไรสูงสุด เป็นแนวทางการสร้างความเติบโตในระยะยาวอีกต่อไป

ความสำคัญของ ESG ต่อภาคธุรกิจ สะท้อนจากการประเมินของ Morningstar U.S. Sustainability Leaders Index ในปี 2564 กับ บริษัทที่มีคะแนนยอดเยี่ยมด้าน ESG สร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นถึง 33.3% (YoY) และสูงกว่าผลประกอบการโดยเฉลี่ยของธุรกิจในสหรัฐถึง 8% สอดคล้องกับผลสำรวจของ Deutsche Bank ระบุว่าบริษัทที่ได้รับเรตติ้งด้าน ESG อยู่ในระดับสูง สร้างการเติบโตสูงกว่าตลาด ทั้งในระยะกลาง 5 ปี ระยะยาว 5-10 ปี ซึ่งการสร้างความยั่งยืนต้องทำทั้งหมดไปพร้อมกัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นผลดีระยะยาว

อีกทั้งผลการรายงานของ UN Global Compact ประเทศไทย ได้สำรวจความคิดเห็นของซีอีโอในภูมิภาคเอเชีย พบว่า ความท้าทายในการดำเนินธุรกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ซีอีโอเอเชียให้ความสำคัญสูงสุด 5 อันดับแรก คือ 1. การเพิ่มทักษะแรงงาน 2. รวบรวมข้อมูลความยั่งยืน 3. เปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจหมุนเวียน 4. ทบทวนค่านิยมองค์กร และ 5. สร้างความหลากหลายให้ซัพพลายเชน

ขณะเดียวกัน Five Forward Faster ที่ยูเอ็นโกลบอลคอมแพ็ก และ UN Sustainable Development Goals ได้นำเสนอไว้ เพื่อช่วยผลักดันธุรกิจต่างๆ ขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ให้ความสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่ การผลักดันความเท่าเทียมทางเพศการปรับปรุงค่าจ้างให้เหมาะสม การรับมือสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น การตั้งเป้าเรื่องลดและ การเงินและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายความยั่งยืน (Sustainable Development Goals) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ภาคธุรกิจ และพาร์ตเนอร์ต่างๆ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้

“แสนสิริ ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มาร่วม 40 ปี พร้อมนำแนวคิดความยั่งยืนมาปรับใช้ในธุรกิจกว่า 10 ปีแล้ว โดยให้โจทย์กับทุกหน่วยงานในองค์กร มุ่งสร้างการเติบโตให้ครอบคลุมมากกว่าแค่ผลกำไร ทั้งมุ่งสร้างพอร์ตโฟลิโอที่สมดุล กล่าวคือธุรกิจต้องอยู่ได้ ร่วมดูแลหุ้นส่วนให้เติบโต และให้ความสำคัญกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ได้จัดทำวิสัยทัศน์ในระยะสั้น กลาง ยาว ผ่านกลยุทธ์การดำเนินงานด้านความยั่งยืน 3 ระดับ คือ ภายในองค์กร ความร่วมมือกับพันธมิตร และชุมชนสังคม มีเป้าหมายสูงสุดด้านความยั่งยืนของแสนสิริไม่ได้มุ่งเฉพาะบริษัท แต่มุ่งสนับสนุนกรีนพาร์ตเนอร์ให้เติบโตไปด้วยกันรวมถึงอีโคซิสเตม สนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งกรีนพาร์ตเนอร์ที่ร่วมมือกับแสนสิริ มาจากภาคอสังหาริมทรัพย์ วัสดุก่อสร้าง สถาปัตยกรรมการออกแบบ และพลังงานสะอาด

แสนสิริวางโรดแมปสู่ NET-ZERO

แสนสิริได้ประกาศเป้าหมายการเป็นอสังหาริมทรัพย์รายแรกของไทยที่ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ “NET-ZERO ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 ตามแผนในปี 2568 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 20% ในปี 2576 ลดลงให้ได้ 50% และ ปี 2593 ก้าวสู่ความสำเร็จตามแผน NET-ZERO

โดยดำเนินงานมุ่ง 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1.การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) เลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เลือกคู่ค้าที่ใส่ใจกระบวนการผลิตที่ยั่งยืนที่คำนึงถึงการผลิตที่ลดการใช้ทรัพยากรหรือการนำกลับมาใช้ใหม่ วางเป้าหมายจัดซื้อวัสดุคาร์บอนตํ่า โดยแสนสิริได้เลือกใช้วัสดุดังกล่าวไปแล้วกว่า 53% ในปี 2566

 

อุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ

2. การสร้างนวัตกรรมเพื่อโลก (Green Construction) ที่มีขั้นตอนก่อสร้างที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น การนำนวัตกรรม ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปจากโรงงานผลิตแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปของแสนสิริ ทำให้ลดเวลาก่อสร้างลง 3 เดือน ลดขยะจากการก่อสร้างได้ 15% ลดฝุ่นและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไซต์ก่อสร้างลงเป็นจำนวนมาก

3. การออกแบบและสถาปัตยกรรมธรรมชาติ (Green Architecture & Design) หรือการออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน สร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย (Well-being) การออกแบบที่ผสานแนวคิดการพึ่งพาธรรมชาติ (Nature Based Design Solution) เพื่อลดการใช้พลังงานของบ้านและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย พร้อมส่งมอบบ้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน

 

มุ่งสร้างนวัตกรรมบ้านสีเขียว

ทั้งนี้ บริษัทได้สร้างนวัตกรรมบ้านสีเขียว (Green Living Designed Home)  เป็นหัวหอกสำคัญร่วมยกระดับการพัฒนาโครงการเพื่อที่อยู่อาศัยของไทยทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงด้านภูมิอากาศ และเทรนด์ผู้บริโภคที่สนใจในการลดผลกระทบและสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

ยกตัวอย่างโครงการเศรษฐสิริ ลดการใช้พลังงานได้สูงสุด 18% ต่อปีต่อหนึ่งครัวเรือน วางเป้าขยายผลสู่คอนโดมิเนียมแบรนด์เดอะเบสทุกโครงการใหม่ในปี 2567 ที่ส่วนกลางจะมีการนำแนวทาง Green Living Designed Home ไปต่อยอด และตั้งเป้าสู่การลดใช้พลังงานในช่วงแรกให้ได้ 6%

“บริษัทเป็นผู้พัฒนาโครงการ ไม่ได้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้ในการก่อสร้าง ต้องร่วมมือจากคู่ค้าที่มีองค์ความรู้ด้านผลิตภัณฑ์ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ร่วมนำเสนอวัสดุที่เหมาะสม ตอบโจทย์ความยั่งยืน”

ภาครัฐ-เอกชน ผนึกกำลังสู่ความยั่งยืน

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) กล่าวในหัวข้อ “เมื่อโลกเปลี่ยน เราต้องปรับ” ประเทศในโลกได้มุ่งไปสู่การเป็น ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrality) และ “การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุกชนิด สุทธิเป็นศูนย์” (Net Zero GHG Emission) โดยประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมายปี 2593-2608 ทำให้ภาครัฐและธุรกิจและองค์กรต่างๆ ต้องร่วมปรับแผน และขับเคลื่อนความร่วมมือไปพร้อมกัน

“จึงเกิดการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ร่วมผลักดันการร่วมลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้ตลาดการซื้อขายคาร์บอนขยายตัว และประเทศไทยสามารถขยายโอกาสตลาดในด้านนี้ได้” 

ที่ผ่านมา องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนของประเทศไทย มีการประเมิน Carbon Footprint หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย Net Zero ให้สำเร็จ

 

ระยะยาวหนุนรายได้-กำไรเติบโตดี

สำหรับเวทีเสวนา “Lessons and Learns ความยั่งยืนสร้างความหยัดยืนได้อย่างไร” โดยภาคเอกชนของไทยมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ ขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ยั่งยืน ได้แก่ ศูนย์วิจัยคอนเซปต์แห่งอนาคต บารามีซี่ แล็บ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (เอสซีจี) บริษัท ไอออน เอนเนอร์ยี่ จำกัด โดยมีบทสรุปสำคัญที่ภาคเอกชนขนาดใหญ่ของประเทศไทยกำลังมุ่งวางโรดแมปไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย และต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และผลักดันให้สำเร็จ เพื่อร่วมพลิกโฉมประเทศไทย สนับสนุนเศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง

“ในระยะแรกการปรับเปลี่ยนไปสู่ความยั่งยืน อาจมีผู้บริโภคที่ยังไม่เข้าใจในเรื่องนี้ แต่ในมุมมองของคนรุ่นใหม่ ต่างให้ความสำคัญในเรื่องนี้ โดยเทรนด์อุตสาหกรรมสุขภาพและความยั่งยืน จะมีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต ภาคเอกชนต้องมีความเข้าใจ และอาจต้องมีการลงทุนใหม่ ปรับกระบวนการผลิต รวมถึงภาครัฐต้องร่วมผลักดันให้เกิดขึ้นได้สำเร็จ ซึ่งผลจากการปรับเปลี่ยนไปสู่ความยั่งยืน อาจเห็นผลได้เด่นชัดช่วง 20 ปีเป็นต้นไป สามารถสร้างผลประกอบการทั้งรายได้และกำไรเติบโตอย่างดี”

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...