'ส.อ.ท.' หวังค่าไฟระดับ 2.60 บาท เท่า 'เวียดนาม-อินโดฯ' ดูดเงินลงทุนเข้าไทย

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวกล่าวการในงานเสวนา Thailand Energy Executive Forum หัวข้อ "ทิศทางพลังงานไทยปี 2567" จัดโดยสถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) ว่า ค่าไฟฟ้าของไทยงวดปัจจุบัน (ม.ค.-เม.ย. 2567) ระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ถือว่ายังสูงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งด้านการลงทุนไทยอย่างเวียดนามที่ราคาเพียง 2.67 บาทต่อหน่วย แม้จะเคยเกิดไฟดับแต่สาเหตุมาจากรับการลงทุนต่างชาติจำนวนมาก และเวียดนามได้วางโครงสร้างรับการเติบโตดังกล่าวแล้ว 

นอกจากนี้ อินโดนีเซียค่าไฟเพียง 2.52 บาทต่อหน่วย และลาว 1.02 บาทต่อหน่วย ดังนั้น ราคาที่สูงของไทยจะมีผลต่อการตัดสินใจลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ เพราะหลายอุตสาหกรรมสำคัญต้นทุนพลังงานโดยเฉพาะค่าไฟเป็นต้นทุนหลัก

อย่างไรก็ตาม ก่อนขึ้นเวทีสัมมนานี้ นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวกับผมว่าให้ใจเย็น ๆ กระทรวงกำลังเร่งพิจารณา โดยเฉพาะการเพิ่มปริมาณก๊าซในแหล่งเอราวัณเดือนเม.ย. นี้ หากค่าไฟถูกลงในระดับเหมาะสม เอกชนจะประกาศหยุดงาน1 วัน และขอเลี้ยงขอบคุณปลัดพลังงานด้วย ทั้งนี้ ขอย้ำรัฐบาลว่าเอกชนยังต้องการให้รัฐบาลตั้ง กรอ.พลังงาน เพื่อเสนอแนวทางบริหารราคาพลังงานร่วมกัน

นอกจากราคาพลังงานที่เหมาะสมสามารถแข่งขันได้ ยังอยากให้ภาครัฐออกมาตรการยกระดับอุตสาหกรรมไทย 5 ด้านหลัก คือ

1. สนับสนุนการเปลี่ยนใช้เครื่องจักรมีประสิทธิภาพ

2. สนับสนุนใช้พลังงานหมุนเวียน

3. พัฒนาบุคลากร

4. ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และ

5. จัดทำฐานข้อมูลอุตสาหกรรม 

ขณะเดียวกันในการสนับสนุนการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ซึ่งปัจจุบันอีวีจีนเข้ามาจำนวนมาก อยากให้รัฐบาลสนับสนุนให้การลงทุนสะอาดทั้งระบบ เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมสีเขียว มุ่งสุ่ BCG และสามารถมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ได้

นายเกรียงไกร กล่าวว่า การปรับตัวของไทยมีความจำเป็นเพื่อสอดรับกับบริบทโลกที่ปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาจีโอโพลิติก เทรดวอร์ การดิสรัปชันทางเทคโนโลยี และโลกเลือด ขณะเดียวกันไทยได้ตั้งเป้าหมายสู่อุตสาหกรรมสีเขียว เป้าหมายคลีน การมุ่งสู่ความยั่งยืน และเป้าหมาย Net Zero  ภายในปีค.ศ. 2065 ซึ่งสังเกตว่าไทยช้าที่สุด เมื่อเทียบกับทั่วโลก จึงอยากให้ทบทวนเรื่องนี้ เพราะเป้าหมายดังกล่าวส่งผลต่อขีดแข่งขันของไทย

ขณะเดียวกันสหภาพยุโรป (EU) ได้เดินหน้ามาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) นำร่อง 5 สินค้า คือ เหล็ก ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า อะลูทีเนียม ปุ๋ย และ ปี ค.ศ. 2026 จะเพิ่มอีก 5 สินค้า อาทิ ผลิตภัณฑ์กลั่นน้ำมัน ไฮโดรเจน แอมโมเนีย โพลิเมอร์ นอกจากนี้ สหรัฐฯ แคนาดา จีน และทั่วโลก จะมีมาตรฐานบังคับใช้ของตัวเอง ดังนั้น ต้องรับมือ ผลิตสินค้าโดยให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยคาร์บอน 

ทั้งนี้ สอดรับกับยอดขอการลงทุนไทยปี 2566 ที่สูงถึง 8 แสนล้านบาท โดยนักลงทุนที่ยื่นขอลงทุนรายสำคัญของโลกต่างต้องการไฟสีเขียวจากพลังงานสะอาด เพื่อใช้อ้างอิงในการขายสินค้าไปทั่วโลก ซึ่ง CBAM เป็นหนึ่งในมาตรการที่เริ่มต้นแล้ว

"ปีนี้ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) คาดการณ์เศรษฐกิจโลกเติบโต 2.4% ขณะที่องค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) คาดการค้าโลกเติบโต 0.8% และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยเติบโตถึง 4.4% ถือเป็นระดับดี"

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...