ยีนส์ "ลี คูเปอร์" บ๊ายบายตลาดไทย "ดีเคเอสเอช" ยุติ ไม่ลุยจำหน่ายต่อ

ยีนส์ “ลี คูเปอร์” อำลาตลาด!

สิ้นเดือนมีนาคม 2567 จะเป็นอีกวันที่สิ้นสุดการทำตลาดยีนส์ดังจากประเทศอังกฤษอย่าง “ลี คูเปอร์” ในประเทศไทย เมื่อ บริษัท DKSH (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายตัดสินใจไม่ไปต่อ บริษัทจึงเดินหน้าโละสินค้าด้วยการ "ลดล้างสต๊อก” หรือ Clearance Sale กันไปเลย ด้วยการหั่นราคาขายถึง 90% เป็นการทิ้งทวนในทุกสาขา

ทั้งนี้ จากการสอบถามพนักงานขายที่ร้านลี คูเปอร์ เอาท์เล็ท สโตร์ ได้รับการยืนยืนว่า บริษัท ดีเคเอสเอชฯ จะไม่ทำตลาดต่อแล้ว จึงต้องนำสินค้าที่มีมาลดราคา 90% ในทุกสาขา โดยจะมีการทยอยนำสินค้าในสต๊อกไปเติมหน้าร้านเรื่อยๆ จนกว่าจะหมด ส่วนเหตุผลที่ยุติการทำตลาด พนักงานแจ้งว่าแบรนด์เข้ามาทำตลาดในจังหวะที่ไม่ดีนัก เพราะเป็นช่วงเกิดโรคโควิด-19 ระบาดพอดี

สำหรับการโละสต๊อกจะเห็นว่า นอกจากมีลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้าทิ้งทวนแล้ว บรรดาแม่ค้าต่างๆ เดินหน้ามากวาดสินค้าไปจำหน่ายไม่น้อย และมีการประกาศขายผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลออนไลน์ บ้างบวกราคาเพิ่มขึ้น 100 บาท โดยยังไม่รวมค่าหิ้วและค่าส่ง

 

ย้อนแผน “ดีเคเอสเอช” ดึงลี คูเปอร์ บุกประเทศไทย

เมื่อปี 2565 กรุงเทพธุรกิจ ได้สัมภาษณ์พิเศษ แม่ทัพธุรกิจค้าปลีกของบริษัท DKSH (ประเทศไทย) จำกัด ถึงเหตุผลของการนำยีนส์ “ลี คูเปอร์” จากประเทศอังกฤษเข้ามาทำตลาดในไทย เพราะมองตลาดสินค้า “แฟชั่นเดนิม” หรือยีนส์ ในไทยยังขยายตัวได้ และมีศักยภาพในการเติบโต

 อีกด้านการมีสินค้าใหม่ๆเติมพอร์ตโฟลิโอ ยังเป็นการเสริมแกร่งธุรกิจของดีเคเอสเอชในประเทศไทย ให้สามารถสร้างการเติบโตระยะยาวด้วย

ก่อนหน้านี้ ดีเคเอสเอช ในประเทศไทย เคยเป็นผู้ทำตลาดยีนส์ “ลีวายส์” แบรนด์เก่าแก่ของโลกอายุกว่า 170 ปี มาอย่างยาวนานถึง 25 ปี ก่อนที่จะ “แยกทางกัน” โดยบริษัท ลีวาย สเตราส์ แอนด์ โค (Levi Strauss & Co.) ได้เข้ามาลุยธุรกิจ ทำตลาดยีนส์ลีวายส์ด้วยตัวเองแบบ 100% เมื่ 1 เม.ย.2565 ที่ผ่านมา เมื่อพอร์ตรายได้ดังกล่าวหายไป เป็นธรรมดาที่ดีเคเอสเอช จะต้องหาสินค้าใหม่มาทำเงินเพื่อทดแทนส่วนดังกล่าว

โดยการขยายพอร์ตแฟชั่นของดีเคเอสเอช ไม่ได้มีเพียงยีนส์ “ลี คูเปอร์” เท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับแบรนด์สตรีทแฟชั่น “มอสซิโม”(Mossimo®) จากประเทศสหรัฐฯ ด้วย

อย่างไรก็ตาม การทำตลาดยีนส์ "ลี คูเปอร์" เป้าหมายคือการมุ่งสู่ผู้นำในหมวดหมู่สินค้านั้นๆ

ตลาดยีนส์ “หมื่นล้านบาท” แข่งเดือด!

สำหรับภาพรวมตลาดเดนิมหรือยีนส์ ถือว่ามีขนาดใหญ่มูลค่าที่ผู้ประกอบการหยิบยกข้อมูลมาแบ่งปันสื่อจะเป็นตัวเลขระดับ 1-2 หมื่นล้านบาท

ส่วนแบรนด์ที่แกร่งและทำตลาดกันอย่างคึกคัก แน่นอนว่ามีหลากหลาย ทั้งเจ้าแห่งยีนส์อย่าง “ลีวายส์” แบรนด์ “ลี”(Lee) และแบรนด์เดนิมสัญชาติไทยอย่าง “แม็คยีนส์” ที่ยืนหยัดแข่งขันมานานจะเข้าสู่ 50 ปี เป็นต้น

ขณะเดียวกันสินค้าแฟชั่นทั้งแบรนด์ไทย-เทศ แบรนด์เล็ก-ใหญ่ ตลอดจนแบรนด์ฟาสต์แฟชั่น ต่างก็มี “ยีนส์” ในพอร์ตโฟลิโอสินค้า ทำให้ผู้บริโภคมี “ทางเลือก” จำนวนมาก

ส่วนราคามีสารพัดให้เลือกตั้งแต่ตลาดทั่วไป(Mass) ตลาดกลาง และตลาดบน หรือเรียกว่ามีสินค้ายีนส์ขายในท้องตลาดตั้งแต่หลัก “ร้อย” ไปจนถึงตัวละ “หมื่นบาท” เลยทีเดีย

อย่างไรก็ตาม เมื่อดีเคเอสเอช ยุติทำตลาดยีนส์ “ลี คูเปอร์” ในประเทศไทย พนักงานได้แสดงความเห็นว่า เป็นสิ่งที่น่าเสียดาย และต้องจับตาดูว่า “ใคร” จะรับบทเป็นตัวแทนจำหน่ายแบรนด์ดังกล่าวอีกครั้งในไทย

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...