ธปท. พบธุรกิจนำเข้า-ส่งออก เกินครึ่ง กระทบ จากความขัดแย้ง ‘ทะเลแดง’

ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท. ) เปิดผลการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) เฉพาะกิจ ระหว่างวันที่ 1 - 23 กุมภาพันธ์ 2567 โดยพบว่า  ธุรกิจที่มีการนำเข้า-ส่งออกประมาณครึ่งหนึ่ง ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งบริเวณทะเลแดง 

โดยผลสำรวจพบว่า ธุรกิจการผลิตมีสัดส่วนของผู้ที่ได้รับผลกระทบ มากกว่าธุรกิจการค้า และส่วนใหญ่เป็นธุรกิจ ผลิตอาหาร ผลิตผลิตภัณฑ์อโลหะ ผลิตเคมีภัณฑ์ และผลิตเหล็ก ซึ่งได้รับผลกระทบผ่าน

(1) ต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้น

(2) ระยะเวลา ส่งมอบสินค้านานขึ้น แต่คาดว่าไม่เกิน 2 เดือน

(3) คู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อ เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบส่วนมากจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่

ส่วนการสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจ คาดการณ์การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อย่างไรก็ดี สัดส่วนของผู้ที่คาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นมีมากขึ้น

ทั้งนี้ หากจำแนกรายอุตสาหกรรม พบว่า มุมมองด้านการส่งออกของธุรกิจสำคัญหลายธุรกิจ ปรับดีขึ้น อาทิ ธุรกิจผลิตอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ปรับดีขึ้นมาอยู่ในระดับ 50 จากแนวโน้มการส่งออกชิ้นส่วน สำหรับยานยนต์ และตัวเก็บประจุไฟฟ้า (Capacitor) ที่เพิ่มขึ้น

เช่นเดียวกับการส่งออกของธุรกิจ เคมีภัณฑ์ ในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก รวมถึงการส่งออกของธุรกิจ ผลิตอาหารทะเลแช่แข็งที่ปรับดีขึ้นเล็กน้อย ขณะที่การส่งออกของธุรกิจผลิตอื่นๆ และธุรกิจการค้าอยู่ในระดับใกล้เคียงเดิม 

ตรุษจีน-มาตรการ Easy E- Receipt ดันบริโภคฟื้น 

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: RSI) ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีกเดือนกุมภาพันธ์ปรับดีขึ้นเล็กน้อย ตามการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค 
โดยดัชนี  RSI  เดือนกุมภาพันธ์ปรับดีขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 50.7 จาก 49.2 ในเดือนก่อน ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีย่อยด้านยอดขายสาขาเดิม (SSSG) และความถี่ ของผู้ใช้บริการ (Frequency

ซึ่งเป็นผลจากการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลตรุษจีน และการเร่งทำโปรโมชั่นของร้านค้าในช่วงที่มีมาตรการ Easy E-Receipt ในช่วงครึ่งแรกของเดือน 

อย่างไรก็ตาม ผลของมาตรการ Easy E-Receipt ช่วยกระตุ้นยอดขายสินค้าได้เพียงเล็กน้อย และเฉพาะกลุ่ม สินค้าในหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยส่งผลดีต่อยอดขายของร้านค้าบางประเภท อาทิ ห้างสรรพสินค้า

ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นด้านการใช้จ่ายต่อใบเสร็จ (Spending Per Bill) ปรับลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มไฮเปอร์มาเก็ตและซูเปอร์มาเก็ตที่ดัชนีความเชื่อมั่นลดลงมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 อีกครั้ง

สะท้อนกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนฐานรากที่ร้ายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ายที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้าให้ลดลงเล็กน้อย

หากพิจารณาความเชื่อมั่นรายภูมิภาค พบว่ายอดขายของร้านค้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงภาคกลางปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ภูมิภาคอื่นๆ ดัชนีปรับ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ส่วนหนึ่งจากกรุงเทพฯ และภาคกลางได้รับผลดีจากมาตรการ Easy E-Receipt มากกว่าพื้นที่อื่น 
 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...